20 ธันวาคม 2552

การ์ตูนความรู้ เรื่อง CD4

เป็นการ์ตูนที่ให้ความรู้กับเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อเอชไอวีว่า ซีดีสี่คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? เอชไอวีคืออะไร? ทำไมต้องกินยาต้าน? ทำไมต้องกินยาให้ตรงเวลา? ทำไมเด็ก ๆ ถึงติดเชื้อเอชไอวี? ฯลฯ

14 ธันวาคม 2552

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เนื่องจากการติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C virus, HCV) และเอชไอวี (human immunodeficiency virus, HIV) เป็นทางเดียวกันจึงพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ร่วมด้วย ผู้ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 30 มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมด้วย. ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสูงถึงร้อยละ 90 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีด และผู้ป่วยฮีโมฟีเลียในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทยพบความชุกของการติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบซีร้อยละ 7.8 ทางติดต่อหลักของไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือ การได้รับเลือดการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และทางเพศสัมพันธ์ ในชายรักร่วมเพศหรือการติดต่อจากมารดาสู่ทารกพบ ร้อยละ 4-8.

ปัจจุบัน การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ลดอัตราทุพพลภาพ และอัตราตายลงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีชีวิตยืนยาวขึ้น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจึงกลายเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนภาวะตับแข็งและมะเร็งตับ (hepatocellular carci-noma) และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเสียชีวิตในประเทศที่มีการใช้ ยาต้านไวรัสมานานแล้ว เช่นเดียวกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี.

วัตถุ ประสงค์หลักของการรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังคือ เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบอย่างถาวร ยับยั้งหรือลดการอักเสบของตับ และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น. วัตถุประสงค์รอง (ถ้าไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้อย่างถาวร) คือ ลดหรือชะลอการเกิดพังผืด (fibrosis) ให้ช้าที่สุด ป้องกันการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคตับ ตลอดจนทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น.


การดำเนินโรคของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ ที่มีภูมิคุ้มกันปกติเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเฉียบพลันมักจะไม่ มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หลังจากได้รับเชื้อจะมีการดำเนินโรคเป็นไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังร้อยละ 50-80 และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งร้อยละ 20 เมื่อเป็นโรคตับแข็งแล้ว จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับร้อยละ 1-4 ต่อปี. ในประเทศสหรัฐอเมริกา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของโรคตับเรื้อรังและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการเปลี่ยน ตับ.


ผลกระทบของการติดเชื้อเอชไอวีต่อไวรัสตับอักเสบซี

การ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะทำให้มีโรคตับที่เกิดจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีการดำเนินโรคเร็วกว่าผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อเอชไอ วี 3 เท่า การศึกษาในผู้ป่วยฮีโมฟีเลียพบว่าผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน ผู้ป่วยร้อยละ 9 จะมีการทำงานของตับล้มเหลว (liver failure) ภายใน 10-20 ปี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี CD4 น้อยกว่า 100 เซลล์/ลบ.มม. ในขณะที่ไม่พบผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอย่างเดียวมีการทำงาน ของตับล้มเหลว.
การติดเชื้อเอชไอวีทำให้การดำเนินโรคของการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซีเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากจะทำให้เกิดพังผืดเร็วกว่าๆ เมื่อเทียบกับผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอย่างเดียว ทำให้เกิดตับแข็งเร็วกว่าคือ ร้อยละ 15-25 ภายใน 10-15 ปีหลังจากที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเมื่อเทียบกับร้อยละ 2-6 ในผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวี และเกิดมะเร็งตับในอายุน้อยกว่า.


ผลของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีต่อการติดเชื้อเอชไอวี
การ ศึกษาที่กล่าวถึงผลของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีต่อการติดเชื้อเอชไอวี ยังมีการสรุปแตกต่างกันบางการศึกษาพบว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการดำเนินโรคเป็นเอดส์และเสียชีวิต เร็วขึ้น แม้ว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีและมีการตอบสนองดี เนื่องจากเชื้อเอชไอวีแบ่งตัวมากขึ้น. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจีโนทัยป์ 1 มีความเสี่ยงต่อการดำเนินโรคเป็นเอดส์และเสียชีวิตมากกว่าชนิดอื่น. นอกจากนี้ยังพบว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีทำให้ปริมาณ CD4 หลังการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีเพิ่มขึ้นน้อยกว่า ทำให้มีการดำเนินไปเป็นเอดส์และเสียชีวิตเร็วกว่า แต่บางการศึกษาไม่พบว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีผลต่อการดำเนินโรคหรือ การเสียชีวิต.
ผลการศึกษาที่ได้ผลตรงกันหลายกลุ่มคือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงต่อตับ จากยาต้านเอชไอวีเกิดตับอักเสบจากยามากขึ้นทำให้ผู้ป่วยบางรายต้องหยุดยา ต้าน เอชไอวีโดยเฉพาะผลข้างเคียงจาก nevirapine และ ritonavir ขนาดสูง.นอกจากนี้การใช้ยากลุ่ม" d-nucleosides " คือ didanosine, dideoxycytidine และ stavudine โดยเฉพาะ didanosine ร่วมกับ stavudine จะทำให้เกิด hepatic steatosis มากขึ้น.


การวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทุกรายควรได้รับการตรวจ anti-HCV โดยเฉพาะถ้ามีระดับ alanine aminotrasferase (ALT) ผิดปกติ แต่ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำมากๆ อาจจะมี ALT ปกติได้ การตรวจ anti-HCV ในซีรั่มด้วยวิธี enzyme linked-immunosorbent assay (ELISA) มีความไวและความจำเพาะสูงคือ ร้อยละ 92-95 และร้อยละ 88-95 ตามลำดับมีผลลบเทียม (false negative) ร้อยละ 1.5-3.9 ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำมากๆ (CD4 น้อยกว่า 100 เซลล์/ลบ.มม.) ดังนั้น การตรวจเพียงครั้งเดียวและให้ผลลบไม่ได้บ่งชี้ว่าไม่มีการติดเชื้อ. ในกรณีที่มีข้อจำกัดในการตรวจ anti-HCV จากการศึกษาที่ผ่านมาในคนไทยพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นเพศชาย มีประวัติการใช้ยาเสพติดฉีดเข้าหลอดเลือดหรือการตรวจพบระดับ ALT สูงเป็นข้อบ่งชี้ว่าน่าจะมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ดังนั้นจึงควรตรวจ anti-HCV ในกลุ่มนี้เป็นอย่างน้อย.
การตรวจปริมาณไวรัสตับอักเสบซี (HCV RNA) เป็นการวินิจฉัยหลัก (gold standard) เนื่องจากมี ความไวและมีความจำเพาะสูง โดยเฉพาะในกรณีที่มี anti-HCV เป็นลบ ข้อจำกัดอยู่ที่ราคา ซึ่งอาจไม่สามารถทำได้ในทุกรายปริมาณไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร่วมด้วยจะสูงกว่าผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบซีอย่างเดียว แต่บางครั้งจะตรวจวัดเชื้อไวรัสมักพบเชื้อได้เป็นช่วงๆ (intermittent) ดังนั้นการตรวจวัดปริมาณไวรัสเพียงครั้งเดียวอาจจะวินิจฉัยไม่ได้.  อย่างไรก็ตามปริมาณไวรัสตับอักเสบซีไม่ได้เป็นปัจจัยในการพยากรณ์โรค แต่มีประโยชน์ในการพยากรณ์การตอบสนองต่อการรักษา กล่าวคือ ถ้าผู้ป่วยมีปริมาณไวรัสต่ำจะมีการตอบสนองต่อการรักษาดี.


แนวทางการรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ในผู้ ติดเชื้อเอชไอวี
ผู้ ติดเชื้อเอชไอวีที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทุกรายควรได้รับ การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเมื่อมีข้อบ่งชี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคตับระยะสุดท้ายและมีผลข้างเคียงต่อตับ หลังจากรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี ข้อบ่งชี้ในการรักษาในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีคือ มี anti-HCV เป็นบวก มีระดับเอนไซม์ transaminase สูงกว่าค่าปกติมากกว่า 3-5 เท่าและมีพังผืดจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ.
เนื่องจากผลการรักษาการติด เชื้อไวรัสตับอักเสบซีขึ้นกับปริมาณ CD4 จึงมีคำแนะนำให้รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ป่วยที่มี CD4 มากกว่า 350-500 เซลล์/ลบ.มม. เนื่องจากจะตอบสนองดีต่อการรักษา. ในกรณีที่ CD4 มีค่า 200-350 เซลล์/ลบ.มม. และได้รับยาต้านเอชไอวี อาจจะพิจารณาให้  การรักษาเป็นรายๆ ไม่ควรให้การรักษาผู้ป่วยที่มี CD4 น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. เพราะผลการรักษาต่ำมาก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อน. ในผู้ป่วยกลุ่มหลังนี้ควรให้ยาต้านเอชไอวีและยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ก่อนจนกว่า CD4 จะเพิ่มขึ้นและควบคุมปริมาณเอชไอวีได้.
ก่อนเริ่มการ รักษาควรมีการประเมินภาวะของผู้ป่วยและการตรวจทางห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้ คือ ความสมบูรณ์ของเลือด (complete blood count) เกล็ดเลือด การทำงานของตับ การแข็งตัวของเลือด (coagulogram) จีโนทัยป์และปริมาณไวรัสตับอักเสบซี ตรวจหาโรคหรือภาวะอื่นๆ ที่เป็นร่วมด้วยเช่น ไวรัสตับอักเสบบี การทำงานของไต ระดับน้ำตาล ระดับไขมัน การทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ตรวจการตั้งครรภ์ในหญิงเจริญพันธุ์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติเป็นโรคหัวใจ ตรวจตาก่อนเริ่มการรักษา ตรวจคลื่นเสียงสะท้อน(ultrasonography) ของช่องท้องและการตรวจชิ้นเนื้อตับ ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อตับก่อนการรักษายังมีข้อถกเถียงว่าต้องทำหรือไม่.
อย่าง ไรก็ดี การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นกระบวนการที่ ซับซ้อน และยังมีความเห็นหลากหลาย การรักษาจึงควรอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ


ยาที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
Interferon-alfa

Interferon-alfa มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบซีหลายกลไกคือ ป้องกันการจับและการเข้าไปในเซลล์ตับ (hepatocytes) กระตุ้น endogenous ribonuclease ทำให้มีการทำลายไวรัส ยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัส และเพิ่มการทำงานของ cytotoxic T-lymphocyte. การใช้ interferon-alfa ชนิดเดียวในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะมีผลการรักษาต่ำกว่าในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ โดยผลการรักษาในช่วงแรกอาจจะมีผลใกล้เคียงกัน แต่ผลการรักษาในระยะยาว (sustain virological response; SVR หมายถึง การตอบสนองต่อการรักษาโดยการตรวจไม่พบปริมาณไวรัสที่เวลา 24 สัปดาห์หลังจากหยุดการรักษา) นั้นต่ำกว่า.

Interferon-alfa และ Ribavirin
ไม่ แนะนำให้ใช้ interferon-alfa เพียงชนิดเดียวในการรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในผู้ติดเชื้อ เอชไอวี เนื่องจากการรักษาด้วย inter- feron-alfa ร่วมกับ ribavirin ให้ผลในการรักษาดีกว่า และถือเป็นมาตรฐานในการรักษาทำให้เกิด SVR หลังจากที่รักษาครบ 48 สัปดาห์ประมาณร้อยละ 40. แต่อย่างไรก็ตาม การตอบสนองต่อการรักษายังต่ำกว่าผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอย่าง เดียว.
Ribavirin เป็น synthetic analogue ของ guanosine ยับยั้งไวรัสตับอักเสบซีที่ N55B polymerase ทำให้ทำลายการสร้าง RNA และยับยั้งการ  แบ่งตัว ยับยั้ง inosine 5'-monophosphate dehydrogenase (IMPDH) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้าง guanine และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้าน cytokine. อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่ชัด เชื่อว่ายามีผลทางด้านอื่นมากกว่าที่จะมีผลต่อเชื้อไวรัสโดยตรง เนื่องจากการใช้ ribavirin ชนิดเดียวในการรักษา ไม่ได้ลดปริมาณไวรัสตับอักเสบซี แต่ทำ ให้ระดับ ALT ลดลง.
เนื่องจาก ribavirin มีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ ซีด ซึ่งสัมพันธ์กับขนาดยาที่ใช้ นอกจากนี้มีปฏิกิริยาระหว่างยา (drug-drug interaction) กับยาอื่นหลายชนิดโดยเฉพาะยาต้านเอชไอวี ดังนั้นต้องใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวัง.

Peginterferon-alfa และ Ribavirin
การ รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีด้วย peginterferon-alfa เพียงชนิดเดียวจะมี SVR ร้อยละ 25-39 แต่ถ้าใช้ร่วมกับ ribavirin จะมี SVR ร้อยละ 54-56. การใช้ยา 2 ชนิดนี้ร่วมกันเป็นการเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน แม้ว่ายังไม่ทราบกลไกที่ชัดเจน.
การใช้ peginterferon-alfa ร่วมกับ ribavirin ให้ผลในการรักษาดีกว่าการใช้ interferon-alfa ร่วม กับ ribavirin โดยรวมแล้วมี SVR ร้อยละ 27-40.การรักษาด้วยยา 2 ชนิดนี้ มีความปลอดภัย แต่ทำให้มี CD4 ลดลงชั่วคราวโดยที่ไม่มีผลต่อการดำเนินโรคของการติดเชื้อเอชไอวี.


การเปลี่ยนตับ
การ เปลี่ยนตับเป็นการรักษาวิธีสุดท้ายในผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้ายที่เกิดจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี มีการศึกษารายงานว่าผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนตับมากที่สุด 24 ราย ติดตามการรักษา 36 เดือน มีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 72.8 ปัญหาที่สำคัญคือการกลับเป็นซ้ำของไวรัสตับอักเสบซีทำให้เกิดตับแข็งได้ เกือบร้อยละ 20 ภายในเวลา 5 ปีเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหลังการเปลี่ยนตับ.
ข้อบ่ง ชี้ว่าผู้ป่วยรายใดควรได้รับการเปลี่ยนตับยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ไม่เคยมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสมาก่อน CD4 มากกว่า 100 เซลล์/ลบ.มม. และวัดปริมาณเอชไอวีไม่ได้.


วัคซีน
การ พัฒนาวัคซีนไวรัสตับอักเสบซีเป็นสิ่งที่ยากเนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับ ความรู้เรื่องกลไกทางด้าน ภูมิคุ้มกัน ขาดการทดลองในสัตว์และมีหลายจีโนทัยป์ทำให้ต้องทำวัคซีนเพื่อครอบคลุมทุกจี โนทัยป์.


สรุป
การติด เชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในผู้ติดเชื้อเอชไอวีกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากมีการใช้ยาต้านเอชไอวีมากขึ้น ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีชีวิตยืนยาวขึ้น มีระยะเวลานานพอที่จะทำให้โรคตับเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ได้. โรคตับอักเสบซีมีความยุ่งยากซับซ้อนในการรักษาแต่ปัญหาสำหรับผู้ป่วยติด เชื้อในประเทศไทยคือ ความคุ้มค่าในการที่จะตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทุกรายว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบร่วมด้วย หรือไม่ ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังแล้วจะรักษาหรือไม่เนื่องจาก การรักษายังได้ผลไม่ดีเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี หลังการรักษามีการกลับเป็นซ้ำสูงและค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ยังสูงมากใน อนาคตคงต้องรอการพัฒนายาใหม่และกลยุทธ์ใหม่ที่ ทำให้มีการตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้นและต่อเนื่องต่อไป.

ที่มา : http://www.doctor.or.th/node/8227

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B virus, HBV) เรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญและพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกและพบบ่อยในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการติด เชื้อตั้งแต่แรกเกิดโดยได้รับเชื้อจากมารดา แต่ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี (human immunodeficiency virus, HIV) มักจะเป็นการติดเชื้อที่ได้มาภายหลัง เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและเอชไอวีสามารถติดต่อทางเดียว กันได้ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น. ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 70-90 มีผลเลือดที่บ่งชี้ว่าเคยมีหรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วยและ ประมาณร้อยละ 5-10 เป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง. ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทยพบความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ร้อยละ 8.7 โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฯและต่างจังหวัด.

ใน ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มียาต้านเอชไอวีและการรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่มีประสิทธิภาพ ลดอัตราทุพลภาพและอัตราตายลงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีชีวิตยืนยาวขึ้น. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังจึงกลายเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนคือตับแข็งและมะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเป็นเวลานาน และการที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีชีวิตที่ยาวนานขึ้น. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังจึงกลายเป็นปัญหาที่สำคัญ และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเสียชีวิตในประเทศที่มีการใช้ ยาต้านไวรัสมานานแล้ว.

