28 สิงหาคม 2552

รู้จักยาต้านไวรัส

นับตั้งแต่เริ่มพบโรคเอดส์ เมื่อประมาณ 20 ปี ที่แล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนายาต้านไวรัสมาโดยลำดับ นับตั้งแต่เริ่มพบยาตัวแรก คือ AZT เมื่อปี ค.ศ. 1987 จนถึงปัจจุบันมียาต้านไวรัสเอดส์ที่ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วถึง 3 กลุ่ม รวม 15 ตัว รวมถึงการพัฒนาเทคนิคการใช้ยาจากเดิมที่เคยใช้ยาเพียงตัวเดียว ในการยับยั้งไวรัส HIV ซึ่งสามารถควบคุมเชื้อได้เพียงระยะสั้น ๆ เนื่องจากเกิดการดื้อยาจากการกลายพันธุ์ (mutation) ในยีนส์ของไวรัส

ต่อมามีการพัฒนาโดยการใช้ยาร่วมกัน 2 ชนิด พบว่าสามารถยับยั้ง HIV ได้นานขึ้น แต่ก็ได้ผลเพียงระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็เกิดการดื้อยา การรักษาจึงไม่ได้ผลเช่นเดียวกับการใช้ยาตัวเดียว จนในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการพบยากลุ่ม protease inhibitors (PIs) มาร่วมในสูตรการรักษาเรียกว่า highly active antiretroviral therapy (HAART) โดยการใช้ยาหลายตัวร่วมกันแทนการใช้ยาเพียงตัวเดียว สามารถควบคุมไวรัสได้อย่างสิ้นเชิง

ยาต้านไวรัส ดังกล่าวจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม รวม 15 ตัว ซึ่งตัวยาทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะแสดงฤทธิ์ยับยั้งวงจรชีวิตของไวรัสเอดส์ดังนี้
  • ยากลุ่มที่ 1 ขัดขวางไม่ให้สารพันธุ์กรรม (RNA) ของไวรัส เข้าไปรวมตัวกับสารพันธุ์กรรม (DNA) ในเซลล์ของคนได้ ยากลุ่มนี้มีชื่อย่อว่า NRTIs (Nucleoside reverse transcriptase inhibitors)
  • ยากลุ่มที่ 2 ทำให้ไวรัส ไม่สามารถแบ่งตัวได้ ยากลุ่มนี้มีชื่อย่อว่า NNRTIs (Non-Nucleoside reverse transcriptase inhibitors )
  • ยากลุ่มที่ 3 ทำให้ไวรัส พิการ ยากลุ่มนี้มีชื่อย่อว่า Pi (Protease Inhibitors)

ปัจจุบันยาที่ใช้ต้านไวรัส 3 กลุ่ม มีชื่อทางการค้าดังนี้
ยากลุ่มที่ 1 มีชื่อย่อว่า NRTIs (Nucleoside reverse transcriptase inhibitors) โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
ยาเดี่ยว (ใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว) และยาผสมรวมกัน (ใน 1 เม็ดมีตัวยา 2 ตัว )

ยาเดี่ยวใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว
1. AZT (Zidovudine) ชื่ออื่น ริโทรเวียร์ (Retrovir)
2. ddI (Didanosine) ชื่ออื่น ไวเด็กซ์ (Videx-EC ) ไดร์เวียร์ ( Drivir )
3. 3TC (Iamivudine) ชื่ออื่น อีพิเวียร์ (Epivir) รามีเวียร์ ( Lamevir )
4. ddC (Zalcitabine) ชื่ออื่น ไฮวิด (Hivid)
5. d4T (Stavudine) ชื่ออื่น ซีริท (Zerit) สตาเวียร์ (Stavir)
6. อาบาคาเวียร์ (Abacavir) ชื่ออื่น ไซย์เจน (Ziagen)

ยาผสมรวมกัน ใน 1 เม็ด มีตัวยา 2 ตัวขึ้นไป
1. AZT บวก 3TC มีชื่อว่า คอมบิเวียร์ (Combivir) ซีราเวียร์ ( Zeravir )
2. AZT บวก 3TC บวก อาบาคาเวียร์ ( Abacavir ) มีชื่อว่า ไตรซีเวีย (Trizivir)

