27 สิงหาคม 2552

โรคเอดส์รักษากันได้อย่างไร ?

การรักษาโรคเอดส์ แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน

(1) การรักษาและป้องกันโรคแทรกซ้อน
ได้แก่ โรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสมะเร็ง และอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด โรคหรืออาการบางอย่างก็มียารักษา บางอย่างก็ไม่มียารักษาหรือรักษาไม่หายขาด ในปัจจุบันมีการให้ยาป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนหลายอย่างๆ เมื่อระดับภูมิคุ้มกันลดลงมาถึงระดับหนึ่ง และก่อนที่จะเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นมาจริง ๆ เช่น การให้ยาป้องกันปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสตีส ยาป้องกันเชื้อราขึ้นสมอง และยาป้องกันวัณโรค เป็นต้น พบว่าสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปในบางกรณีแม้จะรักษาภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนให้หาย แล้วก็ตาม ก็ยังจะต้องให้ป้องกันไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำใหม่ เช่นปอดบวมที่เกิดจากเชื้อนิวโมซีสตีส หรือเชื้อราในสมองเป็นต้น นอกจากนี้ มีการใช้ยาที่จะช่วยบรรเทาอาการแทรกซ้อนต่างๆของผู้ป่วยเอดส์ เช่นอาการคันตามตัวอาการท้องเสียเรื้อรัง และน้ำหนักลด เป็นต้น

(2) การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์
การ รักษาที่มุ่งกำจัดไวรัสเอดส์ ในปัจจุบัน ยังไม่มียาที่ได้ผลแน่นอนในการฆ่าทำลายไวรัสเอดส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสที่หลบอยู่ในเซลล์ เม็ดโลหิตขาว จะมีก็แต่ยาที่ไปหยุดยั้งการแบ่งตัวของไวรัสเอดส์ เช่น
  • ยาไซโด วูดีน(Zidovudine, หรือ เอ-แซด-ที AZT), ไดดีอ๊อกซีไอโนซีน(dideoxyinosineหรือ ดี-ดี-ไอ ddI), ไดดีอ๊อกซีซัยติดีน(dideoxycytidine หรือ ดี-ดี-ซี,ddc) สตาวูดีน (stavudine หรือ ดี-โฟ-ที d4T), ลามิวูดีน (lamivudine หรือ ทรี-ที-ซี 3TC), และ อะ บาคาเวีย(abacavir), เนวิราปีน (nevirapine), เอฟฟาไวเรนส์ (efavirenz)
  • และยาในกลุ่มที่เรียกว่าโปรตีเอส อินฮิบิเตอร(Protease inhibitors) เช่น อินดินาเวีย(indinavir) เนลฟินาเวีย(nelfinavir) และโลปินาเวีย(lopinavir) ยาเหล่านี้สามารถยืดชีวิตคนไข ้เอดส์ออกไปได้ เป็นโรคติดเชื้อแทรกซ้อนน้อยลงน้ำหนักเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับไปทำงานได้และแม้คนไข้ที่ยังไม่มีอาการแต่ระดับภูมิคุ้มกัน เริ่มต่ำลงแล้วหรือแม้ระดับภูมิคุ้มกัน (ซีดี-4) จะยังไม่ต่ำ แต่มีปริมาณไวรัสในเลือดมาก การให้ยาต้านไวรัสเอดส์จะทำให้ภูมิคุ้มกันของเขาอยู่ในระดับดีได้นานๆติด เชื้อแทรกซ้อนช้าลงหรือน้อยลง ดังนั้นช่วงที่ผ่านมาจึงนิยมที่จะให้ยาต้าน ไวรัสเอดส์แก่ผู้ติดเชื้อตั้งแต่ระยะต้นๆ และให้ยา 3 ตัวพร้อมกันเพื่อให้มีฤทธิ์ในการลดปริมาณไวรัสเอดส์สูงสุด ขณะเดียวกันก็เพื่อลด โอกาสที่เชื้อเอดส์จะดื้อยาด้วย
ปัญหาที่เกิดตามมาก็ คือ ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะต้องสูงขึ้น เพราะต้องใช้ยาหลายตัว และต้องใช้ยานานขึ้น กล่าวคือ ถ้าเริ่มใช้ก็ต้องใช้ไปตลอดชีวิตและมีคนที่ต้องใช้ยามากขึ้น เพราะเริ่มใช้ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีอาการ จึงเป็นการยากที่คนไข้หรือรัฐจะจัดซื้อยาให้ใช้ได้อย่างทั่วถึง ยิ่งในสภาวะเงินบาทลอยตัวอย่างในปัจจุบัน เพราะค่าใช้จ่ายในการให้ยา 3 ตัวพร้อมกันจะประมาณ 15,000-28,000ในคนที่ไม่มีเงินมากพอก็อาจกินยาร่วมกันเพียง 2 ตัว ซึ่งจะตกประมาณเดือนละ 4,000 -10,000 บาท แล้วแต่ตัวยาชนิดใด เป็นที่น่ายินดีว่าสภากา ชาดไทยได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของประเทศเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลียจัดตั้ง ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทย -ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ ในการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (เรียกชื่อย่อว่า "HIV-NAT") ขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2539 เพื่อทำการศึกษาวิจัยผลของ การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ 2-3 ตัว พร้อมกันในสูตรผสมต่างๆ กันในคนไทย ทำให้คนไทยเกือบหนึ่งพันคนได้รับยาดีๆ ฟรีเป็นเวลาหลายปีติดต่อกันจนถึงปัจจุบันมีผลงานเผยแพร่เป็นที่ยอมรับกัน ทั่วโลก