วัตถุประสงค์หลักของการรักษาโรคติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังคือ เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบอย่างถาวร ยับยั้งหรือลดการอักเสบของตับ และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น. วัตถุประสงค์รอง (ถ้าไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้อย่างถาวร) คือ เพื่อลดหรือชะลอการเกิดพังผืด (fibrosis) ให้ช้าที่สุด ป้องกันตับแข็งและมะเร็งตับ ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคตับ ตลอดจนทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น. การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังยังมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาหลาย ประการ เช่น ผู้ป่วยรายใดควรได้รับการรักษาเมื่อเกิดการดื้อยาของไวรัสตับอักเสบบี การรักษาร่วมกับการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี ผลข้างเคียงของยาที่ใช้และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีราคาสูง เป็นต้น.


การดำเนินโรคของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี
ร้อย ละ 95 ของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลันจะหายได้เอง ที่เหลือร้อยละ 5 จะมีการดำเนินโรคเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง. ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเรื้อรังนี้บางส่วนจะเกิด HBeAg seroconversion แต่ถ้า HBeAg ยังเป็นบวก ร้อยละ 25 จะเกิด ตับแข็งเมื่อเวลาผ่านไป 30 ปี และร้อยละ 15 ของผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งจะเสียชีวิตภายใน 5 ปี. นอกจากนี้ ยังอาจเกิดมะเร็งตับได้ การดำเนินโรคของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ
1. Immune tolerance พบในช่วงแรก ระดับ alanine aminotransferase (ALT) จะเป็นปกติ และมี HBeAg เป็นบวก.
2. Immune clearance เป็นระยะที่เริ่มมีการอักเสบ บางรายอาจเกิดการกำเริบ (flare) รุนแรง เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายพยายามต่อสู้เพื่อกำจัดเชื้อไวรัส.
3. Residual phase หรือ non-replicative ใน ระยะนี้จะเกิด HBeAg seroconversion โดยมี HBeAg เป็นลบและ anti-HBe เป็นบวก ร่วมกับการทำงานของตับเป็นปกติ ซึ่งบ่งชี้ว่าหายจากการ ติดเชื้อ.


ผลกระทบของการติดเชื้อเอชไอวีต่อไวรัสตับอักเสบบี
การ ดำเนินโรคของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีถูกเปลี่ยนแปลงจากการที่มีการติด เชื้อเอชไอวีร่วมด้วย กล่าวคือ การติดเชื้อเอชไอวีทำให้ไวรัสตับอักเสบบีมีการแบ่งตัวมากกว่า เกิด HBeAg seroconversion (anti-HBe เป็นบวก) น้อยกว่ามีการดำเนินโรคเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมากกว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับระยะสุดท้าย (end-stage liver disease) และ/หรือตับแข็งมากกว่า อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ. นอกจากนี้ยังทำให้การรักษาไวรัสตับอักเสบบีด้วย interferon-alfa ได้ผลด้อยกว่า และมีการดื้อยา lamivudine มากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย.


ผลของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีต่อการติดเชื้อเอชไอวี
การ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีไม่มีผลต่อการดำเนินโรคทางคลินิกของการติดเชื้อเอ ชไอวีโดยตรงแม้จะพบว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทำให้เอชไอวีแบ่งตัวมาก ขึ้น. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อตับจากยาต้านเอชไอ วีมากขึ้น โดยเฉพาะ nevirapine และ efavirenz และทำให้ปริมาณซีดีสี่ (CD4 cell count) ลดลงในผู้ป่วยที่มีตับแข็งและภาวะ hypersplenism.


การวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทุกรายควรได้รับการประเมินว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับ อักเสบบีและมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อหรือไม่โดยการตรวจ HBsAg, anti-HBs และ anti-HBc ถ้า HBsAg เป็นบวกควรตรวจ HBeAg, anti-HBe, ปริมาณไวรัสตับอักเสบบี (HBV DNA, HBV viral load) และการทำงานของตับ ได้แก่ ALT และ aspartate aminotransferase (AST)เพื่อประเมินว่ามีการแบ่งตัวของไวรัสและมีปัญหาทางคลินิกหรือไม่ และต้องการการรักษาหรือไม่อย่างไร.

ผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรังอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ มี HBeAg เป็นบวกและHBeAgเป็นลบ ถ้ามี HBeAg เป็นบวกแสดงว่าเชื้อไวรัสยังมีการแบ่งตัวอยู่และเป็น wide type ในกรณีที่มี HBeAg เป็นลบ พบในผู้ป่วยที่มี precore mutation หรืออยู่ในระยะ non-replicative ต้องส่งตรวจปริมาณไวรัสตับอักเสบบีเพื่อยืนยัน.

ผู้ป่วยติดเชื้อเอ ชไอวีบางรายอาจพบแต่ anti-HBc เป็นบวกเพียงอย่างเดียว (isolated anti-HBc) โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำมาก ผู้ป่วยร้อยละ 24 อาจตรวจไม่พบ HBsAg เนื่องจากอาจจะตรวจ HBsAg ในกระแสเลือดไม่ได้ตลอดเวลา (transient) และร้อยละ 60 อาจตรวจไม่พบปริมาณไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากไวรัสไม่ได้อยู่ในกระแสเลือดตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้นการตรวจเพียง 1 ครั้งอาจจะไม่เพียงพอในการวินิจฉัยในกลุ่มนี้. การตรวจปริมาณไวรัสตับอักเสบบีอาจจะช่วยในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับ อักเสบบีเรื้อรังในกลุ่มนี้.

การตรวจอื่นๆ ได้แก่ การตรวจชิ้นเนื้อตับ (liver biopsy) ก่อนการรักษา เพื่อประเมินความรุนแรงของพยาธิสภาพ และยืนยันสาเหตุการเพิ่มขึ้นของ ALT ว่าเป็นจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเนื่องจากระดับเอนไซม์ transaminase ที่ผิดปกติ หรืออาจเป็นจากสาเหตุอื่นเช่น ยาต้านเอชไอวีและยาอื่นๆ, hemo-chromatosis, alcohol-related steatosis, Wilson disease และ autoimmune hepatitis เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม มีข้อถกเถียงว่าการตรวจชิ้นเนื้อตับก่อนการรักษาต้องทำหรือไม่ เนื่องจากในปัจจุบันมียาที่มีประสิทธิภาพดีในการรักษาและผลข้างเคียงน้อย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีระดับ ALT ปกติควรทำการตรวจชิ้นเนื้อตับทุกรายก่อนตัดสินใจให้การรักษา.


ยาที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
มี ยาหลายชนิดที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งยาแต่ละชนิดมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน ยาบางชนิดมีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีอย่างเดียว   ยาบางชนิดมีฤทธิ์ต่อทั้งไวรัสตับอักเสบบีและเอชไอวี.
¾ Interferon alfa และ pegylated interferon alfa
Interferon alfa เป็นยาชนิดแรกที่ได้รับการรับรองให้ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง ขนาดที่ใช้คือ 5 mU ต่อวันหรือ 10 mU 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 4-6 เดือนในกรณีที่ HBeAg เป็นบวก หรือนาน 12 เดือน ในกรณีที่ HBeAg เป็นลบ. อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการรักษาในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวียังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด เนื่องจากยังมีข้อมูลน้อย.

จาก การศึกษาแบบ meta-analysis พบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยจะมีการตอบสนองต่อ interferon alfa ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีและมี HBeAg seroconversion น้อยกว่าร้อยละ 10. ผู้ป่วยที่มีปริมาณซีดีสี่มากกว่า 300 เซลล์/ลบ.มม. มี ALT สูง มี HBeAg เป็นบวก และมีปริมาณไวรัสตับอักเสบบีต่ำจะตอบสนองต่อการรักษาดีกว่า.ส่วนผู้ป่วยที่ มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี และ/หรือดีร่วมด้วยจะมีการตอบสนองต่อการรักษาจะด้อยกว่า.