ยากลุ่มที่ 2 มีชื่อย่อว่า NNRTIs (Non-Nucleosides reverse transcriptase inhibitors) ได้แก่

1.ไวรามูน (Viramune) ชื่ออื่น เนไวราปิน (Nevirapine) นีราเวียร์ ( Nelavir ) ชื่อย่อ NVP
2. สโตคริน (Stocrin) ชื่ออื่น อิฟาเวอเร็นซ์ (Efavirenz)
3. เรสคริปเตอร์ (Rescriptor) ชื่ออื่น ดีลาเวอร์ดีน (Delavirdine)
4. ไฮดรี (Hydre) ชื่ออื่น ไฮดรอคซียูเรีย (Hydroxyurea)
5. ดรอคเซีย (Droxia) ชื่ออื่น ไฮดรอคซียูเรีย (Hydroxyurea)

หมายเหตุ ยาข้อ 3, 4, 5 ในประเทศไทยยังไม่มีจำหน่าย

ยาผสมรวมกัน ใน 1 เม็ด มีตัวยา 3 ตัว เป็นยา กลุ่ม 1 + กลุ่ม 2 คือ
1.ยาจีพีโอเวียร์ (GPO vir-S30 และ GPO vir-S40 ) คือยา d4T + 3TC + NVP
2. ยาจีพีโอเวียร์ Z (GPOz 250) คือยา AZT + 3TC + NVP

หมายเหตุ เป็นยาขององค์การเภสัชเป็นผู้ผลิต

ยากลุ่มที่ 3 มีชื่อย่อว่า Pi (Protease Inhibitors) โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ยาเดี่ยว (ใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว ) และยาผสมรวมกัน ( ใน 1 เม็ดมีตัวยา 2-3 ตัว )

ยาเดี่ยวใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว
1.ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ชื่ออื่น นอร์เวียร์ (Norvir)
2.ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ชื่ออื่น ฟอร์ทูเวส (Fortovase)
3.ครีซีแวน (Crixivan) ชื่ออื่น อินดินาเวียร์ (Indinavir)
4.ไวราเซ็ปท์ (Viracept) ชื่ออื่น เนลพินาเวียร์ (Nelfianvir)
5.แอมปรินาเวียร์ (Amprenavir) ชื่ออื่น เอเจนนิเวส (Agenevase)

ยาผสมรวมกัน ใน 1 เม็ด มีตัวยา 2 ตัว
1.กาเล็ทตร้า (Kaletra) คือโลปินาเวียร์ (Lopinavir) บวก ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)

ประโยชน์จากการใช้ยา รักษาผู้ติดเชื้อโดยใช้ยาต้านไวรัสหลายตัวร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ( highly active antiretroviral therapy )

ในปัจจุบันจะให้ประโยชน์ดังนี้

1.สามารถลดปริมาณไวรัสให้อยู่ในระดับที่น้อย จนตรวจวัดไม่ได้ ( undetectable level )
2. ทำให้ระดับภูมิคุ้มกัน CD4 เพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณไวรัสลดน้อยลง
3. ทำให้การติดโรคแทรกซ้อน และอัตราการตายลดลงอย่างชัดเจน

ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น กลับขึ้นมาเป็นผู้ติดเชื้อ

โทษและผลข้างเคียงของยา

ยานั้นมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ แม้ยาต้านไวรัสจะช่วยให้ผู้ที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ โดยไม่ปรากฏอาการของเอดส์ แต่ปัญหาของยาต้านไวรัสเท่าที่พบผู้ติดเชื้อบางส่วน มีผลในเรื่องของสารเคมีตกค้างและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาเป็นเวลานาน ด้วยเหตุผลนี้การที่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสจึงต้องได้รับยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับรายละเอียดโทษและผลค้างเคียงของยาแต่ละชนิดมีดังต่อไปนี้

ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 1 NRTls

1. AZT คลื่นไส้, ปวดศรีษะ,โลหิตจาง, กล้ามเนื้ออ่อนแรงลีบเล็กลง
2. ddI ตับอ่อนอักเสบ,อุจจาระร่วง, คลื่นไส้, ปลายประสาทอักเสบ
3. ddC ปลายประสาทอักเสบ, คลื่นไส้
4. d4T ปลายประสาทอักเสบ, คลื่นไส้
5. 3TC ตับอ่อนอักเสบ
6. อาบาคาเวียร์ (Abacavir) มีไข้,ผื่น, มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ,ทางเดินอาหาร

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยา อาบาคาเวียร์ (Abacavir) หากมีการเริ่มใช้ยาตัวนี้แล้วมีอาการแพ้จากผลข้างเคียงของยาคือ มีไข้ ผื่น มีอาการทางระบบการหายใจ และอาการของระบบทางเดินอาหาร ภายใน 42 วันแรกหลังเริ่มใช้ยานี้ และเมื่อหยุดการให้ยาตัวนี้แล้ว แม้คนไข้มักจะมีอาการดีขึ้น ก็ห้ามกลับมาใช้ยาตัวนี้ใหม่อีกครั้ง เพราะพบว่ามีการเสียชีวิตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน

ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 2 NNRTls

1.ไวรามูน (Viramune) เกิดผดผื่นเม็ด,ตับอักเสบ
2. สโตคริน (Stocrin) มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น มึนงง, ฝันประหลาด

ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 3

1. ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ชื่ออื่น ฟอร์ทูเวส (Fortovase) ปวดศรีษะ,อุจจาระร่วง
2. ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ปลายประสาทอักเสบ,คลื่นไส้,อาเจียน,ตับอักเสบ
3. ครีซีแวน (Crixivan) เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วในกระแสเลือดสูงขึ้น จนเป็นอันตรายต่อเซลล์สมอง,ปวดหัว,อ่อนเพลีย
4. ไวราเซ็ปท์ (Viracept) ถ่ายเหลว,ท้องเสีย,อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย
5. กาเล็ทตร้า (Kaletra) ท้องเสีย,ทำให้ไขมันอุตตันในกระแสเลือด,ปลายประสาทอักเสบ,คลื่นไส้,อาเจียน ,ตับอักเสบ

ข้อแนะนำการรักษา

การรักษาผู้ติดเชื้อ โดยการใช้ยาเพื่อควบคุมปริมาณของไวรัสเอดส์ ไม่ให้สูงเกินไปแต่เพียงด้านเดียว ดูจะไม่สมบูรณ์นัก ความจริงแล้วควรใช้ยาบำรุงรักษาระบบภูมิคุ้มกันควบคู่กันไปด้วยน่าจะครบถ้วนกว่า แนวทางการรักษาแนะนำว่า ควรรักษาทั้ง 2 ด้าน ควบคู่กันไป เพราะเท่าที่ติดตามเฝ้าดูอาการของคนไข้ ที่ผ่านมา พบว่าคนไข้ที่ใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงด้านเดียว คนกลุ่มนี้มักมีสุขภาพที่มีปัญหาบ่อย บางรายมีอาการแพ้ยาเป็นระยะ ๆ ตับมีปัญหา และหากมีการใช้ยาในระยะยาว อาจจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อม เช่น หลังจากใช้ยาไปเป็นเวลานาน แมัผลการรักษาจะพบว่าปริมาณไวรัสของคนไข้ลดลงต่ำกว่า 50 copy/มล ซึ่งถือว่าปลอดภัย แต่ตรงกันข้ามระดับภูมิคุ้มกันของคนไข้ CD4 แทนที่จะสูงเพิ่มขึ้นกลับต่ำลงมากเช่นกัน ซึ่งภาวะนี้ไม่ถือว่าเชื้อดื้อยาเนื้องจากไวรัสอยู่ในเกนณ์ที่ต่ำ แต่เกิดจากปริมาณของภูมิคุ้มกัน CD4 ไม่ถูกสร้างขึ้นมา  ทำให้ภูมิต่ำติดโรคง่าย โดยเฉพาะในรายที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มักเกิดภาวะโรคแทรก ตรงจุดนี้คือปัญหาของการใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงด้านเดียว ตรงกันข้ามสำหรับในกลุ่มคนที่ใช้ยาต้านไวรัส ร่วมกันกับการใช้ยาบำรุงรักษาระบบภูมิคุ้มกันควบคู่กันไปเช่นการใช้ยาสมุนไพรแบบสกัดดีๆ ที่มีข้อมูลทางวิทยาศสตร์ว่ามีฤทธิ์ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และเสริมด้วยวิตามิน c วิตามินบี 6 หรือจะใช้อาหารเสริมเพิ่มควบคู่กันไปก็ดี  พบว่าสิงเหล่านี้สามารถช่วยให้คนไข้กลุ่มนี้ให้มีสุขภาพที่ดีมากกว่า กลุ่มคนไข้ที่ใช้แต่ยาต้านไวรัสเพียงอย่างเดียว กล่าวคือในคนที่ใช้ยาต้านไวรัสร่วมกันกับยาบำรุงรักษาระบบภูมิคุ้มกัน ผลการรักษาไม่ว่าจะเป็นในระยะสั้นหรือระยะยาว การเกิดภาวะระบบภูมิคุ้มกันเสื่อม ตับมีปัญหา ตุ่มคันตามตัว พบว่ามีน้อยกว่า โดยเฉพาะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ก็จะน้อยกว่าเช่นกัน เมื่อได้มีการเปรียบเทียบแล้ว พบสุขภาพร่างกายของคนกลุ่มนี้จะดีและแข็งแรงกว่า กลุ่มคนไข้ที่ได้รับแต่ยาต้านไวรัสแต่เพียงอย่างเดียว เชื่อว่าการรักษาโดยการใช้ยาต้านไวรัสร่วมกันกับการใช้ยารักษาระบบภูมิคุ้มกันควบคู่กันไปน่าจะดีกว่าการใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงอย่างเดียว