เป็นที่น่ายินดีว่า ยาต้านเอดส์บางตัวได้มีราคาลดลงค่อนข้างมาก ในปี 2543 ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันของกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อในประเทศ ทำให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาต้านเอดส์บางตัวออกมาซึ่งราคาถูกกว่ายาต้นตำรับ มาก ส่งผลให้บริษัทยาข้ามชาติต้องลดราคายาลงประมาณร้อยละ 40 เพื่อจะได้ขายแข่งกับยาขององค์การเภสัชกรรมทุกฝ่ายได้แต่คาดหวังกันว่า ยาทุกตัวจะมีราคาถูกลงในที่สุด กรมควบคุมโรคติดต่อเองก็ได้พยายามเจรจาขอลดราคายาต้านเอดส์กับบริษัทยาใน กรณีสั่งซื้อคราวละมาก ๆ อีกทั้งองค์การเอดส์สหประชาชาติก็ได้พยายามช่วยเจรจากับบริษัทยาต่างๆ ให้ลดราคายาลง จึงหวังว่ายาต้านเอดส์ 3 ตัว น่าจะมีราคาลดลงเหลือเพียงไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ถึง ตอนนั้นก็หวังว่ารัฐบาลจะจัดงบซื้อยาต้านไวรัสให้ผู้ติดเชื้อทานมากขึ้น ไม่ใช่ยาราคาถูกลง คนไข้ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ยาอยู่ดี เพราะการที่เขามียาดีๆกินโอกาสที่จะทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติและสังคมจะมี มากขึ้น เพราะจะไม่ป่วยและมีอายุยืนเหมือนคนทั่วไป สามารถทำงานรับใช้ชาติ ทำงานเสียภาษีให้รัฐ มีผลผลิตทำรายได้เข้าประเทศ รัฐเองก็ไม่ต้องเสียเงินในการรักษาโรคติดเชื้อแทรกซ้อนไม่ต้องสร้างโรง พยาบาล vหรือผลิตหมอมากขึ้นไม่ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูบุตร หรือพ่อแม่ที่แก่เฒ่าของผู้ติดเชื้อ พูดง่าย ๆ คือจะมีกำไรเข้ากระเป๋าของรัฐมากกว่า ถ้ารัฐจัดหายาต้านไวรัสเอดส์ดี ๆให้คนไข้รับประทานคล้ายกับที่ประเทศรวยๆ อื่นๆ เขาสรุปกันไว้ก่อนแล้ว

