หลาย คนคงได้เห็นภาพยนตร์โฆษณาเรื่อง "ชัยชนะ" ของโครงการ "เอดส์ รู้เร็ว รักษาได้" กันบ้างแล้ว หรือถ้าใครยังไม่ผ่านตา ลองคลิ๊กเข้าไปที่ http://www.aidsaccess.com ของมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ก็จะได้ชมโฆษณาเรื่องนี้กันเต็มอิ่มทีเดียว
แต่ หากใครยังไม่ได้ชม ผู้เขียนจะขอเล่าเรื่องราวโดยย่อว่าเป็นเรื่องของผู้ติดเชื้อเอชไอวีคนหนึ่ง ที่วิ่งแข่งมาตลอด ย่อตั้งแต่เด็กจนโต และไม่เคนเข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่งเลยสักครั้ง ถึงแม้จะไม่ชนะในสนามแข่งวิ่ง แต่ในสนามชีวิตแล้ว เขาชนะมาโดยตลอด ที่ว่าชนะคือ การชนะเอชไอวีที่ติดตัวเขามาตั้งแต่เกิด
ซึ่งชนะได้ ด้วยการรักษา
หลายคนบอกว่า ติดเชื้อเอชไอวี เป็นเอดส์ เนี่ยนะหรือจะรักษาได้ เคยได้ยินแต่เอดส์เป็นแล้วตายมากกว่า
นี่แหละ...ใช่เลย วัตถุประสงค์ของโครงการฯ ที่ต้องการสื่อสารเรื่องเอดส์ในมุมใหม่ให้สังคมเข้าใจความแตกต่างระหว่าง เอชไอวีกับเอดส์
เอ ชไอวี คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้ว จะค่อยๆทำลายภูมิคุ้มกัน หรือเม็ดเลือดขาวชนิด CD 4 ซึ่งเราเรียกผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าไปในร่างกายแต่ยังไม่แสดงอาการ เจ็บป่วยว่า “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี”
ส่วนเอดส์ คือ ภาวะภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องอันเนื่องมาจากเอชไอวี จนร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วย (เพราะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เหลือน้อย จนกดเชื้อโรคติดเชื้อฉวยโอกาสไม่ได้) ซึ่งเราเรียกผู้ที่อยู่ในภาวะนี้ว่า “ผู้ป่วยเอดส์”
อย่างไรก็ตาม เอชไอวีสามารถควบคุมได้ด้วยยาต้านไวรัส ที่จะเข้าไปกดหรือทำลายวงจรการแบ่งตัวของเอชไอวี ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเอชไอวีในร่างกายลงได้ ส่วนภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหรือที่เราเรียกว่า “ป่วยเอดส์” เช่น วัณโรคปอด เชื้อราเยื้อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบพีซีพี ฯลฯ ก็สามารถรักษาให้หายได้ทุกโรค บางโรคกินยาป้องกันได้
นี่คือข้อเท็จจริงของ เอชไอวีควบคุมได้ เอดส์รักษาได้
เป็น ข้อเท็จจริงที่โครงการฯ ต้องการสื่อสารให้สังคมเข้าใจ และเห็นความแตกต่างของคำ ๒ คำนี้ เพราะถ้าเข้าใจก็จะส่งผลทั้งเรื่องป้องกันและเรื่องการเข้าถึงการรักษา
ถ้า เราเข้าใจว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็คือคนทั่วๆ ไป ที่ยังแข็งแรง สวยหล่อ สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของเรา และอาจเป็นคนที่เรามีเซ็กส์ด้วย เราก็จะประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของตัวเองออก และนึกถึงเรื่องป้องกันได้
สำหรับผู้ที่ประเมินแล้วคิดว่าตัวเองมี โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีก็จะเข้าใจว่า เอชไอวีที่อยู่ในร่างกายนั้นควบคุมได้ด้วยยาต้านไวรัส และหากวันหนึ่งร่างกายเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสขึ้นมาก็มีวิธีรักษา ทำให้ร่างกายหายป่วย และกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงได้
สำคัญที่ต้อง ประเมินความเสี่ยงของตัวเองให้ได้ จากนั้นหากตัดสินใจเข้าสู่ระบบบริการรักษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ ก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกหน่วยบริการทั้ง โรงพยาบาล สถานีอนามัย ศูนย์สาธารณสุข ไม่ว่าเราจะใช้สิทธิบัตรทอง บัตรประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ ก็ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือหากยังไม่พร้อมก็มีบริการโทรปรึกษาที่ 02-372 2222 ตั้งแต่ 10.00-20.00 น. ทุกวัน
ระบบบริการทุกอย่างพร้อมแล้ว...คุณล่ะ พร้อมหรือยังที่จะทำความเข้าใจเรื่องเอดส์ในมุมใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น