การใช้ยาต้านไวรัส

ก่อนอื่นต้องเรียนให้ทราบถึงปัญหาของการใช้ยาต้านไวรัสกันอีกครั้งว่า เมื่อใช้ยาต้านไวรัสไปแล้วมักจะพบปัญหาจากผลข้างเคียงของยา ปัญหาการดื้อยา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงปัญหาคุณภาพชีวิตที่ต้องกินยาให้ถูกต้องสม่ำเสมอเป็นระยะเวลายาวนานตลอดชีวิต ดังนั้นการให้ยาต้านไวรัสในคนที่ยังมีระดับภูมิคุ้มกัน CD4 สูงอยู่ จะถูกชะลอการให้ยาออกไปก่อน แต่ก็ต้องมีการติดตามผลทางสุขภาพ และผลของระดับภูมิคุ้มกัน CD4 ของผู้ติดเชื้อทุกระยะ 3 เดือน เพื่อหาจังหวะที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเริ่มใช้ยา

สำหรับข้อพิจารณาการให้ยาต้านไวรัสจะพิจราณาโดยหลัก 3 ประการดีงนี้
  1. ประวัติสุขภาพในอดีตและปัจจุบัน
  2. ผลการตรวจเลือดวัดระดับภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า CD4
  3. ผลการตรวจเลือดวัดระดับปริมาณไวรัสในร่างกายที่เรียกว่า viral load

จากหลักในการพิจารณาดังกล่าวได้แบ่งผู้ติดเชื้อออกเป็น 2 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1. ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการของโรคแทรกซ้อน
กลุ่มที่ 2. ผู้ติดเชื้อที่มีอาการของโรคแทรกซ้อนแล้ว

กลุ่มที่ 1 ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ยังไม่มีอาการ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
1.1 ผู้ติดเชื้อที่มี CD4 น้อยกว่า 200 เซล/ลบ มม. ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัส
1.2 ผู้ติดเชื้อที่มี CD4 มากกว่า 350 เซล/ลบ มม. อาจจะชะลอ การใช้ยาในผู้ป่วยที่มี CD4 ระดับนี้ออกไปก่อนและติดตามตรวจนับ CD4 ทุก 3 เดือน

กลุ่มที่ 2 ผู้ติดเชื้อที่มีอาการของโรคแทรกซ้อนแล้ว
กรณีที่ป่วยเป็นวัณโรค,เชื้อราในเยื่อหุ้มสมอง,ปอดอักเสบ,อุจจาระร่วงเรื้อรัง ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัส แต่การเริ่มใช้ยาต้านควรเริ่มในจังหวะที่เหมาะสม โดยต้องพิจารณาด้วยว่ามียาต้านไวรัสตัวใดบ้าง ที่ออกฤทธิ์ต่อต้านกับยารักษาโรคติดเชื้อแทรกซ้อนที่กำลังใช้อยู่ เช่น ถ้าป่วยเป็นวัณโรคและใช้ยา rifampicin รักษาอยู่ จะห้ามใช้ยาต้านไวรัส กลุ่มที่ 3 PIs หรือผู้ป่วยที่มีอาการอจุจาระร่วงเรื้อรังรุนแรงอยู่ อาจมีปัญหาการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย จึงยังไม่ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัส รวมถึงควรดูปัญหาผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสที่จะใช้ และสุขภาพของผู้ป่วยมีความพร้อมที่ทนต่อผลข้างเคียงของยา รวมถึงการให้ความร่วมมือในการกินยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเมื่อเริ่มใช้ยา

สูตรการให้ยาแบบจับคู่ยา
การให้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อ โดยการจับคู่ยาอาจแบ่งออกเป็น 2 สูตรคือ
สูตรยา ARV ( antiretroviral drug ) เป็นการให้ยา 2 -3 ตัวร่วมกัน แต่จะใช้เฉพาะยากลุ่มที่ 1 NRTIs
สูตรยา HAART เป็นการนำยากลุ่มที่ 2 NNRTIs หรือนำยา กลุ่มที่ 3 PIs เข้ามาร่วมจับคู่กับสูตรยา กลุ่มที่ 1 NRTIs
  • คู่ที่ 1 AZT + ddI
  • คู่ที่ 2 AZT + 3TC
  • คู่ที่ 3 AZT + ddC
  • คู่ที่ 4 d4T + ddI
  • คู่ที่ 5 d4T + 3TC

ยาที่ห้ามใช้ร่วมกัน
  • คู่ที่ 1 AZT + d4T
  • คู่ที่ 2 ddI + ddC
  • คู่ที่ 3 d4T + ddC

2.การให้ยาแบบสูตร HAART
เป็นการนำยากลุ่มที่ 2 NNRTIs เข้ามาร่วมกับสูตรยา กลุ่มที่ 1 NRTIs หรือนำยากลุ่มที่ 3 PIs เข้ามาร่วมกับสูตรยา กลุ่มที่ 1 NRTIs เช่นกัน
  • AZT + ddI + สโตคริน (Stocrin)
  • AZT + 3TC + ครีซีแวน (Crixivan) + ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
  • d4T + 3TC + ไวราเซ็ปท์ (Viracept)
  • d4T + ddI + ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) + ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
  • 3TC + ddI + กาเล็ทตร้า (Kaletra)
  • AZT + ddC + ไวรามูน (Viramune)

หรืออาจจะได้สูตร อื่น ต่างจากนี้

หมายเหตุ
  1. AZT + 3TC + อาบาคาเวียร์ (Abacavir) เป็นยาสูตรพิเศษชื่อ Tizivir เป็นการจับคู่ 3 ตัว เฉพาะยากลุ่มที่ 1 NRTIs แต่ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยา อาบาคาเวียร์ (Abacavir) หากมีการเริ่มใช้ยาตัวนี้แล้วมีอาการแพ้จากผลข้างเคียงของยาคือ การเกิด hypersensitivity ได้ อาการนี้คือกลุ่มอาการ flu-like จะมีไข้ ผื่น มีอาการทางระบบการหายใจส่วนบน และอาการของระบบทางเดินอาหาร มักเกิดภายใน 42 วันแรก หลังเริ่มใช้ยานี้ และในคนที่มีอาการดังกล่าวเมื่อหยุดการให้ยาตัวนี้แล้ว คนไข้มักจะมีอาการดีขึ้น และที่สำคัญปัญหาที่พบ ถ้ามีการกลับมาใช้ยาตัวนี้ใหม่อีกครั้ง พบว่ามีการเสียชีวิตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นห้ามกลับมาใช้ยาตัวนี้อีกครั้ง แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน
  2. ยากลุ่มที่ 3 ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ควรใช้ร่วมกับยาริโทนาเวียร์ (Ritonavir) จะได้ผลดีกว่าการใช้แต่ยาซาควินาเวียร์ (Saquinavir) เพียงตัวเดียวกรณีผลการรักษาล้มเหลวให้พิจารณาเปลี่ยนยาใหม่โดยดูจากจากสิ่งต่อไปนี้ ถ้าจำนวน ไวรัสในเลือดเพิ่มขึ้นเกิน 10,000 copy/มล.