Pegylated interferon alfa เป็นส่วนประกอบเชิงซ้อนของ interferon alfa และ polyethylene  glycol ได้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่ม bioavailability. การศึกษาการใช้ pegylated interferon alfa สำหรับการรักษาตับอักเสบบีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีมีไม่มาก การศึกษาในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีที่ไม่ได้ติดเชื้อเอ ชไอวีและมี HBeAg เป็นบวก พบว่าการใช้ pegylated interferon alfa เป็นเวลา 24 สัปดาห์ ให้ผลดีกว่า interferon alfa ทำให้ปริมาณไวรัสลดลงและเกิด HBeAg seroconversion มากกว่า.

¾ Lamivudine
Lamivudine (3TC) เป็น nucleoside  analogue reverse transcriptase inhibitor (NRTI) มีฤทธิ์ต่อทั้งไวรัสตับอักเสบบีและเอชไอวี ขนาดที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบบีคือ 100 มก./วัน ซึ่งมีขนาดต่ำกว่าที่ใช้รักษาการติดเชื้อเอชไอวีคือ 300 มก./วัน. ในกรณีที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีต้องให้ร่วม  กับยาต้านเอชไอวีอีก 2 ชนิด เนื่องจากเอชไอวีจะเกิดการดื้อ lamivudine เร็วมากถ้ารักษาด้วย lamivudine ชนิดเดียว ไม่ควรใช้ยานี้รักษาตับอักเสบบีในผู้ป่วย ติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่ได้รักษาเอชไอวี ดังนั้น ขนาด lamivudine ที่ใช้ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีจึงต้องเป็น 300 มก./วันเสมอ.
 Lamivudine ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วม ด้วยได้ร้อยละ 86.4 นอกจากนี้ไวรัสตับอักเสบบีเกิดการดื้อต่อ lamivudine ได้บ่อยและเร็ว โดยมีความชุกของการดื้อยาร้อยละ 50 และ 90 ที่ 2 และ 4 ปีหลังการรักษาตามลำดับ จึงมักจะมีการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ lamivudine เป็นส่วนประกอบในสูตรยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีในผู้ป่วยที่มีตับ อักเสบบีร่วมด้วย ถ้าไม่มี tenofovir ให้ใช้ เนื่องจากหลังการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีสักพักหนึ่ง จะเริ่มมีปัญหาไวรัสตับอักเสบบีที่ดื้อยา lamivudine. การดื้อยามีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการรักษา แต่ไม่ขึ้นกับปริมาณไวรัสตับอักเสบบี ระดับเอนไซม์ transaminase และปริมาณซีดีสี่.


¾  Adefovir dipovoxil (adefovir)
Adefovir เป็น nucleotide analogue reverse transcriptase inhibitor (NtRTI) และเป็นยาชนิดใหม่ที่ได้รับการรับรองสำหรับรักษาตับอักเสบบีเรื้อรัง ขนาดที่ใช้คือ 10 มก./วัน สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสตับอักเสบบีและทำให้ระดับ ALT กลับเป็นปกติร้อยละ 70 ในกรณีที่มี HBeAg เป็นลบ และทำให้เกิด HBeAg seroconversion ได้ร้อยละ 23. นอกจากนี้ adefovir ยังมีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีที่ดื้อต่อ lamivudine เกิดการดื้อยาระหว่างการรักษาต่ำเพียงร้อยละ 2 ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีที่รักษานานกว่า 124 สัปดาห์.

ขนาด ของ adefovir ที่ใช้รักษานี้เป็นขนาดต่ำ จึงไม่มีฤทธิ์ต่อเอชไอวี ดังนั้นในทางทฤษฎีไม่น่าจะทำให้ชักนำให้เกิดการดื้อยาของเอชไอวี แม้ว่ามีรายงานการชักนำให้เกิดการดื้อยาของเอชไอวีในผู้ป่วยที่ใช้ขนาดสูง และนานมากกว่า 1 ปี. อย่างไรก็ตาม adefovir ไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีเนื่องจากต้องใช้ขนาด ที่สูงคือ 60 หรือ 120 มก./วัน ซึ่งพบว่ามีพิษต่อไตสูง.


¾ Tenofovir disproxil fumarate (tenofovir)
 Tenofovir DF เป็น nucleotide analogue reverse transcriptase inhibitor (NtRTI) อีกตัวหนึ่งที่มีฤทธิ์ต่อทั้งไวรัสตับอักเสบบีและเอชไอวี รวมไปถึงมีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีที่ดื้อต่อ lamivudine ขนาดที่ใช้สำหรับไวรัสตับอักเสบบีและเอชไอวีคือ  300 มก./วัน สามารถลดปริมาณไวรัสตับอักเสบบีได้เฉลี่ย 4 log. ยา tenofovir มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีดีกว่า lamivudine และ emtricitabine เกิดการดื้อยาได้ยากกว่า ยานี้ยังไม่มีในประเทศไทย. ยาในประเทศที่มี tenofovir จะแนะนำให้ใช้ tenofovir คู่กับ lamivudine ทุกครั้งในการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร่วม ด้วย เพื่อลดปัญหาการเกิดไวรัสตับอักเสบบีดื้อยา.


ผลข้างเคียงของยา
ผล ข้างเคียงของ interferon alfa ที่พบบ่อยคือ อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (influenza-like symptoms) (ปวดศีรษะ ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร) กดการทำงานของไขกระดูก (ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ) ระบบประสาทและจิต (ซึมเศร้า หงุดหงิด นอนไม่หลับ) ระบบทางเดินอาหาร (คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย) และการอักเสบบริเวณที่ฉีดยา. ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่พบได้คือ ผมร่วงและความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดการรักษาประมาณร้อยละ 15 และต้องลดขนาดยาร้อยละ 20-25.

นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละของซีดีสี่จะลดลง แต่จำนวนจริง (absolute number) ไม่ลดลง และจะกลับมาเป็นปกติได้เมื่อหยุดการรักษา. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปริมาณนิวโตรฟิลต่ำ อาจให้ granulocyte colony-stimulating factor (GCSF) การได้รับ zidovudine ร่วมกับ interferon alfa จะทำให้มีผลข้างเคียงต่อระบบเลือดเพิ่มขึ้น ยายังมีผลต่อเด็กทารก (teratogenic effect) ด้วย.

ผลข้างเคียงของ lamivudine เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเสีย เป็นต้น แต่พบน้อยมาก.
Adefovir เป็นยาที่ขับทางไต และทำให้เกิดไตวายได้ ดังนั้นต้องมีการปรับขนาดยาในกรณีที่มี การทำงานของไตบกพร่อง ผลข้างเคียงอื่นๆ พบได้น้อยเช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นต้น.
Tenofovir มีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร แต่พบไม่บ่อย และผลข้างเคียงต่อไต ทำให้เกิด Fanconi syndrome ระดับฟอสเฟตและกรดยูริกในเลือดต่ำ มีโปรตีนในปัสสาวะ บางรายอาจเกิดไตวายเฉียบพลัน.

ทั้ง lamivudine, adefovir และ tenofovir DF อาจทำให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อตับที่รุนแรงในกรณีที่หยุดยาขณะที่ยังไม่สามารถ กำจัดเชื้อไวรัสได้หมด เนื่องจากมีการกำเริบของภาวะตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบบี.


การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วยควรได้รับการ รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีถ้ามีข้อบ่งชี้ เนื่องจากผลกระทบของเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิดที่มีต่อผู้ป่วยดังได้กล่าวไปแล้ว. จุดมุ่งหมายในการรักษาคือ ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสหรือกำจัดไวรัส เปลี่ยนจาก HBeAg เป็น anti-HBe ทำให้ HBsAg หายไปและเกิด anti-HBs ลดการอักเสบของตับ ทำให้ ALT เป็นปกติ ลดการดำเนินโรคเป็นพังผืด และทำให้พยาธิสภาพของตับดีขึ้นซึ่งการทำให้เกิด anti-HBs ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี.

เวลาที่ เหมาะสมที่จะเริ่มรักษาและจะใช้ยาชนิดใดยังมีข้อถกเถียงกัน ผู้ป่วยที่ควรได้รับการรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ มี HBsAg เป็นบวกมากกว่า 6 เดือน มีปริมาณไวรัสตับอักเสบบีมากกว่า 105  คอ ปปี้/มล. มี ALT สูงกว่าค่าปกติตั้งแต่ 2 เท่าขึ้นไป และมีการอักเสบหรือพังผืดจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ. ถ้ามี HBeAg เป็นลบ ควรมีปริมาณไวรัสตับอักเสบบีมากกว่า 10 4 คอปปี้/มล. ข้อพิจารณาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ผู้ป่วยรายนั้นต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีหรือไม่ ได้แก่ อยู่ในระยะมีอาการ (symptomatic stage) มีภาวะที่บ่งชี้ว่าเป็นเอดส์ (AIDS-defining illness) หรือมีปริมาณซีดีสี่น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. การรักษาแบ่งตามสถานการณ์ได้ดังต่อไปนี้

รักษาการติดเชื้อเอชไอวี ยังไม่รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ควร เลือกยาต้านเอชไอวีที่ไม่มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบี กล่าวคือ ไม่ใช้ lamivudine, emtricitabine และ tenofovir เพื่อเก็บยาเหล่านี้ไว้ใช้ในอนาคต ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ ควรใช้ tenofovir ร่วมกับ emtricitabine หรือ tenofovir ร่วมกับ lamivudine เพื่อลดปัญหาการเกิดไวรัสตับอักเสบบีดื้อยา.