การป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่ไปสู่ลูก

เป็น ที่ทราบกันมา 6-7 ปี แล้วว่ายาต้านไวรัสเอดส์สามารถลดการถ่ายทอดเอดส์จากแม่สู่ลูกได้ เช่นถ้าให้ เอ-แซด-ที อย่างเดียวแก่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์ตั้งแต่ครรภ์ได้14 สัปดาห์ จนถึงเด็กคลอดออกมาและให้ยาแก่เด็กต่ออีก 6 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดการถ่ายทอดเอดส์จากแม่สู่ลูกลงได้ 2 ใน 3 กล่าวคือถ้าไม่ให้ยาอะไรเลย ลูกจะติดเอดส์จากแม่ประมาณร้อย 25 ถ้าแม่และลูกได้ยา เอ-แซด-ที ในกำหนดดังกล่าว พร้อมกับการงดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกจะติดเอดส์จากแม่เพียงร้อยละ 8 การให้ยาดังกล่าวไม่เป็นอันตราย และไม่เกิดผลเสียทั้งต่อแม่ และเด็ก จึงถือเป็นมาตรฐานทั่วโลกว่าถ้าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอดส์ และต้องการจะตั้งครรภ์ต่อไปควรให้โอกาสหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิ์ตัดสินใจในการ รับยาต้านเอดส์และในการงดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อลดโอกาสทีลูกจะติดเอดส์จากแม่ ในประเทศที่ร่ำรวย แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาต้านเอดส์ 2 หรือ 3 ตัวร่วมกัน เพื่อลดอัตราการถ่ายทอดเอดส์ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดเอาเด็กคลอดออกทางหน้าท้องด้วย ซึ่งจะยิ่งลดโอกาสการติดเชื้อเอดส์ลงไปอีกเพราะเด็กจะสัมผัสกับเลือดแม่น้อย ลง

ปัญหาหลักของการลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกโดยการใช้ยาต้านไวรัส เอดส์คือการที่จะรู้ได้ยังไงว่าใครติดเอดส์ ค่ายาที่จะใช้และค่านมผงที่จะใช้เลี้ยงทารก ส่วนประเด็นความคุ้มที่จะต้องมีเด็กกำพร้าพ่อแม่เพิ่มขึ้นไม่เป็นประเด็นอีก แล้วเพราะค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อจะแพงกว่าและไม่คุ้ม ค่าเท่ากับการเลี้ยงดูเด็กกำพร้า ซึ่งบางรายโตขึ้นอาจเป็นหมอ เป็นวิศวกร หรือเป็นนายกรัฐมนตรี การจะร ู้ว่าหญิงตั้งครรภ์คนใดติดเชื้อเอดส์ก็ต้องตรวจเลือดระหว่างไปฝากครรภ์ ซึ่งต้องเป็นการตรวจโดยสมัครใจ มีการให้คำปรึกษาแนะนำที่ถูก ต้องทั้งก่อนและหลังตรวจและต้องมีการรักษาความลับอย่างเคร่งครัด โรงพยาบาลบางแห่งแม้ในประเทศไทยเองก็อาจจะยังทำไม่ได้ครบเกณฑ์มาตรฐานดัง กล่าวจนต้องมีองค์กรเอกชนบางกลุ่มออกมาเรียกร้องให้แพทย์ และโรงพยาบาลเคารพสิทธิของหญิงในการตรวจเลือด ในการรับยา และในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งแน่นอน ต้องเป็นสิทธิของพ่อและแม่ของเด็กในครรภ์ที่จะตัดสินใจหลังได้รับข้อมูลที่ ถูกต้องทั้งด้านบวกและลบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมของพ่อ แม่ และทารกในครรภ์ แพทย์ไม่ควรไปบังคับหรือชักจูงการตัดสินใจของเขา