ข้อควรระวังในการใช้ยา

การใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น การใช้ยาที่ไม่สามารถลดปริมาณไวรัสได้ดีพอ เป็นสาเหตุทำให้ไวรัสดื้อยา (drug resistant variant) และไวรัสที่ดื้อยาเหล่านี้จะเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสในเวลาต่อมาล้มเหลว และจะล้มเหลวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการรักษาครั้งต่อๆ มา ด้วยเหตุผลนี้แพทย์ผู้ดูแลรักษาทุกคนควรเข้าใจ และตระหนักถึงปัญหานี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด เพราะปัญหานี้มีความสำคัญมากกว่าการรักษา เนื่องจากเมื่อไวรัสดื้อยาขึ้นมาแล้ว การรักษาต่อมาจะประสบความสำเร็จได้ยากมาก และที่น่าเป็นห่วงก็คือ การเกิด T-cell tropie syneytium-indueing variant HIV ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดื้อยาที่มีความรุนแรง และจะทำให้ระดับภูมิคุ้มกัน CD4 ลดลงอย่างรวดเร็ว การดำเนินของโรคเร็วขึ้น และเสียชีวิตเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น insufficient antiviral poteney

ความจริงของยารักษาโรคเอดส์

ปัจจุบันเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อ โดยการใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงอย่างเดียว เพราะยาต้านไวรัสมี ทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวของมัน
  1. ข้อดี โดยการใช้สูตรยา HAART เป็นการใช้ยา 3 ตัวขึ้นไป คนไข้ที่ได้รับยาสูตรนี้ภายในระยะเวลา 4-6 เดือนเชื้อไวรัสจะลดลงจนไม่สามารถตรวจพบได้ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกัน CD4 เกิดการเพิ่มขึ้น
  2. ข้อเสีย คือ อาจจะก็ให้เกิดภาวะผิดปกติ ร่วมทั้งกลุ่มอาการ ( Syndrom ) ที่สืบเนื่องจากการใช้ยาต้านไวรัส เช่น ตับอักเสบ ,ไขมันในเส้นเลือดสูง , เป็นเบาหวาน,โรคไต ปลายประสาทอักเสบ, มีอาการปวดเมื่อยตามข้อตามตัว, มีผื่นขึ้นตามตัว เกิดภาวะไขมันเคลื่อนย้าย , แก้มตอบ , แขนขาลีบ , พุงโต

ด้วยเหตุผลนี้แนวคิดในการรักษา โดยการใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงอย่างเดียวได้เปลี่ยนไป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้วิธีรักษาที่สมบูรณ์แบบ 2 ทางที่เรียกว่า Complementary treatment หมายถึงการรักษา ระหว่างแพทย์แผนปัจจุบัน ควบคู่ไปกับแพทย์ทางเลือก Alternative medicine โดยมีหลักการดังต่อไปนี้

