28 สิงหาคม 2552

ความรู้พื้นฐานที่คนทานยาต้านควรรรู้

ยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้าน ไวรัสเอชไอวี มีด้วยกันหลายชนิด ออกฤทธิ์แตกต่างกันไป การเลือกใช้ยาจะพิจารณาตามความเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยแบบแผนการรักษาที่จะให้ผลดี และช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ จะต้องใช้ยา 3 ตัวรวมกันหรือมากกว่า ที่เรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) การรักษาด้วยวิธีนี้ จะทำให้อัตราป่วยจากโรคแทรกซ้อน และอัตราการตายของผู้ป่วยเอดส์ ลดลงได้อย่างมาก ถึงแม้จะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความสำคัญกับการรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ปัจจุบันยาต้านไวรัสเอชไอวี สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม

  • Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs)
  • Non nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)
  • Protease inhibitors (PIs)

ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานยา

  • รับประทานยาตามที่กำหนด ทุกมื้อ และทุกวัน
  • อย่า เปลี่ยนยาด้วยตนเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ถ้าพบว่าปฏิบัติตามแผนการรักษาได้ยาก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อค้นหาแนวทางการรักษาใหม่ที่เหมาะสม
  • หากจะใช้ยาอื่นนอกเหนือที่แพทย์สั่ง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
  • ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หากหยุดยาระยะหนึ่งแล้วมารับประทานต่อ ก็อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา การรักษาจะยิ่งยากมากขึ้น
ปฏิกิริยาระหว่างยากับยา
ผู้ ป่วยที่ติดเชื้อ HIV เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง จนถึงระดับหนึ่ง อาจติดเชื้อแทรกซ้อนได้ เช่น เชื้อรา เชื้อวัณโรค ฯลฯ ยาที่ใช้รักษาเชื้อแทรกซ้อนเหล่านี้ รวมทั้งยาอื่นๆ ที่ใช้ร่วม อาจมีผลต่อระดับยาต้านไวรัส HIV ในเลือดได้ ยกตัวอย่างเช่น
  • ยาต้านเชื้อรา ได้แก่ Ketoconazole, Itraconazole มีผลเพิ่มระดับยาต้านไวรัสในเลือด
  • ยาต้านเชื้อวัณโรค ได้แก่ Rifampin มีผลลดระดับยาต้านไวรัสในเลือด
  • ยารักษาไมเกรน ได้แก่ Ergotamine ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาต้านไวรัส HIV เพราะมีผลทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณปลายมือปลายเท้าลดลง
  • ยานอนหลับ ได้แก่ Midazolam, Triazolam มีผลทำให้ฤทธิ์ยานอนหลับยาวนานขึ้น
  • ยา หลายๆ ชนิด จะมีผลต่อระดับยาต้านไวรัส HIV ในเลือด อาจทำให้เกิดความเป็นพิษจากยาได้ หรืออาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล ดังนั้นหากจะใช้ยาตัวอื่นๆ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
การใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันยาต้านไวรัส HIV อาจมีเปลี่ยนแปลงระดับยาในเลือดได้

ยาที่ใช้ร่วมและผลที่เกิด

  • ยาต้านเชื้อรา ได้แก่ Ketoconazole เพิ่มระดับยาต้านไวรัส HIV
  • ยาต้านเชื้อวัณโรค ได้แก่ Rifampin ลดระดับยาต้านไวรัส HIV
  • ยาลดไขมันในเลือด ได้แก่ Simvastatin, Lovastatin เพิ่มระดับยาลดไขมันในเลือด
  • ยากันชัก ได้แก่ Phenobarbitol, Phenytoin, Carbamazepine ลดระดับยาต้านไวรัส HIV

ปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร
สมุนไพร บางชนิด ได้แก่ St.John’s wort, Grapefruit juice มีผลลดระดับยาต้านไวรัสในเลือด ทำให้การรักษาการติดเชื้อ HIV ไม่ได้ผล จึงควรหลีกเลี่ยงสมุนไพรดังกล่าว

สมุนไพรที่ใช้ร่วมและผลที่เกิด

St. John’s wort ลดระดับยาต้านไวรัส HIV


ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร
ยาต้านไวรัส ผลของอาหาร และคำแนะนำในการรับประทานยา

กลุ่ม NRTIs ได้แก่ Videx (ddI) อาหารลดระดับยาในเลือดลงร้อยละ 55 รับประทานก่อนอาหารหนึ่งชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง

กลุ่ม PIs ได้แก่ Crixivan (Indinavir) อาหารลดระดับยาในเลือดลงร้อยละ 77

Grapefruit juice ลดระดับยา indinavir ลงร้อยละ 26 รับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือ หลังอาหาร 2 ชั่วโมง

กลุ่ม NNRTIs ได้แก่ Stocrin (Efavirenz) อาหารที่มีไขมันสูงจะเพิ่มระดับยาในเลือด ร้อยละ 50 ซึ่งอาจทำให้เกิดพิษจากยาได้ ไม่ควรรับประทานพร้อมกับอาหารที่มีไขมันสูง


อาการไม่พึงประสงค์ของยาต้านไวรัส HIV

ยาต้านไวรัส อาการไม่พึงประสงค์
  • กลุ่ม NRTIs
Antivir, Retrovir (AZT) คลื่นไส้อาเจียน โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ

Videx (ddI) ตับอ่อนอักเสบ, ชาปลายมือปลายเท้า, กรดยูริกในเลือดสูง

Stavir, Zerit (d4T) ตับอ่อนอักเสบ, ชาปลายมือปลายเท้า

Ziagenavir (Abacavir) ปฏิกิริยาภูมิแพ้, อ่อนเพลีย, เปลี้ย, น้ำหนักลด

  • กลุ่ม NNRTIs

Stocrin (Efavirenz) ผื่น, อาการข้างเคียงของระบบประสาทส่วนกลาง (มึนงง, นอนไม่หลับ, ฝันร้าย), เอนไซม์ตับเพิ่ม

Viramune (Nevirapine) ผื่น, ตับอักเสบ, เอนไซม์ตับเพิ่ม

  • กลุ่ม PIs
Kaletra (Lopinavir/Ritonavir)
Viracept (Nelfinavir)
Norvir (Ritonavir)
Fortavase (Saquinavir)
Crixivan (Indinavir) ยากลุ่มนี้ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูง, ไขมันในเลือดสูง, การสะสมของเนื้อเยื่อไขมันในร่างกายผิดปกติ (แก้มตอบ, แขนขาลีบ, ท้องโต, มีหนอกที่หลัง)

หมายเหตุ: Crixivan ทำให้เกิดนิ่วในไต ดังนั้นควรดื่มน้ำมาก ๆ ตามไปอีก 1 ลิตร หลังรับประทานยา

พึง ระลึกไว้ว่า อาการเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางรายไม่ได้เกิดขึ้นในผู้ป่วยทุกราย ยานั้นคือสิ่งที่ผลิตมาเพื่อรักษาคน ดังนั้น อย่ากลัวในการที่จะต้องทานยาต้านไวรัสมากเกินไปนัก และถ้ามีปัญหาสงสัยใดๆหรือข้องใจก็สามารถถามเภสัชกรหรือแพทย์ได้ตลอดเวลา เพราะนั่นคือสิทธิของเราที่จะรับรู้ข้อมูลในการรักษาตนเอง

หากท่านเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ให้กลับมาพบแพทย์ทันทีเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษา

วิธีการเก็บรักษายา
  • เก็บยาให้พ้นแสง
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
  • ยาเม็ด Norvir (Ritonavir) ควรเก็บในตู้เย็น อุณหภูมิ 2-8°C
  • ยาน้ำ Norvir (Ritonavir) ไม่ควรเก็บในตู้เย็น
  • ยาเม็ดแคปซูลนิ่ม Fortovase (Saquinavir) สามารถเก็บในตู้เย็น อุณหภูมิ 2-8°C หรือที่อุณหภูมิห้อง (เก็บได้นานถึง 3 เดือน)
  • Kaletra (Lopinavir/Ritonavir) สามารถเก็บในตู้เย็น หรือที่อุณหภูมิห้อง (เก็บได้นาน 2 เดือน)
  • Crixivan, Viracept เก็บที่อุณหภูมิห้อง
ที่มา : ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • การแพ้ยามีอาการอย่างไร - เรื่อง “การแพ้ยา” เป็นอีกคำถามหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะการแพ้ยาเป็นอันตราย อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา จึงได้รับความสนใจและเป็นคำถามประจำ ที่ผู้สั่งจ่ายยา...
    11 ปีที่ผ่านมา
  • slow slow...but sure? - ผลเลือดคราวนี้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจของตัวเองเท่าไหร่ ขนาดเช้าวันที่ตรวจกระดกแบรนด์ไป 1 ขวดตามคำแนะนำของเพื่อนร่วมโลก เขาบอกให้ลองดูสิตัวเลขจะออกมาสวยเชียวล...
    11 ปีที่ผ่านมา