รักษาทั้งการติดเชื้อเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบบี
ควร เลือกยาที่มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีอยู่  ในสูตรยาต้านเอชไอวีคือ lamivudine, emtricitabine หรือ tenofovir ควรใช้ tenofovir ร่วมกับ emtricitabine หรือ tenofovir ร่วมกับ lamivudine เพื่อลดปัญหาการเกิดไวรัสตับอักเสบบีดื้อยา และน่าจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ยาตัวเดียว.

รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ยังไม่ รักษาการติดเชื้อเอชไอวี 
 ควร เลือกยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่ไม่มีฤทธิ์ต่อเอชไอวี ได้แก่ interferon alfa (pegylated form) หรือ adefovir ถ้ามี HBeAg เป็นบวกควรเลือก interferon alfa ในกรณีที่มี HBeAg เป็นลบ ควรเลือก adefovir การใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อเอชไอวีในกรณีนี้ (เช่น lamivudine) จะทำให้เกิดปัญหาเอชไอวีดื้อยาซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยา  นี้และยาอื่นๆ ที่ดื้อข้ามกลุ่ม (cross resistance) ในการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีในอนาคต.

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังไม่มียา tenofovir และสูตรยาต้านเอชไอวีที่มีราคาถูกและใช้กันส่วนใหญ่คือ GPO-VIR ซึ่งมีตัวยา lamivudine, stavudine และ nevirapine ทำให้ต้องใช้ยา lamivudine โดยไม่มี tenofovir ร่วมด้วย ทั้งในกรณีที่รักษาการติดเชื้อเอชไอวี ยังไม่รักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และกรณีที่รักษาทั้งการติดเชื้อเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบบี จึงคาดว่าเราน่าจะมีผู้ป่วยที่มีไวรัสตับอักเสบบีที่ดื้อยา lamivudine จำนวนมากในอนาคต. ในทางเวชปฏิบัติจึงควรที่จะติดตามระดับเอนไซม์  transaminase เป็นระยะๆ ในระหว่างที่ติดตามผลการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี และถ้าพบว่าเอนไซม์ transaminase สูงผิดปกติหลังจากการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีมานานเป็นปี ให้สงสัยว่าอาจจะมีการกำเริบ ของตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบบีที่ดื้อยา lamivudine.

ปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาใน การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง   อาจหยุดการรักษาหลังจากมีการตอบสนองแล้ว 6  เดือน (เช่น anti-HBe seroconversion) หรืออาจจะให้ไปตลอด เนื่องจากการหยุดยาที่มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี จะทำให้เกิดการกำเริบของภาวะตับอักเสบได้ เพราะโอกาสที่จะกำจัดเชื้อได้หมดมีน้อย. ผู้ป่วยที่ได้ยาต้านเอชไอวีที่มี lamivudine อยู่ในสูตรยา เมื่อวัดปริมาณไวรัสตับอักเสบบีได้ แสดงว่าไวรัสตับอักเสบบีมีการดื้อต่อ lamivudine ในกรณีที่ควบคุมปริมาณเอชไอวีได้ อาจจะเปลี่ยนหรือเพิ่ม tenofovir เข้าไปในสูตรยาต้านเอชไอวีหรืออาจเพิ่ม adefovir ไม่ควรเลือก emtricitabine เนื่องจากมีการดื้อยาข้ามชนิด (cross-resistance) ระหว่าง lamivudine และ emtricitabine.


การรักษาโรคตับระยะสุดท้ายและการเปลี่ยนตับ
ผู้ ป่วยที่เกิดโรคตับระยะสุดท้ายจากไวรัสตับอักเสบบี จะมีอาการแสดงของตับแข็งในระยะ decompensated เช่น น้ำในท้อง (ascites) เหลือง เลือดออกในทางเดินอาหาร spontaneous peritonitis และ  encephalopathy และมักจะเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและเป็นรุนแรง จึงมีคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งตับโดยการทำคลื่นเสียงสะท้อน (ultrasonography) และ alphafetoprotein ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและมีโรคตับแข็ง ทุกรายทุก 6 เดือน.

การรักษาโรคตับระยะสุดท้ายมีวิธีเดียวคือ การเปลี่ยนตับ ในปัจจุบันการติดเชื้อเอชไอวีไม่เป็นข้อห้ามในการเปลี่ยนอวัยวะ เนื่องจากมียาต้านเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหลังการเปลี่ยนตับต่ำ ถ้าสามารถควบคุมปริมาณเอชไอวีได้. ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการเปลี่ยนตับมีอัตราการรอดชีวิตในช่วงแรก ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีแต่ยังไม่มีข้อกำหนดชัดเจนว่า ผู้ป่วยรายใดที่ควรได้รับการเปลี่ยนตับ ตัวอย่างเช่น ไม่ควรมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสมาก่อน มีปริมาณซีดีสี่มากกว่า 100-200 เซลล์/ลบ.มม. ได้ยาต้านเอชไอวี และวัดระดับเอชไอวีไม่ได้ (undetectable HIV RNA).

ปัญหาหลักหลังการเปลี่ยนตับคือ การมีปฏิกิริยาระหว่างยา (drug-drug interaction) โดยเฉพาะระหว่างยาต้านเอชไอวีกลุ่ม protease inhibitor (PI) และ non-nucleoside reverse transcriptase inhi-bitor (NNRTI) กับ tacrolimus หรือ cyclosporins เนื่องจากยาเหล่านี้เมตาบอลิซึมทาง cytochrome P450 โดย PI ทำให้ระดับของ cyclosporin และ tacrolimus เพิ่มขึ้น ส่วน NNRTI ทำให้ระดับของ  cyclosporin และ tacrolimus ลดลง.

ปัญหาการกลับเป็นซ้ำของไวรัสตับ อักเสบบีหลังการเปลี่ยนตับพบได้น้อยเมื่อเทียบกับไวรัสตับอักเสบซี เนื่องจากมีการให้ยาที่มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีและ immunoglobulin.


ยาใหม่ที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ยา ใหม่ที่มีการพัฒนาสำหรับรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นยาที่มีฤทธิ์ต่อเอชไอวีด้วย ได้แก่ emtricitabine และ DAPD (amdoxovir) กลุ่มที่ 2 เป็นยาที่มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีอย่างเดียว ได้แก่ entecavir, telbivudine, clevudine และ L-FdeC ยาในกลุ่มนี้ทั้งหมดยกเว้น telbivudine มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีที่ดื้อยา ส่วนใหญ่กำลังอยู่ในการศึกษาระยะที่ 2 หรือ 3.

Emtricitabine เป็น NRTI ที่ได้รับการรับรองในการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี ขนาดที่ใช้คือ 200 มก./วัน ยานี้มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีด้วย แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีที่ดื้อยา. นอกจากนี้ยังพบการดื้อยา emtricitabine ร้อยละ 19 หลังการรักษาเป็นเวลา 2 ปี ขณะนี้กำลังอยู่ในการศึกษาระยะที่ 3 ยานี้ยังไม่มีในประเทศไทย เช่นเดียวกับ lamivudine ไม่ควรใช้ยานี้รักษาตับอักเสบบีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่รักษาเอชไอวี ส่วน DAPD (amdoxovir) มีฤทธิ์ต่อไวรัสตับอักเสบบีที่ดื้อยากำลังทำการศึกษาในระยะที่ 2.


วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ ป่วยติดเชื้อเอชไอวีควรเจาะเลือดตรวจว่าเคยมีการติดเชื้อ และ/หรือมีแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบเอและไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ ในกรณีที่ยังไม่มีแอนติบอดีและยังไม่เคยมีการติดเชื้อ ควรให้ทั้งวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอและบี แต่ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีภูมิต้านทานต่ำมากจะมีการตอบสนองต่ำหรือมี แอนติบอดีขึ้นในระดับต่ำๆ หลังจากฉีดวัคซีน ทำให้อาจต้องเพิ่มขนาดหรือเพิ่มจำนวนครั้งของวัคซีน. จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีปริมาณซีดีสี่มากกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม. จะมีอัตราการขึ้นของแอนติบอดีร้อยละ 87 เมื่อเทียบกับร้อยละ 33 ในผู้ป่วยที่มีปริมาณซีดีสี่ 200-500 เซลล์/ลบ.มม. นอกจากนี้แอนติบอดีที่เกิดขึ้นอาจจะลดลง ตามเวลา ทำให้กลับมามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเฉียบพลันได้. การศึกษาถึงปัจจัยด้านไวรัสวิทยาพบว่าการให้วัคซีนเมื่อผู้ป่วยมีปริมาณ เอชไอวีที่วัดไม่ได้ (จากการกินยาต้านเอชไอวี) จะทำให้มีการตอบสนองต่อวัคซีนดีขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าในรายที่ตอบสนองต่อวัคซีน ปริมาณไวรัสขณะให้วัคซีนจะสัมพันธ์กับระดับแอนติบอดีที่เกิดขึ้น กล่าวคือ ปริมาณไวรัสขณะให้วัคซีนที่สูงกว่าจะมีระดับแอนติบอดีที่ต่ำกว่า.

คำ แนะนำในการให้วัคซีนคือ ผู้ป่วยที่มีปริมาณซีดีสี่มากกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม. ให้ขนาดปกติ (20 มคก.) ที่ 0, 1, 6-12 เดือน สำหรับผู้ป่วยที่มีซีดีสี่ 200-500 เซลล์/ลบ.มม. อาจให้แบบสูตรเร่งรัดคือ 0, 1, 2, 12 เดือน ถ้า 12 สัปดาห์หลังเข็มสุดท้ายแอนติบอดียังไม่ขึ้น ควรให้วัคซีนขนาดปกติกระตุ้น (boosted)อีก 1 ครั้งหรือให้วัคซีนขนาด 40 มคก. อีก 1 ชุด (4 ครั้ง) ตามสูตรเร่งรัด ระดับของแอนติบอดีที่ต้องการคือ anti-HBs มากกว่า 10 mIU/มล. ในผู้ป่วยที่มีปริมาณซีดีสี่น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. ควรให้ยาต้านเอชไอวีก่อนจนซีดีสี่มากกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. และมีปริมาณเอชไอวีที่วัดไม่ได้ จึงพิจารณาให้วัคซีน ควรมีการตรวจ anti-HBs ทุกปีและให้วัคซีนกระตุ้นเมื่อ anti-HBs น้อยกว่า 10 mIU/มล.

โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส โดยการใช้ยาต้านไวรัสอย่างน้อย 3 ชนิดร่วมกันที่เรียกว่า highly active antiretroviral therapy (HAART) นำไปสู่การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีในระดับที่ควบคุมจนไม่สามารถตรวจพบไวรัส ในกระแสเลือด (undetectable level) ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีภูมิต้านทานดีขึ้นหรือจำนวน CD4 สูงขึ้น อุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสลดลง อัตราตายลดลง และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น. อย่างไรก็ตามเนื่องจากการมีชีวิตยืนยาวขึ้นของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จึงมีการพบอุบัติการณ์ของภาวะอื่นๆ เพิ่มขึ้นเช่น โรคมะเร็ง กลุ่มอาการที่แสดงความผิดปกติของเมตาบอลิซึม (metabolic syndrome) รวมไปถึงโรคหลอดเลือดหัวใจและความผิดปกติของกระดูก เป็นต้น ในบทความนี้จะทบทวนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี /เอดส์ที่เป็นผู้ใหญ่

โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ โรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (AIDS-related malignancies) ซึ่งได้แก่ Kaposi's sarcoma มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins (Non-Hodgkin's lymphoma; NHL) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาทส่วนกลางชนิดปฐมภูมิ (primary central nervous system lymphoma) และมะเร็งปากมดลูก และกลุ่มที่ 2 คือ โรคมะเร็งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (Non-AIDS-related malignancies) ซึ่งหมายถึง โรคมะเร็งอื่นๆ (ตารางที่ 1) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งทั้ง 2 กลุ่ม ชนิด อาการและอาการแสดง (spectrum) ของโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลาเนื่องจากมีการใช้ยาต้านไวรัส ดังนั้น การดำเนินโรคและการรักษาโรคมะเร็งโดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภาวะ เอดส์ จึงต้องมีการคำนึงถึงบทบาทของยาต้านไวรัสด้วย


มีการพบ Kaposi's sarcoma (KS) ตั้งแต่ในช่วงแรกที่มีการรายงานการระบาดของโรคเอดส์เมื่อปี พ.ศ. 2524 และถือว่าเป็นโรคที่บ่งชี้ของการเป็นเอดส์ (AIDS-defining illness) อย่างหนึ่งในเกณฑ์การวินิจฉัยเอดส์ของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention; CDC) ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 มีการรายงานการใช้ยาเพื่อป้องกัน Pneumocystis jiroveci pneumonia (PCP) ทำให้พบโรคติดเชื้อฉวยโอกาสนี้ลดลง และพบว่าโรคฉวยโอกาสที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเอดส์ ช่วงนั้นคือ โรคมะเร็ง ซึ่งพบสูงถึงร้อยละ 40 จึงได้มีการเพิ่มมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's และมะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลาม (invasive cervical carcinoma) เป็นภาวะที่บ่งชี้ว่าเป็นเอดส์ด้วยตามนิยามของ CDC.

หลังจากที่มี การใช้ยาต้านไวรัสชนิด HAART เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 อุบัติการณ์ของการเกิดโรคฉวยโอกาสและ Kaposi's sarcoma ลดลงอย่างมาก แต่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's และโรคมะเร็งอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ไม่ลดลง ในทางตรงข้าม โรคมะเร็งบางชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์เพิ่มขึ้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนังและมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) เป็นต้น และยังพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเอดส์ (ร้อยละ 28) ในยุคของการที่มียาต้านไวรัสชนิด HAART แสดงดังตารางที่ 1

ใน ประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศยากจนไม่มีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสชนิด HAART อย่างแพร่หลาย ดังนั้นข้อมูลของโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีจึงอาจจะมีความแตกต่างจาก ประเทศที่พัฒนาแล้ว จากการศึกษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีความชุกของโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี เท่ากับร้อยละ 3 (42 รายจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด 1,416 ราย) ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2546 ซึ่งต่ำกว่าความชุกของประเทศตะวันตก ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ยเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งประมาณ 50 ปี ค่ากลาง (median) ของจำนวน CD4 เท่ากับ 235 (8-739) เซลล์/ลบ.มม. ผู้ป่วยร้อยละ 40 ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสขณะที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดคือ มะเร็งต่อม น้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ และมะเร็งเต้านมในกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ ผู้ป่วยร้อยละ 26 เสียชีวิต ชนิดของมะเร็งที่พบในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทยแสดงดังตารางที่ 2



โรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (AIDS-related malignancies)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's และ Kaposi's sarcoma เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้ติด เชื้อเอชไอวีKaposi's sarcoma
Kaposi's sarcoma เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) ที่มีความรุนแรงต่ำ (low-grade) มีต้นกำเนิดมาจากหลอดเลือด (vascular) และมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ human herpes virus 8 โดยผู้ที่มีภูมิต้านทานที่แสดงว่าเคยมีการติดเชื้อ human herpes virus 8 มาก่อน จะมีโอกาสการเกิด Kaposi's sarcoma ร้อยละ 50 ในระยะเวลา 10 ปี มะเร็งชนิดนี้มักพบในเพศชาย โดยในช่วงแรกของระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี พบ Kaposi's sarcoma สูงถึง ร้อยละ 20-30 ในกลุ่มชายรักร่วมเพศ

อาการ แสดงและการดำเนินโรคในผู้ติดเชื้อ เอชไอวีแต่ละรายมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ อาจจะไม่มีอาการ (asymptomatic) หรืออาการรุนแรงจนทำให้ภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ โดยปกติแล้วมักจะพบพยาธิสภาพที่ผิวหนัง แต่อาจจะพบที่บริเวณอื่นได้คือ ช่องปาก ปอดและระบบทางเดินอาหาร การพยากรณ์โรคขึ้นกับการกระจายของมะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกัน (จำนวน CD4) และความรุนแรงของอาการตามระบบ กล่าวคือ ถ้าผู้ป่วยมีพยาธิสภาพที่ผิวหนังอย่างเดียว มีจำนวน CD4 มากกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. และไม่มีอาการแสดงของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น ถือได้ว่ามีการพยากรณ์โรคดี

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ทำให้ Kaposi's sarcoma หายขาด จุดมุ่งหมายของการรักษาคือ การรักษาประคับประคอง (palliative) การลดขนาดและยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง ยาต้านไวรัสชนิด HAART เป็นการรักษาแรกที่แนะนำในผู้ป่วยทุกราย เพราะสามารถทำให้ Kaposi's sarcoma ดีขึ้น ถ้าหลังจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัสแล้ว 3-6 เดือน Kaposi's sarcoma เป็นมากขึ้นจึงพิจารณาการรักษาที่จำเพาะอื่น

การรักษาเฉพาะ ที่ได้แก่ การให้เคมีบำบัดที่ตำแหน่งที่มีพยาธิสภาพ การฉายแสง เลเซอร์ การใช้ความเย็น (cryotherapy) และการทาด้วย 9-cis- retinoic acid การรักษาด้วย liposomal anthracyclines ถือเป็นยาแรก (first-line agent) ที่แนะนำ ส่วน paclitaxel แนะนำให้เป็นยาสูตรที่ 2 (second-line)

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins
โดย ทั่วไปแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด Non-Hodgkins 60-200 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins ที่เป็นตามระบบ (Systemic Non-Hodgkins lymphoma) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาทส่วนกลางชนิดปฐมภูมิ

อุบัติ การณ์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins ที่เป็นตามระบบเพิ่มขึ้นผกผันกับระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ร้อยละ 70-90 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins เป็น intermediate หรือ high-grade และเกือบทั้ง หมดเป็น diffuse large B cell (immunoblastic variant) หรือ Burkitt's-like lymphoma ผู้ติดเชื้อ เอชไอวีมักจะมาด้วยอาการของ B (systemic B symptoms) ซึ่งได้แก่ไข้ น้ำหนักลด เหงื่อออกตอนกลางคืน ประมาณ 2 ใน 3 จะมีพยาธิสภาพที่นอกต่อมน้ำเหลืองเช่น ระบบทางเดินอาหาร ไขกระดูก ตับและปอด ผู้ป่วยร้อยละ 3-20 จะมี lymphomatous meningitis ร่วมด้วยและอาจจะไม่มีอาการ ดังนั้นจึงแนะนำให้เจาะหลังผู้ป่วยกลุ่มนี้ทุกราย อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างยุคก่อนและ หลังการใช้ยาต้านไวรัสชนิด HAART

การตัดชิ้นเนื้อ (tissue biopsy) เพื่อตรวจทางพยาธิวิทยามีความจำเป็นในการวินิจฉัย แต่ในบางกรณีอาจจะวินิจฉัยได้จาก fine needle aspiration และการส่งตรวจทางเซลล์วิทยา (cytology) หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการยืนยันการวินิจฉัยแล้ว จะต้องมีการประเมินการกระจายของโรคและระยะ (staging) โดยการเจาะหลังเพื่อส่งน้ำไขสันหลังตรวจทางเซลล์วิทยา การเจาะไขกระดูก และการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ของช่องอก ช่องท้อง/อุ้งเชิงกราน และสมอง

การ รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins ที่เป็นตามระบบในผู้ติดเชื้อเอชไอวียังไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคมะเร็งนี้ควรให้ร่วมกับยาต้านไวรัสและยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวย โอกาสอื่นๆ

ผู้ป่วยจะมีการพยากรณ์โรคโดยรวมต่ำทั้งๆ ที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดในช่วงแรกดี ผู้ป่วยร้อยละ 50 มีการรอดชีวิต (median survival) น้อยกว่า 1 ปี และมักจะเสียชีวิตจากตัวโรคมะเร็งเองที่ลุกลามมากขึ้น (progression) หรือการกลับเป็นใหม่ (recurrence) หรือจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

มะเร็ง ต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาทส่วนกลางชนิดปฐมภูมินั้นพบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้บ่อยกว่าประชากรทั่วไป (ประมาณร้อยละ 15 เทียบกับร้อยละ 1) การพบอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ติดเชื้อ เอชไอวีมีชีวิตยืนยาวขึ้น. ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นมะเร็ง ชนิดนี้จะมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่เป็นตามระบบ ลักษณะเซลล์มักเป็นชนิด large cell หรือ large cell immunoblastic types ที่มีต้นกำเนิดจาก B-cell

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาท ส่วนกลางชนิดปฐมภูมิคือ การฉายแสงร่วมกับการให้สเตียรอยด์ ผู้ป่วยมีการพยากรณ์โรคไม่ดี ร้อยละ 50 มีการรอดชีวิต 2-3 เดือนถ้าไม่ได้รักษาและ 6-8 เดือน ถ้าได้รับการรักษา เหตุผลเนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากในกลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันหรือจำนวน CD4 ที่ต่ำมาก

มะเร็งปากมดลูก
มีการ รายงานมะเร็งปากมดลูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศหญิงมากกว่าที่คาดไว้ ในช่วงแรกผู้ป่วยทั้งหมดเสียชีวิตที่ค่าเฉลี่ย 10 เดือน ด้วยเหตุผลนี้จึงเพิ่ม cervical dysplasia ชนิดรุนแรงปานกลาง (moderate) และรุนแรงมาก (severe) เป็นภาวะที่บ่งชี้ว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีอาการ (category B) และมะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลามเป็นภาวะที่บ่งชี้ว่าเป็นเอดส์ (category C)

ปัจจุบันเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างการติดเชื้อ human papilloma virus และมะเร็งหลายชนิดของระบบสืบพันธุ์ซึ่งรวมไปถึง ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องคลอด อวัยวะเพศชาย และผิวหนังรอบๆ ทวารหนัก ดังนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศหญิงทุกรายควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีและตรวจซ้ำอย่างน้อย ปีละครั้ง

การรักษามะเร็งปากมดลูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีของหลายสถาบัน เหมือนกับในผู้ที่ไม่ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักจะมีอาการแสดงที่รุนแรง ตอบสนองต่อการรักษาด้อยกว่าและมีอัตราการรอดชีวิตน้อยกว่า

โรคมะเร็งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (Non-AIDS-related malignancies)
โรค Hodgkin's
ผู้ ป่วยเอดส์มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้มากกว่าประชากรทั่วไป 3-16 เท่า และมักพบใน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดมากกว่าที่เป็นชายรักร่วมเพศ พยาธิวิทยาที่พบในโรค Hodgkin's มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ เอชไอวีในประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่เป็น mixed cellularity subtype เมื่อเทียบกับ nodular sclerosis ที่พบในผู้ที่ไม่ติดเชื้อ การมีเซลล์ fibrohistiocytic stromal ในเนื้อเยื่อเ ป็นลักษณะเฉพาะที่พบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี.
อาการแสดงทาง คลินิกและการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความแตกต่างจากผู้ที่ ไม่ติดเชื้อ กล่าวคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักจะมาด้วยอาการของ B และร้อยละ 75-90 จะมีการกระจายของโรคนอกจากที่ต่อมน้ำเหลือง และพบพยาธิสภาพที่ไขกระดูกร้อยละ 40-50

ในช่วงยุคก่อนที่จะมียาต้าน ไวรัสชนิด HAART การใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกันที่ใช้รักษาในผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็น มะเร็งชนิดนี้หายได้มากน้อยแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาของการมีชีวิตสั้น (ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเสียชีวิตที่ 12-18 เดือน) สาเหตุการเสียชีวิตคือ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นในระหว่างที่มีเม็ดเลือด ขาวต่ำจากยาเคมีบำบัด

มะเร็งของอวัยวะสืบพันธ์และก้น (anogenital malignancy)
มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นของทั้ง squamous intraepithelial lesions และมะเร็งทวารหนักในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นชายรักร่วมเพศ

มะเร็งปอด
ผู้ ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าประชากรทั่วไปประมาณ 4-14 เท่า พบชนิด adenocarcinoma บ่อยที่สุด และอุบัติการณ์ของมะเร็งหลอดลม (bronchogenic carcinoma) อาจจะเพิ่มขึ้นด้วย มะเร็งปอดนี้พบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกกลุ่มแม้ว่าจะพบมากที่สุดในกลุ่ม ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด พยาธิกำเนิดที่แท้จริงยังไม่ทราบอาจจะอธิบายได้จากการที่ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้มีภูมิต้าน ทานต่ำลงและเกิดการกระตุ้นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดมะเร็ง อย่างไรก็ตาม มะเร็งปอดนี้สามารถพบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีจำนวน CD4 สูงด้วย

ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือ การสูบบุหรี่ อาการและอาการแสดงเหมือน กับผู้ป่วยกลุ่มอื่น แต่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นมักจะมีอาการของโรคมะเร็งรุนแรงแล้ว เมื่อได้รับการวินิจฉัย การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดนั้นพิจารณาเป็นกรณีเนื่องจากมีการรอดชีวิตต่ำ

มะเร็งเต้านม
มี 2 ประเด็นสำคัญของมะเร็งเต้านมคือ ปัญหาทางเศรษฐฐานะและสังคมทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศหญิงไม่ได้รับการคัด กรองโรคด้วย mammography ที่เพียงพอ ภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นการเจริญของมะเร็งเต้านม
มะเร็งผิวหนัง
พบ อุบัติการณ์ของมะเร็งผิวหนังชนิด basal cell carcinoma เพิ่มมากขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส่วนมะเร็งผิวหนังอื่นที่อาจจะพบได้คือ squamous cell carcinoma และ melanoma ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งผิวหนัง 2 ชนิดหลังนี้ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเหมือนกับในผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
มะเร็งที่ศีรษะและคอ
ผู้ ติดเชื้อเอชไอวีเพศชายส่วนใหญ่ที่เป็น squamous cell carcinoma บริเวณศีรษะและคอมักจะเป็นชายรักร่วมเพศ อุบัติการณ์อาจจะเพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ติด เชื้อและมักจะแสดงอาการที่อายุน้อยกว่า การรักษานั้นมักจะพบภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและผลการรักษาไม่ดีเมื่อเทียบกับ ผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
มะเร็งอัณฑะ (testicular neoplasms)
อุบัติ การณ์ของมะเร็งอัณฑะชนิด germ cell และ seminomas เพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ การรักษาโดยทั่วไปเหมือนผู้ที่ไม่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อการรักษาดีและสามารถหายขาด (cure) แม้ว่าอัตราการรอดชีวิตในระยะยาวขึ้นกับการติดเชื้อเอชไอวีเอง จากการรายงานผู้ป่วย 26 ราย มีชีวิตรอดที่ 3 ปีเท่ากับร้อยละ 65 และมีอัตราการรอดชีวิตที่ปลอดจากโรค (disease free survival) ร้อยละ 65 เช่นกัน
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (colorectal cancer)
มะเร็ง ลำไส้ใหญ่และทวารหนักอาจจะเพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าและรุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับประชากร ทั่วไป พบว่ามีขนาดของพยาธิสภาพใหญ่และรุนแรงกว่า
Multiple myeloma
พบ ความผิดปกติของ plasma cell โดยเฉพาะ paraproteinemia เพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 33 ปี ซึ่งน้อยกว่าประชากรทั่วไป ภาวะ paraproteinemia อาจพบเพียงชั่วคราวหรือถาวรแต่การพบภาวะนี้อย่างถาวรไม่ได้มีความสัมพันธ์ กับการเกิดความผิดปกติของ plasma cell หรือมะเร็งของ B-cell นอกจากนี้ยังมีรายงานภาวะอื่นเช่น reactive plasmacytosis, gammopathies

สรุป
โรค มะเร็งสามารถพบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องและไม่ เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ ชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในต่างประเทศคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins และ Kaposi's sarcoma ส่วนที่พบบ่อยในผู้ป่วยไทยคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins และมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตามความชุกของโรคมะเร็ง ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทยต่ำ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยและแพทย์ผู้ดูแลรักษาไม่นึกถึงหรือ ไม่ให้ความสนใจ การรักษาทั้งการติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสชนิด HAART และ/หรือการรักษาโรคมะเร็ง รวมไปถึงพิจารณาการคัดกรองโรคมะเร็งบางชนิดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง อาจจะป้องกันการเกิดมะเร็ง ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพ ชีวิตดีขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. Palella FJJ, Delaney KM, Moorman AC, et al. Declining morbidity and mortality among patients with advanced human immunodefi- ciency virus infection. HIV Outpatient Study Investigators. N Engl J Med 1998;338:853-60.
2. Centers for Disease Control and Prevention. 1993 Revised classification system for HIV infection and expanded surveillance case definition for AIDS among adolescents and adults. JAMA 1993;269:729-30.
3. Friedman-Kien AE, Laubenstein LJ, Rubinstein P, et al. Disseminated Kaposižs sarcoma in homosexual men. Ann Intern Med 1982;96:693-700.
4. Peters BS, Beck EJ, Coleman DG, et al. Changing disease patterns in patients with AIDS in a referral centre in the United Kingdom: the changing face of AIDS. BMJ 1991;302:203-7.
5. Ledergerber B, Telenti A, Egger M. Risk of HIV related Kaposižs sarcoma and non-Hodgkinžs lymphoma with potent antiretroviral therapy : prospective cohort study. Swiss HIV Cohort Study. BMJ 1999;319:23-4.
6. Ledergerber B, Egger M, Erard V, et al. AIDS-related opportunistic illnesses occurring after initiation of potent antiretroviral therapy: the Swiss HIV Cohort Study. JAMA 1999;282:2220-6.
7. Clifford GM, Polesel J, Rickenbach M, et al. Cancer risk in the Swiss HIV Cohort Study : associations with immunodeficiency, smoking, and highly active antiretroviral therapy. J Natl Cancer Inst 2005;97:425-32.
8. Besson C, Goubar A, Gabarre J, et al. Changes in AIDS-related lymphoma since the era of highly active antiretroviral therapy. Blood 2001;98:2339-44.
9. Chiao EY, Krown SE. Update on non-acquired immunodeficiency syndrome-defining malignancies. Curr Opin Oncol 2003;15:389-97.
10. Bonnet F, Lewden C, May T, et al. Malignancy-related causes of death in human immuno- deficiency virus-infected patients in the era of highly active antiretroviral therapy. Cancer 2004;101:317-24.
11. Kiertiburanakul S, Likhitpongwit S, Ratanasiri S, Sungkanuparph S. Malignancies in HIV- infected Thai patients. HIV Med 2007;8:322-3.
12. Clarke CA, Glaser SL. Population-based surveillance of HIV-associated cancers: utility of cancer registry data. J Acquir Immune Defic Syndr 2004;36:1083-91.
13. Martin JN, Ganem DE, Osmond DH, et al. Sexual transmission and the natural history of human herpesvirus 8 infection. N Engl J Med 1998;338:948-54.
14. Krown SE, Metroka C, Wernz JC. Kaposižs sarcoma in the acquired immune deficiency syndrome: a proposal for uniform evaluation, response, and staging criteria. AIDS Clinical Trials Group Oncology Committee. J Clin Oncol 1989;7:1201-7.
15. Hermans P. Kaposižs sarcoma in HIV-Infected patients : treatment options. HIV Med 2000;1:137-42.
16. Bower M, Palmieri C, Dhillon T. AIDS-related malignancies : changing epidemiology and the impact of highly active antiretroviral therapy. Curr Opin Infect Dis 2006;19:14-9.
17. Maiman M, Fruchter RG, Serur E, et al. Human immunodeficiency virus infection and cervical neoplasia. Gynecol Oncol 1990;38:377-82.
18. Grulich AE, Wan X, Law MG, Coates M, Kaldor JM. Risk of cancer in people with AIDS. AIDS 1999;13:839-43.
19. Pantanowitz L, Schlecht HP, Dezube BJ. The growing problem of non-AIDS-defining malignancies in HIV. Curr Opin Oncol 2006;18:469-78.

ศศิโสภณ เกียรติบูรณากุล พ.บ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หน่วยโรคติดเชื้อระบาดวิทยาและเวชศาสตร์ชุมชน
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา : http://www.doctor.or.th/node/6814

บล็อกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • การแพ้ยามีอาการอย่างไร - เรื่อง “การแพ้ยา” เป็นอีกคำถามหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะการแพ้ยาเป็นอันตราย อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา จึงได้รับความสนใจและเป็นคำถามประจำ ที่ผู้สั่งจ่ายยา...
    11 ปีที่ผ่านมา