  1. จะใช้ยาต้านไวรัสเพื่อลดจำนวนเชื้อไวรัส จนไม่สามารถ ตรวจพบได้ ( ปริมาณไวรัสต่ำกว่า 50 หรือ 20 ตัว ต่อ ลบ.มม.)
  2. จะใช้วิธีป้องกันข้อเสียของยาต้านไวรัส โดยการซ่อมสร้างร่างกายโดยใช้วิธีที่เรียกกันว่าแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) เช่นการใช้ยาสมุนไพรแบบสกัดที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เชื่อได้ว่า มีฤทธิ์ในการปกป้อง ซ่อมสร้างร่างกาย เช่น ปกป้องตับ โดยการใช้ สมุนไพรเห็ดหลินจือ,ชะเอมเทศ, ลูกใต้ใบ, ฟ้าทะลายโจร, มะระขี้นกก็ยังมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย การใช้วิตามิน C วิตามิน B6 วิตามินรวมเกลื่อแร่ การใช้น้ำมันปลาในกลุ่มโอเก้า 3 ป้องกันไขมันในเส้นเลือดสูง การออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การใช้ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารบางชนิดช่วยด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น สามารถช่วยปกป้องผลข้างเคียง ที่เกิดจากยาต้านไวรัส และต้องคอยเฝ้าระวังเจาะเลือดตรวจตับ ตรวจไต ตรวจไขมันในเส้นเลือด ตรวจน้ำตาลใน เลือดทุก 3 เดือน หรือเจาะเลือดตรวจทันที ที่สงสัยว่าอาจจะมีผลข้างเคียงที่สืบเนื่องมาจากการใช้ยาต้านไวรัส

จากแนวคิดการรักษาโดย การใช้ยาต้านไวรัส ควบคู่กันไป กับการซ่อมสร้างร่างกาย Complementary treatment ดังกล่าว ซึ่งวิธีการนี้มันก็เหมือนกับการรักษาคนไข้ที่เป็นวัณโรค เช่นถ้าแพทย์ที่รักษาให้แต่ยารักษาวัณโรคอย่างเดียว โดยที่ไม่ฟื้นฟูสุขภาพร่างกายของคนไข้ควบคู่ร่วมไปด้วย เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า คนไข้มักจะโซมผอมแห้งมาก เพราะฉะนั้นการรักษาคนไข้ HIV จึงควรรักษา 2 ทางควบคู่กันไป จะได้ผลที่ดีกว่า การให้แต่ยาต้านไวรัสเพียงด้านเดียว แต่สมุนไพรและวิตามินบางอย่าง ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น สโตคริน (Stocrin) ไม่สามารถ รับประทานกับ กระเทียมสกัดได้ ครีซีแวน (Crixivan) ไม่สามารถ รับประทาน กับวิตามิน C ได้

ยังมีข้อที่ต้องควรระวังอีกมากมาย ไม่ว่าเรื่องสมุนไพร บางตัวที่ไม่สามารถ รับประทานติดต่อกันได้นาน เช่น ฟ้าทะลายโจร ถ้ารับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ควาดันในเลือดต่ำได้ เป็นต้น

ที่มา : http://pha.narak.com/topic.php?No=38542

2 ความคิดเห็น:

  1. ทางออกมี http://gel-care.net/2013/02/08/hiv/
    ลองศึกษาดู

    ที่สำคัญ ราคาไม่ได้แพงเท่ายาต้านทั้งหลาย

    ตอบลบ
  2. ถ้าไม่ป้องกัน ไม่ใส่ถุงยาง ไม่รักตัวเองก็ติดเชื้อได้ง่ายอยู่ดีนะคะ
    เราแนะนำว่าใครที่สงสัยว่าตัวเองติดเอดส์มั้ย ให้รีบไปตรวจค่ะ เพื่อนเราไปที่ Vmed clinic
    บริการดี รู้ผลตรวจเร็ว ลองโทรไปถามก่อนได้ 052-001119 รู้ก่อนก็รักษาได้ก่อนเนอะ
    อันนี้เวบของเขาจ้า www.vmedclinic.com เอดส์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิดนะจ๊ะ

    ตอบลบ

บล็อกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • การแพ้ยามีอาการอย่างไร - เรื่อง “การแพ้ยา” เป็นอีกคำถามหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะการแพ้ยาเป็นอันตราย อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา จึงได้รับความสนใจและเป็นคำถามประจำ ที่ผู้สั่งจ่ายยา...
    11 ปีที่ผ่านมา
  • slow slow...but sure? - ผลเลือดคราวนี้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจของตัวเองเท่าไหร่ ขนาดเช้าวันที่ตรวจกระดกแบรนด์ไป 1 ขวดตามคำแนะนำของเพื่อนร่วมโลก เขาบอกให้ลองดูสิตัวเลขจะออกมาสวยเชียวล...
    11 ปีที่ผ่านมา