ใน ประเทศยากจนแถบอัฟริกา การใช้นมผงเลี้ยงทารกมีปัญหาทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย ความสะอาดของน้ำและอุปกรณ์ที่จะนำมาผสมนมผงให้ทารกดื่มและการเสี่ยงต่อการ ถูกผู้อื่นรู้ว่าติดเชื้อเพราะคนอื่นๆ ต่างก็เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งนั้น ดังนั้นองค์การอนามัยโลกจึงยังไม่กล้าแนะนำให้แม่ที่ติดเชื้อในอัฟริกาใช้นม ผงเลี้ยงลูก เพราะกลัวว่าจะมีเด็กทารกเสียชีวิตจากการขาดสารอาหารหรือจากโรคติดเชื้อของ ทาง เดินอาหารจากการรับประทานนมสกปรกมากกว่าจะเสียชีวิตจากโรคเอดส์ จะใช้นมผงก็ต่อเมื่อครอบครัวมีเศรษฐกิจฐานะดี ดังนั้นเมื่อยัง ต้องให้นมแม่อยู่ ก็ทำให้ผลการใช้ยาต้านเอดส์ในการลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกไม่สู้ดีนักเพราะ เด็กจะยังได้รับเชื้อเอดส์จากน้ำนมแม่ ภายหลังคลอด เรื่องค่ายาต้านเอดส์ที่ต้องให้แม่ และลูกกินก็เป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศที่ยากจนเฉพาะ เอ-แซด-ที เดียวๆ ตามสูตรที่พิสูจน์ว่าได้ผลและใช้กันอยู่ในต่างประเทศก็จะตกประมาณ 10,000 บาท ยิ่งถ้าต้องให้ยาหลายตัวร่วมกัน ค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นจึงมีผู้พยายามคิดหาสูตรยาอื่นๆ ที่ราคาอาจถูกลง หรือการให้ยาช่วงสั้นลงจะได้ประหยัด หลังจากใช้เวลาทดสอบอยู่หลายปีก็พอได้สูตรยาที่ประหยัดบ้าง แต่ก็ไม่ได้ผลดีเท่า เอ-แซด-ที ที่ใช้กันอยู่เดิม สูตรประหยัดเหล่านี้อาจพอนำมาใช้กับประเทศที่ยากจนซึ่งก็จะยังดีกว่าไม่ทำ อะไรเลย ในช่วงปลายปี 2538 ขณะที่หลายๆฝ่ายกำลังรอผลการทดสอบสูตรยา เอ-แซด-ที ที่ประหยัดซึ่งกำลังทดสอบอยู่ในประเทศ ไทยและกว่าจะรู้ผลก็คาดว่าจะเป็นปี พ.ศ. 2541-2542 สภากาชาดไทยเห็นว่าในระหว่างที่รออยู่นั้น องค์กรการกุศล เช่น สภากาชาดไทย น่าจะทำอะไรได้ไปพลางๆ ก่อนในการลดจำนวนเด็กที่จะติดเชื้อเอดส์จากแม่ลงได้โดยการรณรงค์หาผู้บริจาค เพื่อซื้อยา เอ-แซด-ที ให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่ยากจน จึงเป็นที่มาของโครงการบริจาคเพื่อช่วยลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกของสภา กาชาดไทย ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงรับโครงการดังกล่าวไว้ในพระอุปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2539 โครงการดังกล่าวได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์และยากจนจำนวนเกือบ 4,000 ราย จากทั่วประเทศได้รับยา เอ-แซด-ที เต็มสูตรจากโครงการบริจาค ฯ จนถึงสิ้นปี 2543 ปรากฏว่าได้ผลดีเท่ากับที่ต่างประเทศรายงานไว้ คือลดอัตราการติดเชื้อเอดส์ลงมาได้เหลือประมาณ 5% ซึ่งเท่ากับว่าช่วยชีวิตเด็กไว้ได้ประมาณ 600 รายจากแม่ที่ได้รับยาทั้งสิ้น 4,000 ราย ผู้สนใจจะร่วมทำบุญเพื่อไถ่ชีวิตเด็ก สามารถบริจาคมาได้ที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยโทร 256-4107-9 หรือติดต่อบริจาคผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย" เลขที่บัญชี 045-2-00423-6 หรือบริจาคผ่านทางธนาณัติ สั่งจ่ายผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ณ ที่ทำการไปรษณีย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(3) การรักษาที่มุ่งเสริมหรือกระตุ้นภูมิต้านทานที่เสียไป

ใน ปัจจุบันมีการทดลองยาหลายตัวในกลุ่มนี้ เช่น อินเตอร์ลุยคินทู (IL-2) และวัคซีนโรคเอดส์ เป็นต้น เป็นที่คาดว่าถ้าให้ยาในกลุ่มนี้ร่วมไปกับยาต้านไวรัสเอดส์ น่าจะได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

(4) การรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วย

ได้แก่ การให้คำปรึกษาแนะนำ กำลังใจ การสงเคราะห์ด้านอาชีพ การรักษาเพื่อให้เลิกใช้ยาเสพติดตลอดจนถึงการให้การรักษาอาการทางจิตที่อาจ เกิดขึ้นจากแรงกดดันหลายๆ ด้าน

ที่มา : http://pha.narak.com/topic.php?No=00656

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี