31 สิงหาคม 2552

เอดส์รักษาได้.. จากรายการบางอ้อ ตอนที่ 1

ชีวิตของผู้ป่วยเอชไอวี อย่างพี่สั้น กับพี่สันต์ สองสามีภรรยา ที่ติดเชื้อเอชไอวี และต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต พบกับชีวิตพวกพี่ทั้งสองได้ใน รายการบางอ้อ ตอน เอดส์รักษาได้ ช่วงที่ 1 ครับ

30 สิงหาคม 2552

สู้เอดส์ด้วยภูมิปัญญาตะวันออก

ยาต้านไวรัสดูเหมือน จะเป็นคำตอบเดียวของการประชุมเอดส์ครั้งนี้ เพราะเป็นรูปธรรมในการรักษามากที่สุดของผู้ติดเชื้อเอดส์ทั่วโลก แต่ปัญหาที่ตามมาคือมีผู้ป่วยเอดส์อีกจำนวนไม่น้อย ที่ไม่สามารถรับยาต้านไวรัสได้ในสูตรยาที่มีอยู่ บางคนรับยาต้านไวรัสได้แต่คุณภาพชีวิตแย่ เพราะสภาพทางสังคม ภาวะแวดล้อม ที่มีผลต่อความเครียดนำไปสู่การบั่นทอนชีวิตให้สั้นลง

จึงเป็นคำถามที่ว่า “จะอยู่อย่างไรในการกินยาต้านไวรัสให้พอดี หรือ จะอยู่ได้อย่างไรถ้าไม่มียาต้านไวรัส”

สะพานสีขาวช่วยผู้ติดเชื้อ
รศ. ดร.อาภรณ์ เชื้อประไพศิลป์ ที่ปรึกษาศูนย์การดูแลสุขภาพ แห่งโครงการ “สะพานสีขาว ” ว่า เป็นโครงการที่ช่วยให้คำแนะผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข และสามารถแบ่งปันความสุขไปอยู่กับคนรอบข้าง รวมถึงแนวทางในการดำรงชีวิตให้ห่างโรคฉวยโอกาส ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ติดเชื้อเอดส์ทุกคน เพราะถ้าเมื่อใดที่จิตฟุ้งซ่าน คิดมาก ท้อถอย ร่างกายจะอ่อนล้า สุขภาพจะโทรมทรุด แต่เมื่อใดที่จิตประสานกายได้ชีวีจะเป็นสุขห่างโรคภัย

“การให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส และยาต้านไวรัสเอดส์ ไม่สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์บรรเทาความทุกข์ทรมานได้ แต่การเยียวยาด้วยธรรมชาติน่าจะเป็นวิธีที่ช่วยพวกเขาบรรเทาทุกข์ได้”

การเยียวยาด้วยธรรมชาติในความหมายของอาจารย์อาภรณ์คือ ใช้ภูมิปัญญาตะวันออกแบบองค์รวมที่มีมาแต่โบราณ ทั้งการใช้ธรรมะ ฝึกจิตสมาธิ ใช้พลังบำบัด มวยจีน โยคะ ผสมผสานกับแพทย์แผนปัจจุบัน อยู่กับธรรมชาติ รับประทานอาหารสมุนไพรที่มีอยู่อย่างดาษดื่น นั่นคือยาวิเศษที่สามารถบำบัดได้ทุกโรค

สมุนไพรต้านเชื้อเอดส์ชะงัด
สำหรับสูตรเด็ดสูตรในการช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ที่โดนรุมเร้าจากโรคติดเชื้อฉวย โอกาส ตามตำราของอาจารย์อาภรณ์ก็คือ สมุนไพรพื้นบ้านที่เห็นดาดดื่นตามท้องร่องท้องนาหรือสวนหลังบ้าน

ยกตัวอย่างเช่น สูตรที่ที่ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ประกอบไปด้วย กระเทียม มะเขือพวง มะนาว ส้มโอ กระชาย สูตรช่วยในการขับลมที่ประกอบไปด้วยบวบ สะตอ มะขามป้อม ตะลิงปิง ใบมะกรูด หรือเวลารู้สึกอ่อนเพลียก็สามารถนำมะนาวผสมน้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะ เกลือนิดหน่อย กับน้ำอุ่นอีก 1 แก้ว แต่ถ้าเกิดปัญหาท้องผูก ก็ใช้ลั่นทม 5 ดอก ต้มในน้ำ 2 แก้วเคี่ยวให้เหลือเพียง 1 แก้ว รับประทานก่อนนอนจะลดอาการท้องผูกได้

แต่ทั้งนี้อาจารย์อาภรณ์ ย้ำว่า ของแสลงก็ไม่ควรมองข้าม ผู้ติดเชื้อต้องหลีกห่างจากอาหารทะเล ปลาไหล ปลาเค็มทุกชนิด ของหมักดอง เนื้อวัว เพราะอาจจะเกิดอาการแพ้จนเป็นผื่นคัน

จากการวิจัยของคณะพยาบาล ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ซึ่งใช้เวลาเก็บข้อมูล 2 ปี พบว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ได้แก่ โรคผื่นคันตามตัว เจ็บคอ ฝ้าในปาก เริมที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ ฯลฯ เมื่อเข้ามาพัฒนาจิต อาการเหล่านี้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ รวมถึงโรคฉวยโอกาสที่ถือว่าร้ายแรงคือ วัณโรค ต่อมน้ำเหลือง หลังพัฒนาจิตก็มีอาการดีขึ้นเป็นลำดับด้วย

“มีผู้ติดเชื้ออยู่คน หนึ่งที่ จ.นราธิวาส แต่ก่อนสังคมไม่ยอมรับ แต่เดี๋ยวนี้เขากลายเป็นที่พึ่งของทุกคน เวลามีงานบุญงานวัดอะไร คนก็จะเรียกหา เพราะเขาเป็นคนดีและพร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา โครงการสะพานสีขาว จึงเป็นตัวแทนแห่งความเมตตาและเป็นเสมือนผู้ชี้ทางสว่างเพื่อให้เกิดปัญญานำ ไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน”


ชีวิตเปลี่ยนด้วยภูมิปัญญาตะวันออก
อร (นามสมมุติ) ผู้ติดเชื้อจากจ.นราธิวาส ก็เป็นผู้หนึ่งที่นั่งสมาธิมากว่า 1 ปี พบเห็นสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดกับชีวิต ทั้งที่ก่อนหน้าจะได้รับยาต้านไวรัสเมื่อ 2 ปี ก่อน CD4 ลดต่ำลงเหลือเพียง 5 เท่านั้น และไม่มีใครคาดคิดว่าจะรอด

ทว่า เมื่ออรหันเข้าหาธรรมะบำบัดจิตใจควบคู่กับการได้รับยาต้านไวรัสมาตลอดจน กระทั่งปัจจุบัน CD4 เพิ่มสูงกว่า 300 แล้ว ซึ่งนอกจากจะดีกับตัวเองเธอยังแบ่งปันไปให้ผู้ติดเชื้อคนอื่นๆ ด้วย โดยทุกวันพุธเธอจะให้ความรู้และคำแนะนำดี ๆ กับเพื่อนๆ

“อรแนะวิธี ธรรมะบำบัดที่ใช้ได้ผลมาแล้วกับเพื่อนๆ ในเครือข่ายที่สังกัดอยู่ ซึ่งผลที่ออกมาทุกคนที่เข้าโครงการจะมีสุขภาพจิตดีทั้งหมด เมื่อจิตใจดีร่างกายก็ดีไปด้วย"

ทั้งนี้ ในการประชุมเอดส์โลกที่กำลังเป็นไปอย่างเข้มข้น อาจารย์อาภรณ์ได้จัดบูธสาธิตการฝึกสมาธิ และมีเจ้าหน้าที่จากโครงการฯ รวมทั้งอรมาช่วยสอนวิชาชีพ ทำดอกไม้จากเกล็ดปลา และดอกไม้จากยางพารา ถือเป็นการฝึกสมาธิได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนภูมิปัญญากันวันละหลายคน

ฮวน วอลเธอร์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพสาห์ ดูแลผู้ติดเชื้อของเนเธอร์แลนด์ เพ่งมองอย่างสนอกสนใจระหว่างอาจารย์อาภรณ์สอนการทำสมาธิให้กับผู้ติดเชื้อ และผู้สนใจทั่วไป จนอดใจไม่ไหวต้องลองสัมผัสด้วยตัวเอง ซึ่งภายหลังจากที่ได้ทดลองนั่งสมาธิประมาณ 10 นาที ฮวนถึงกับออกปากว่า

“ไม่เคยสัมผัสศาสตร์ด้านนี้มาก่อน รู้สึกดีมากๆ ปลอดโปร่งและนิ่งทุกอย่างสงบ เชื่อว่าถ้าได้ทำติดต่อกันจะดีต่อจิตใจและร่างกายมาก ผมจะนำปรากฎการณ์แปลกใหม่ครั้งนี้ไปเผยแพร่ให้กับคนในครอบครัว ชุมชน และกลุ่มผู้ติดเชื้อ ผมประทับใจมาก มันเป็นสิ่งที่หาไม่ได้เลยในสังคมตะวันตก”

ที่มา : http://pha.narak.com/topic.php?No=00988

อาจจะเป็นบทความเก่า แต่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ เลยนำมาฝาก

การรับประทานอาหารเสริม สำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์

การเสริมอาหารเช่นวิตามินและแร่ธาตุต่างๆนั้นมีประโยชน์อย่างมากทั้งผู้ที่ ได้รับเชื้อ HIV และผู้ป่วยโรคAIDS มีการทดลองที่พบว่า ในผู้ได้รับเชื้อเพศชายที่ได้รับวิตามินและเกลือแร่เสริมนั้น มีอาการแสดงโรคเอดส์ช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้รับวิตามินและเกลือแร่เสริม แต่ในการทดลองในผุ้ที่ได้รับเชื้อหญิงชาวแทนซาเนียที่กำลังตั้งครรภ์และ กำลังให้นมบุตร ไม่พบว่ามีผลใดๆต่ออัตราการติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูก ทั้งระหว่างอยู่ในครรภ์ และ ขณะคลอดหรือจากการให้น้ำนม

ภาวะการขาด ซีลีเนียมนั้นเป็นตัวแปรหนึ่งที่พบว่าเกี่ยวข้องกับอัตราการตายของผู้ติด เชื้อเป็นอย่างมาก พบว่าผู้ที่ได้รับซีลีเนียมเสริมนั้นจะเป็นโรคติดเชื้อน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ รับซีลีเนียมเสริม นอกจากนี้ ซีลีเนียมยังช่วยทำให้ระบบการทำงานของหัวใจและลำไส้ดีขึ้น และช่วยกระตุ้นความอยากอาหารด้วย ปริมาณที่ควรได้รับคือ 400 ไมโครกรัมต่อวัน

ภาวะการขาดซีลีเนียมนั้นมักพบในผู้ติดเชื้อ HIVที่มีภาวะหัวใจทำงานผิดปกติร่วมด้วยมากกว่าผู้ติดเชื้อที่มีร่างกายทำงาน ปกติ ซึ่งถ้าได้รับซีลีเนียมเสริมจะช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้นได้ เคยมีรายงานในระดับต้นรายงานว่า ผู้ติดเชื้อ HIV ที่พบว่ามีภาวะหัวใจทำงานบกพร่องและขาดซีลีเนียม ซึ่งได้รับการให้ ซีลีเนียมเพิ่มเป็น800 ไมโครกรัมต่อวันติดกันครึ่งเดือนแล้วตามด้วยวันละ400ไมโครกรัมต่อกันอีกแปด วันจะมีอาการของโรคหัวใจดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การทานซีลีเนียมเกิน200ไมโครกรัมต่อวันจะต้องมีการให้แพทย์ติดตามการใช้ยา ด้วย

amino acid, N-acetyl cysteine (NAC), ได้มีการศึกษาพบว่าสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของ HIVในหลอดทดลองได้ และมีการทดลองแบบ ดับเบิลไบลนด์ไทรอัลในมนุษย์แล้วพบว่า ผู้ติดเชื้อที่ได้รับ NACวันละ แปดร้อยมิลลิกรัมต่อวันนั้นจะแสดงให้เห็นว่ามีการเสื่อมลงของระบบภูมิคุ้ม กันช้ากว่าผู้ไม่ได้รับ NAC แล้วนอกจากนี้ NAC ยังช่วยส่งเสริมในการสร้างกลูตาไทโอนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเชื่อ กันว่าจะช่วยปกป้องร่างกายของผู้ติดเชื้อHIVและผู้ป่วยเอดส์ได้

การ ให้ กลูตามีน อาร์จีนีน และ ไฮดรอกซีเมทิลบิวทีเรตซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโนร่วมกันนั้นพบว่า สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อของผู้ติดเชื้อได้ ได้มีการทดลองแบบดับเบิลไบลนด์พบว่า ในผู้ป่วยสองกลุ่มที่มีภาวะเดียวกัน กลุ่มนึงได้รับอาหารเสริมกับสารอาหารหลอก อีกกลุ่มหนึ่งได้รับอาหารเสริมกับสารผสม HMB 1.5 g ,l-argenine 7 g และ l-glutamin 7 g พบว่าในกลุ่มแรกนั้นมีน้ำหนักตัวเพิ่มมา 0.37ปอนด์ แต่ว่ามีมวลกล้ามเนื้อลดลง( แสดงว่าที่เพิ่มมาส่วนมากเป็นไขมัน) ส่วนในกลุ่มที่สองที่ได้รับ HMB 1.5 g ,l-argenine 7 g และ l-glutamin 7 g มีน้ำหนักตัวเพิ่มเฉลี่ย 3 ปอนด์และ เป็นน้ำหนักของกล้ามเนื้อ ถึง ประมาณ 2.55 ปอนด์ ( ราวๆ แปดสิบห้าเปอร์เซนต์)

ได้มีการศึกษา ถึงการให้ยีสต์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคชื่อ Saccharomyces boulardii ( รู้จักทั่วไปในชื่อ บริวเออร์ยีสต์) ปริมาณ 1 กรัมวันละสามครั้ง พบว่าสามารถช่วยหยุดอาการท้องเสียในผู้ติดเชื้อ HIV ได้ แต่พบว่า ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมลงอย่างมากแล้ว อาจทำให้เกิดการติดเชื้อจากยีสต์ในกระแสเลือดได้ ดังนั้นผู้ติดเชื้อที่จะทานยีสต์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ใน ผู้ติดเชื้อที่มีระดับ dehydroepiandrosterone sulfate (DHEAS) ในเลือดต่ำมักจะมีอาการไม่ค่อยดี ซึ่งเราพบว่า dehydroepiandrosterone sulfate (DHEAS) ในปริมาณสูงนั้นจะช่วยลดความอ่อนเพลียและช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ทั้งในผู้ ติดเชื้อเพศชายและเพศหญิง มีการทดลองในผู้ป่วยที่มีภาวะอารมณ์ไม่ดีและอ่อนเพลียโดยให้ dehydroepiandrosterone sulfate (DHEAS) วันละ สองร้อยถึงห้าร้อยมิลลิกรัมต่อวัน เจ็ดสิบสองเปอร์เซ็นต์พบว่า มีอารมณ์ที่ดีขึ้นมาก และแปดสิบเอ็ดเปอร์เซนต์ รู้สึกว่ามีพลังงานมากขึ้น แข็งแรงมากขึ้น แต่ไม่พบว่า DHEAS มีผลใดต่อระดับ CD4 และระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเลือด

การขาดวิตามินA เป็นอาการที่พบมากในผู้ติดเชื้อ HIV ซึ่งการที่มีระดับวิตามินเอต่ำนั้นจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงต่างๆเพิ่ม ขึ้น ทั้งยังเพิ่มอัตราการเสี่ยงของการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกด้วย แต่อย่างไรก็ดี มีรายงานหนึ่งที่พบว่าผู้ติดเชื้อที่ได้รับวิตามินเอ 5000 IU ร่วมกับbetacarotene 50000 IUต่อวันในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่สาม(อายุครรภ์สิบสามสัปดาห์) มีอัตราที่ลูกจะติดเชื้อผ่านทางมารดาไม่ต่างกันกับผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้ทาน วิตามินเอเสริม

มีงานวิจัยบางรายงานพบว่า การทานวิตามินเอเสริมนั้นจะช่วยลดการดำเนินไปของโรคได้ ในการทดลองหนึ่งในเด็กที่ติดเชื้อHIV โดยให้ทาน วิตามินเอสองแสนIU เป็นเวลาสองวันแล้วให้ Influenza vaccineตาม พบว่ามีอัตราไวรัลโหลดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็มีงานวิจัยที่ทดลองให้ทานเฉพาะวิตามินเอขนาดสูง( สามแสนIU) วันละครั้ง พบว่าไม่ได้ช่วยเพิ่มผลของระบบภูมิคุมกันในหญิงที่เข้าร่วมการวิจัยนี้เลย

เบตา แคโรทีนนั้นก็เป็นอีกสารหนึ่งซึ่งพบว่ามีระดับต่ำลงในผู้ติดเชื้อ HIV แม้กระทั่งในผู้ที่ยังไม่มีอาการใดๆ งานวิจัยเกี่ยวกับเบตาแคโรทีนนั้นมีผลออกมาค่อนข้างขัดแย้งกันมีงานวิจัย อยู่สองงานซึ่งศึกษาว่าการให้เตาแคโรทีนวันละสามแสนIUมีผลต่อระดับ CD4หรือไม่ ซึ่งกลุ่มนึงพบว่าช่วยให้ระดับCD4สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่อีกกลุ่มนึงพบว่าไม่มีผลใดๆต่อระบบภูมิคุ้มกันเลย

ในผู้ติดเชื้อที่ขาดวิตามีนBนั้น พบว่าการให้ vitamin B complexเสริมนั้นจะช่วยทำให้ผู้ติดเชื้อมีอายุยืนขึ้น วิตามิน บีหนึ่ง(ไทอามีน) เป็นวิตามินที่ขาดกันประมาณหนึ่งในสี่ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบประสามผิดปกติไป ส่วนวิตามินบีหกซึ่งพบการขาดมากกว่าหนึ่งในสามของผู้ติดเชื้อทั้งหมดนั้นจะ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมลง ในผู้ติดเชื้อที่ได้รับวิตามินบีหกสูงกว่าระดับมาตรฐานมากกว่าสองเท่า( ระดับมาตรฐานเพศชาย=2 mg/day ในหญิง= 1.6 mg/day) พบว่าจะมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น

ระดับของโฟลิกแอซิด และวิตามินบีสิบสองก็พบว่ามีระดับต่ำลงในผู้ติดเชื้อHIVทั่วไป

Vitamin C นั้นพบว่า สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIVได้ในการศึกษาในหลอดทดลอง การได้รับวิตามินซีขนาดสูงนั้นอาจจะช่วยทำให้ผู้ติดเชื้อเป็นโรคเอดส์ช้าลง ซึ่งมีหมอหลายคนได้ให้วิตามินซีขนาดสูงกับผู้ป่วยเอดส์ซึ่งพบว่าวิตามินซี ขนาดสูงนั้นช่วยต้านการติดเชื้อแทรกซ้อนได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีการใช้วิตามินซีแบบแผ่นแปะในการรักษาโรคเริมและ Kaposi’s sarcomaในผู้ป่วยเอดส์ด้วย ซึ่งขนาดวิตามินซีที่ใช้นั้นจะต่างกันไป อยู่จั้งแต่ 40-185 กรัมต่อวัน ซึ่งการได้รับวิตามินซีสูงขนาดนี้จะต้องได้รับการเฝ้าระวังจากแพทย์ด้วย

จาก การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า วิตามินE มีผลในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส AZT โดยช่วยลดความเป็นพิษของยานี้ลง และมีการทดลองในสัตว์พบว่าการได้รับ สังกะสี และ NAC ช่วยลดความเป็นพิษของAZTได้เช่นกัน แต่ยังไม่มีการศึกษาในมนุษย์

Coenzyme Q10 ก็เป็นอีกสารหนึ่งที่พบว่ามีระดับต่ำลงในผู้ติดเชื้อHIV มีการทดลองเล็กๆชิ้นหนึ่งพบว่า แปดสิบสาม%ของผู้ป่วยที่ได้รับ coQ10 200mg ต่อวันนั้นไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนมากกว่าเจ็ดเดือนขึ้นไป และมีสามรายที่มีระดับเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น

29 สิงหาคม 2552

ความเครียดบั่นทอนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

Immune System หรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ มีหน้าที่ในการปกป้องคนเราจากเชื้อโรคต่าง ๆ ไม่ให้บรรดาเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียต่าง ๆ เข้ามาทำร้ายร่างกาย และทำให้เรามีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ Immune System ไม่อาจต่อสู้ได้ นั่นก็คือความเครียด

จากการศึกษาของนักวิจัยในสหรัฐอเมริกา ล่าสุดพบว่า ความเครียดทำให้การทำงานของ Immune System อ่อนแอลง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ไวรัสไข้หวัด และเชื้อโรคอื่น ๆ เข้าไปเล่นงานร่างกายของเราได้ เพราะจากผลการศึกษาเห็นได้ว่า ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีความเครียดมาก ๆ จะเป็นการเพิ่ม ความเสี่ยง ต่อการพัฒนาเป็นโรค AIDS ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ที่มีความเครียด จะมีโอกาสหายจากโรคร้ายนี้น้อยกว่าผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดีถึง 6 เท่า Janice Kiecolt-Glaser นักจิตวิทยาแห่ง Ohio State University ระบุว่า สภาพแวดล้อมรอบตัวนั้น มีความสำคัญต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ สิ่งที่คนเราควรจะต้องคำนึงถึงคือการรักษาสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัยร่างกาย เพื่อให้สามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุในวัย 60-70 ปีนั้น ยิ่งต้องระมัดระวังในเรื่องของความเครียดให้มาก ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าสู่วัยสูงอายุนั้น ความเครียดมักจะนำไปสู่โรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ แต่ถ้าหากมีการใช้ชิวิตที่ปราศจากความเครียดใน ความเจ็บป่วยดังกล่าวก็จะลดลง Kiecolt-Glaser กล่าวต่อไปว่า เมื่อเรามีความเครียด จะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นเล็กน้อย กับการทำงานของ Immune ซึ่งบางคนอาจจะเกิดความเจ็บป่วยได้จากความเปลี่ยนแปลง ในการทำงานของระบบดังกล่าว และจะไปทำให้ร่างกายปล่อง Hormone ที่เรียกว่า ACTH ออกมา และ ACTH นั้น จะเป็นกระตุ้นต่อม Adrenal ให้ขับ Hormone อีกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Cortisol ซึ่งจะไปเกาะติดอยู่กับเซลซึ่งเป็นตัวต่อสู้เชื้อโรค ในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งเมื่อเซลดังกล่าว มี Cortisol มาเกาะติดอยู่มาก ๆ เข้า ก็จะทำให้เซลนั้น ทำหน้าที่ของตนเองได้ไม่เต็มที่

อย่างไรก็ตาม นักจัตวิทยากล่าวว่า ความเครียดบางอย่าง ก็ไม่นับว่าไปบั่นทอนระบบภูมิคุ้มกัน อย่างเช่น ความเครียดจากรถติด โดยนักวิจัยอธิบายว่า นักเดินทางที่ประสบปัญหาดังกล่าว จะรู้อยู่แล้วว่า ความหงุดหงิดในปัญหาที่ประสบอยู่นั้น สักพักจะหายไป แต่ ความเครียดในระยะยาว เช่นผู้ที่ประสบปัญหาหย่าร้าง หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นกลุ่มที่จะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคร้ายต่าง ๆ หรือมีการเจ็บป่วยที่มากขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : http://www.thaiclinic.com/thaiclinicnew ... mmune.html

เรื่องของผม ตอนที่ 4

15 เมษายน 2552 วันที่ผมสมัครเป็นสมาชิกบ้านฟ้า หลังจากก่อนหน้านี้ประมาณ 2 วัน ผมสมัครไม่สำเร็๋จ ไม่ทราบเป็นเพราะอะไร.. รวมทั้งช่วงสงกรานต์ยุ่งกับการขายของ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาเข้าบ้านฟ้า ทำได้แต่เข้าไปอ่านกระทู้ที่สมาชิกท่านอื่นโพสต์ไว้ ในช่วงนั้นผมเข้าไปอ่านประวัติของเพื่อนหลาย ๆ คน อย่างของ นายลูกชิ้น สุดหล่อPHA น้าเหนาะ ฯลฯ เรื่องราวชีวิตของพวกเราชาวเอช ต่างที่มา พื้นเพ ภูมิหลังต่างกัน แต่เข้ามาอยู่บ้านหลังนี้เพราะเจ้าเอชไอวี อย่างเรื่องของนายลูกชิ้นที่พลาดเพราะความไว้ใจกับผู้หญิงที่เป็นคู่หมั้น สุดหล่อPHA กับเข็มฉีดยาเพียงครั้งเดียว น้าเหนาะติดจากคู่ชีวิตที่เสียชีวิตไปแล้ว (เรื่องของน้าเหนาะเศร้าครับ..) สำหรับผมแล้ว.. บ้านฟ้าไม่เหมือนกับเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ผมเข้า ผมรู้สึกเป็นเหมือนบ้านอีกหลังหนึ่งของผมในอินเตอร์เน็ต อาจเป็นเพราะผมรู้สึกถึงความรักและความทุ่มเทที่แม่ธิดามีต่อพี่หนึ่ง แม่ที่มีลูกชายติดเชื้อเอชไอวี เหมือนกับแม่ของผมที่รู้ว่า ลูกชายติดเชื้อ แต่แม่ก็ยังเป็นแม่ รักและไม่ได้รังเกียจผมและภรรยา.. คนในครอบครัวที่ผมเลือกบอกว่า ผมติดเชื้อเอชไอวี มีเพียงแม่ของผมเพียงคนเดียว นอกนั้นผมไม่เคยบอกใคร รูปด้านบนของบอร์ด จะเป็นรูปของแม่ธิดากับพี่หนึ่ง ที่เหมือนบอกกับเรากลาย ๆ ว่า บอร์ดแห่งนี้เกิดจากสายใยรักและความผูกพันของแม่ลูกคู่นี้ ที่ต่อสู้เพื่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีมายาวนาน ทั้งในเรื่องสิทธิ การให้ความรู้ การให้คำปรึกษา ฯลฯ ...เป็นกำลังใจและที่เรียนรู้เรื่องเอชไอวีสำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ แม้ว่าผมจะไม่ได้ไปมีตติ้งเหมือนกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในบ้านฟ้า ไม่ค่อยเข้าไปตั้งหรือตอบกระทู้บ่อยนัก แต่เมื่อมีเวลาว่าง (เกือบทุกวัน) ผมจะเข้าไปอ่านกระทู้ของเพื่อน ๆ ตลอด ตอบบ้างไม่ตอบบ้าง (แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยตอบ) กระทู้บางกระทู้มีสาระ ข้อมูลสถานการณ์ใหม่ๆ ข่าวเกี่ยวกับโรคเอดส์ วัคซีน ยาต้าน ฯลฯ หลาย ๆ บทความในบล็อกนี้ก็ได้ข้อมูลมาจากบ้านฟ้า กระทู้บางกระทู้ก็นำเรื่องขำขัน รูป คลิปตลก ๆ มาเล่ามาเผยแพร่ บางกระทู้ก็เป็นเรื่องตลกระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง ผมรู้สึกอบอุ่นกับบ้านฟ้ามากครับ ลืมขอบคุณพี่ป้อมเจ้าของเวบน่ารัก.คอม ด้วยครับ ที่ช่วยให้บอร์ดบ้านฟ้ายังคงอยู่ ถ้าถามว่า ผมสมัครสมาชิกบ้านฟ้าเพราะอะไร? สำหรับผมแล้ว ตอนนั้นภรรยาของผมยังไม่ได้รับยาต้าน เธอมีอาการที่เรียกว่า มีแต่ทรงกับทรุด ตอนนั้นนอกจากภรรยาผมจะมีอาการของปอดติดเขื้อ จนไม่มีแรงทำอะไรแล้ว เธอยังมองอะไรไม่ค่อยเห็น ทำให้ผมกลัวว่าเธอจะติดเชื้อ CMV ผมต้องการเข้าไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แต่กลายเป็นว่า แม้ว่าภรรยาผมในตอนนี้ (29 สิงหาคม 2552) จะดูปกติดีแล้ว แต่ผมก็ยังคงแวะเวียนเข้าเยี่ยมบ้านฟ้าเป็นประจำ เป็นขาประจำของเจ้าของกระทู้ สุดหล่อPHA, น้าเหนาะ, ขุนหลวงเบลเยี่ยม, 1ปีศาจศิลป์, พี่ลูซี่, พี่หนึ่ง, แม่ธิดา, นิว เอง จ้า เพื่อเป็นการระลึกถึงวันสมัครสมาชิกบ้านฟ้าของผม และแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจ เรื่องของผมในตอนนี้ ขออุทิศให้กับบ้านฟ้า pha.narak.com วันสำคัญอีกวันหนึ่งในชีวิตของผม

28 สิงหาคม 2552

รู้จักยาต้านไวรัส

นับตั้งแต่เริ่มพบโรคเอดส์ เมื่อประมาณ 20 ปี ที่แล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนายาต้านไวรัสมาโดยลำดับ นับตั้งแต่เริ่มพบยาตัวแรก คือ AZT เมื่อปี ค.ศ. 1987 จนถึงปัจจุบันมียาต้านไวรัสเอดส์ที่ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วถึง 3 กลุ่ม รวม 15 ตัว รวมถึงการพัฒนาเทคนิคการใช้ยาจากเดิมที่เคยใช้ยาเพียงตัวเดียว ในการยับยั้งไวรัส HIV ซึ่งสามารถควบคุมเชื้อได้เพียงระยะสั้น ๆ เนื่องจากเกิดการดื้อยาจากการกลายพันธุ์ (mutation) ในยีนส์ของไวรัส

ต่อมามีการพัฒนาโดยการใช้ยาร่วมกัน 2 ชนิด พบว่าสามารถยับยั้ง HIV ได้นานขึ้น แต่ก็ได้ผลเพียงระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็เกิดการดื้อยา การรักษาจึงไม่ได้ผลเช่นเดียวกับการใช้ยาตัวเดียว จนในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมา มีการพบยากลุ่ม protease inhibitors (PIs) มาร่วมในสูตรการรักษาเรียกว่า highly active antiretroviral therapy (HAART) โดยการใช้ยาหลายตัวร่วมกันแทนการใช้ยาเพียงตัวเดียว สามารถควบคุมไวรัสได้อย่างสิ้นเชิง

ยาต้านไวรัส ดังกล่าวจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม รวม 15 ตัว ซึ่งตัวยาทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะแสดงฤทธิ์ยับยั้งวงจรชีวิตของไวรัสเอดส์ดังนี้
  • ยากลุ่มที่ 1 ขัดขวางไม่ให้สารพันธุ์กรรม (RNA) ของไวรัส เข้าไปรวมตัวกับสารพันธุ์กรรม (DNA) ในเซลล์ของคนได้ ยากลุ่มนี้มีชื่อย่อว่า NRTIs (Nucleoside reverse transcriptase inhibitors)
  • ยากลุ่มที่ 2 ทำให้ไวรัส ไม่สามารถแบ่งตัวได้ ยากลุ่มนี้มีชื่อย่อว่า NNRTIs (Non-Nucleoside reverse transcriptase inhibitors )
  • ยากลุ่มที่ 3 ทำให้ไวรัส พิการ ยากลุ่มนี้มีชื่อย่อว่า Pi (Protease Inhibitors)

ปัจจุบันยาที่ใช้ต้านไวรัส 3 กลุ่ม มีชื่อทางการค้าดังนี้
ยากลุ่มที่ 1 มีชื่อย่อว่า NRTIs (Nucleoside reverse transcriptase inhibitors) โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
ยาเดี่ยว (ใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว) และยาผสมรวมกัน (ใน 1 เม็ดมีตัวยา 2 ตัว )

ยาเดี่ยวใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว
1. AZT (Zidovudine) ชื่ออื่น ริโทรเวียร์ (Retrovir)
2. ddI (Didanosine) ชื่ออื่น ไวเด็กซ์ (Videx-EC ) ไดร์เวียร์ ( Drivir )
3. 3TC (Iamivudine) ชื่ออื่น อีพิเวียร์ (Epivir) รามีเวียร์ ( Lamevir )
4. ddC (Zalcitabine) ชื่ออื่น ไฮวิด (Hivid)
5. d4T (Stavudine) ชื่ออื่น ซีริท (Zerit) สตาเวียร์ (Stavir)
6. อาบาคาเวียร์ (Abacavir) ชื่ออื่น ไซย์เจน (Ziagen)

ยาผสมรวมกัน ใน 1 เม็ด มีตัวยา 2 ตัวขึ้นไป
1. AZT บวก 3TC มีชื่อว่า คอมบิเวียร์ (Combivir) ซีราเวียร์ ( Zeravir )
2. AZT บวก 3TC บวก อาบาคาเวียร์ ( Abacavir ) มีชื่อว่า ไตรซีเวีย (Trizivir)

ยากลุ่มที่ 2 มีชื่อย่อว่า NNRTIs (Non-Nucleosides reverse transcriptase inhibitors) ได้แก่

1.ไวรามูน (Viramune) ชื่ออื่น เนไวราปิน (Nevirapine) นีราเวียร์ ( Nelavir ) ชื่อย่อ NVP
2. สโตคริน (Stocrin) ชื่ออื่น อิฟาเวอเร็นซ์ (Efavirenz)
3. เรสคริปเตอร์ (Rescriptor) ชื่ออื่น ดีลาเวอร์ดีน (Delavirdine)
4. ไฮดรี (Hydre) ชื่ออื่น ไฮดรอคซียูเรีย (Hydroxyurea)
5. ดรอคเซีย (Droxia) ชื่ออื่น ไฮดรอคซียูเรีย (Hydroxyurea)

หมายเหตุ ยาข้อ 3, 4, 5 ในประเทศไทยยังไม่มีจำหน่าย

ยาผสมรวมกัน ใน 1 เม็ด มีตัวยา 3 ตัว เป็นยา กลุ่ม 1 + กลุ่ม 2 คือ
1.ยาจีพีโอเวียร์ (GPO vir-S30 และ GPO vir-S40 ) คือยา d4T + 3TC + NVP
2. ยาจีพีโอเวียร์ Z (GPOz 250) คือยา AZT + 3TC + NVP

หมายเหตุ เป็นยาขององค์การเภสัชเป็นผู้ผลิต

ยากลุ่มที่ 3 มีชื่อย่อว่า Pi (Protease Inhibitors) โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ยาเดี่ยว (ใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว ) และยาผสมรวมกัน ( ใน 1 เม็ดมีตัวยา 2-3 ตัว )

ยาเดี่ยวใน 1 เม็ดมีตัวยาชนิดเดียว
1.ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ชื่ออื่น นอร์เวียร์ (Norvir)
2.ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ชื่ออื่น ฟอร์ทูเวส (Fortovase)
3.ครีซีแวน (Crixivan) ชื่ออื่น อินดินาเวียร์ (Indinavir)
4.ไวราเซ็ปท์ (Viracept) ชื่ออื่น เนลพินาเวียร์ (Nelfianvir)
5.แอมปรินาเวียร์ (Amprenavir) ชื่ออื่น เอเจนนิเวส (Agenevase)

ยาผสมรวมกัน ใน 1 เม็ด มีตัวยา 2 ตัว
1.กาเล็ทตร้า (Kaletra) คือโลปินาเวียร์ (Lopinavir) บวก ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)

ประโยชน์จากการใช้ยา รักษาผู้ติดเชื้อโดยใช้ยาต้านไวรัสหลายตัวร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ( highly active antiretroviral therapy )

ในปัจจุบันจะให้ประโยชน์ดังนี้

1.สามารถลดปริมาณไวรัสให้อยู่ในระดับที่น้อย จนตรวจวัดไม่ได้ ( undetectable level )
2. ทำให้ระดับภูมิคุ้มกัน CD4 เพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณไวรัสลดน้อยลง
3. ทำให้การติดโรคแทรกซ้อน และอัตราการตายลดลงอย่างชัดเจน

ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น กลับขึ้นมาเป็นผู้ติดเชื้อ

โทษและผลข้างเคียงของยา

ยานั้นมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ แม้ยาต้านไวรัสจะช่วยให้ผู้ที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ โดยไม่ปรากฏอาการของเอดส์ แต่ปัญหาของยาต้านไวรัสเท่าที่พบผู้ติดเชื้อบางส่วน มีผลในเรื่องของสารเคมีตกค้างและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาเป็นเวลานาน ด้วยเหตุผลนี้การที่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสจึงต้องได้รับยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับรายละเอียดโทษและผลค้างเคียงของยาแต่ละชนิดมีดังต่อไปนี้

ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 1 NRTls

1. AZT คลื่นไส้, ปวดศรีษะ,โลหิตจาง, กล้ามเนื้ออ่อนแรงลีบเล็กลง
2. ddI ตับอ่อนอักเสบ,อุจจาระร่วง, คลื่นไส้, ปลายประสาทอักเสบ
3. ddC ปลายประสาทอักเสบ, คลื่นไส้
4. d4T ปลายประสาทอักเสบ, คลื่นไส้
5. 3TC ตับอ่อนอักเสบ
6. อาบาคาเวียร์ (Abacavir) มีไข้,ผื่น, มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ,ทางเดินอาหาร

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยา อาบาคาเวียร์ (Abacavir) หากมีการเริ่มใช้ยาตัวนี้แล้วมีอาการแพ้จากผลข้างเคียงของยาคือ มีไข้ ผื่น มีอาการทางระบบการหายใจ และอาการของระบบทางเดินอาหาร ภายใน 42 วันแรกหลังเริ่มใช้ยานี้ และเมื่อหยุดการให้ยาตัวนี้แล้ว แม้คนไข้มักจะมีอาการดีขึ้น ก็ห้ามกลับมาใช้ยาตัวนี้ใหม่อีกครั้ง เพราะพบว่ามีการเสียชีวิตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน

ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 2 NNRTls

1.ไวรามูน (Viramune) เกิดผดผื่นเม็ด,ตับอักเสบ
2. สโตคริน (Stocrin) มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง เช่น มึนงง, ฝันประหลาด

ความเป็นพิษของยากลุ่มที่ 3

1. ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ชื่ออื่น ฟอร์ทูเวส (Fortovase) ปวดศรีษะ,อุจจาระร่วง
2. ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ปลายประสาทอักเสบ,คลื่นไส้,อาเจียน,ตับอักเสบ
3. ครีซีแวน (Crixivan) เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วในกระแสเลือดสูงขึ้น จนเป็นอันตรายต่อเซลล์สมอง,ปวดหัว,อ่อนเพลีย
4. ไวราเซ็ปท์ (Viracept) ถ่ายเหลว,ท้องเสีย,อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย
5. กาเล็ทตร้า (Kaletra) ท้องเสีย,ทำให้ไขมันอุตตันในกระแสเลือด,ปลายประสาทอักเสบ,คลื่นไส้,อาเจียน ,ตับอักเสบ

ข้อแนะนำการรักษา

การรักษาผู้ติดเชื้อ โดยการใช้ยาเพื่อควบคุมปริมาณของไวรัสเอดส์ ไม่ให้สูงเกินไปแต่เพียงด้านเดียว ดูจะไม่สมบูรณ์นัก ความจริงแล้วควรใช้ยาบำรุงรักษาระบบภูมิคุ้มกันควบคู่กันไปด้วยน่าจะครบถ้วนกว่า แนวทางการรักษาแนะนำว่า ควรรักษาทั้ง 2 ด้าน ควบคู่กันไป เพราะเท่าที่ติดตามเฝ้าดูอาการของคนไข้ ที่ผ่านมา พบว่าคนไข้ที่ใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงด้านเดียว คนกลุ่มนี้มักมีสุขภาพที่มีปัญหาบ่อย บางรายมีอาการแพ้ยาเป็นระยะ ๆ ตับมีปัญหา และหากมีการใช้ยาในระยะยาว อาจจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อม เช่น หลังจากใช้ยาไปเป็นเวลานาน แมัผลการรักษาจะพบว่าปริมาณไวรัสของคนไข้ลดลงต่ำกว่า 50 copy/มล ซึ่งถือว่าปลอดภัย แต่ตรงกันข้ามระดับภูมิคุ้มกันของคนไข้ CD4 แทนที่จะสูงเพิ่มขึ้นกลับต่ำลงมากเช่นกัน ซึ่งภาวะนี้ไม่ถือว่าเชื้อดื้อยาเนื้องจากไวรัสอยู่ในเกนณ์ที่ต่ำ แต่เกิดจากปริมาณของภูมิคุ้มกัน CD4 ไม่ถูกสร้างขึ้นมา  ทำให้ภูมิต่ำติดโรคง่าย โดยเฉพาะในรายที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มักเกิดภาวะโรคแทรก ตรงจุดนี้คือปัญหาของการใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงด้านเดียว ตรงกันข้ามสำหรับในกลุ่มคนที่ใช้ยาต้านไวรัส ร่วมกันกับการใช้ยาบำรุงรักษาระบบภูมิคุ้มกันควบคู่กันไปเช่นการใช้ยาสมุนไพรแบบสกัดดีๆ ที่มีข้อมูลทางวิทยาศสตร์ว่ามีฤทธิ์ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และเสริมด้วยวิตามิน c วิตามินบี 6 หรือจะใช้อาหารเสริมเพิ่มควบคู่กันไปก็ดี  พบว่าสิงเหล่านี้สามารถช่วยให้คนไข้กลุ่มนี้ให้มีสุขภาพที่ดีมากกว่า กลุ่มคนไข้ที่ใช้แต่ยาต้านไวรัสเพียงอย่างเดียว กล่าวคือในคนที่ใช้ยาต้านไวรัสร่วมกันกับยาบำรุงรักษาระบบภูมิคุ้มกัน ผลการรักษาไม่ว่าจะเป็นในระยะสั้นหรือระยะยาว การเกิดภาวะระบบภูมิคุ้มกันเสื่อม ตับมีปัญหา ตุ่มคันตามตัว พบว่ามีน้อยกว่า โดยเฉพาะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ก็จะน้อยกว่าเช่นกัน เมื่อได้มีการเปรียบเทียบแล้ว พบสุขภาพร่างกายของคนกลุ่มนี้จะดีและแข็งแรงกว่า กลุ่มคนไข้ที่ได้รับแต่ยาต้านไวรัสแต่เพียงอย่างเดียว เชื่อว่าการรักษาโดยการใช้ยาต้านไวรัสร่วมกันกับการใช้ยารักษาระบบภูมิคุ้มกันควบคู่กันไปน่าจะดีกว่าการใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงอย่างเดียว

การใช้ยาต้านไวรัส

ก่อนอื่นต้องเรียนให้ทราบถึงปัญหาของการใช้ยาต้านไวรัสกันอีกครั้งว่า เมื่อใช้ยาต้านไวรัสไปแล้วมักจะพบปัญหาจากผลข้างเคียงของยา ปัญหาการดื้อยา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงปัญหาคุณภาพชีวิตที่ต้องกินยาให้ถูกต้องสม่ำเสมอเป็นระยะเวลายาวนานตลอดชีวิต ดังนั้นการให้ยาต้านไวรัสในคนที่ยังมีระดับภูมิคุ้มกัน CD4 สูงอยู่ จะถูกชะลอการให้ยาออกไปก่อน แต่ก็ต้องมีการติดตามผลทางสุขภาพ และผลของระดับภูมิคุ้มกัน CD4 ของผู้ติดเชื้อทุกระยะ 3 เดือน เพื่อหาจังหวะที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเริ่มใช้ยา

สำหรับข้อพิจารณาการให้ยาต้านไวรัสจะพิจราณาโดยหลัก 3 ประการดีงนี้
  1. ประวัติสุขภาพในอดีตและปัจจุบัน
  2. ผลการตรวจเลือดวัดระดับภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า CD4
  3. ผลการตรวจเลือดวัดระดับปริมาณไวรัสในร่างกายที่เรียกว่า viral load

จากหลักในการพิจารณาดังกล่าวได้แบ่งผู้ติดเชื้อออกเป็น 2 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1. ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการของโรคแทรกซ้อน
กลุ่มที่ 2. ผู้ติดเชื้อที่มีอาการของโรคแทรกซ้อนแล้ว

กลุ่มที่ 1 ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ยังไม่มีอาการ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
1.1 ผู้ติดเชื้อที่มี CD4 น้อยกว่า 200 เซล/ลบ มม. ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัส
1.2 ผู้ติดเชื้อที่มี CD4 มากกว่า 350 เซล/ลบ มม. อาจจะชะลอ การใช้ยาในผู้ป่วยที่มี CD4 ระดับนี้ออกไปก่อนและติดตามตรวจนับ CD4 ทุก 3 เดือน

กลุ่มที่ 2 ผู้ติดเชื้อที่มีอาการของโรคแทรกซ้อนแล้ว
กรณีที่ป่วยเป็นวัณโรค,เชื้อราในเยื่อหุ้มสมอง,ปอดอักเสบ,อุจจาระร่วงเรื้อรัง ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัส แต่การเริ่มใช้ยาต้านควรเริ่มในจังหวะที่เหมาะสม โดยต้องพิจารณาด้วยว่ามียาต้านไวรัสตัวใดบ้าง ที่ออกฤทธิ์ต่อต้านกับยารักษาโรคติดเชื้อแทรกซ้อนที่กำลังใช้อยู่ เช่น ถ้าป่วยเป็นวัณโรคและใช้ยา rifampicin รักษาอยู่ จะห้ามใช้ยาต้านไวรัส กลุ่มที่ 3 PIs หรือผู้ป่วยที่มีอาการอจุจาระร่วงเรื้อรังรุนแรงอยู่ อาจมีปัญหาการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย จึงยังไม่ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัส รวมถึงควรดูปัญหาผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสที่จะใช้ และสุขภาพของผู้ป่วยมีความพร้อมที่ทนต่อผลข้างเคียงของยา รวมถึงการให้ความร่วมมือในการกินยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเมื่อเริ่มใช้ยา

สูตรการให้ยาแบบจับคู่ยา
การให้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อ โดยการจับคู่ยาอาจแบ่งออกเป็น 2 สูตรคือ
สูตรยา ARV ( antiretroviral drug ) เป็นการให้ยา 2 -3 ตัวร่วมกัน แต่จะใช้เฉพาะยากลุ่มที่ 1 NRTIs
สูตรยา HAART เป็นการนำยากลุ่มที่ 2 NNRTIs หรือนำยา กลุ่มที่ 3 PIs เข้ามาร่วมจับคู่กับสูตรยา กลุ่มที่ 1 NRTIs
  • คู่ที่ 1 AZT + ddI
  • คู่ที่ 2 AZT + 3TC
  • คู่ที่ 3 AZT + ddC
  • คู่ที่ 4 d4T + ddI
  • คู่ที่ 5 d4T + 3TC

ยาที่ห้ามใช้ร่วมกัน
  • คู่ที่ 1 AZT + d4T
  • คู่ที่ 2 ddI + ddC
  • คู่ที่ 3 d4T + ddC

2.การให้ยาแบบสูตร HAART
เป็นการนำยากลุ่มที่ 2 NNRTIs เข้ามาร่วมกับสูตรยา กลุ่มที่ 1 NRTIs หรือนำยากลุ่มที่ 3 PIs เข้ามาร่วมกับสูตรยา กลุ่มที่ 1 NRTIs เช่นกัน
  • AZT + ddI + สโตคริน (Stocrin)
  • AZT + 3TC + ครีซีแวน (Crixivan) + ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
  • d4T + 3TC + ไวราเซ็ปท์ (Viracept)
  • d4T + ddI + ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) + ริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
  • 3TC + ddI + กาเล็ทตร้า (Kaletra)
  • AZT + ddC + ไวรามูน (Viramune)

หรืออาจจะได้สูตร อื่น ต่างจากนี้

หมายเหตุ
  1. AZT + 3TC + อาบาคาเวียร์ (Abacavir) เป็นยาสูตรพิเศษชื่อ Tizivir เป็นการจับคู่ 3 ตัว เฉพาะยากลุ่มที่ 1 NRTIs แต่ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยา อาบาคาเวียร์ (Abacavir) หากมีการเริ่มใช้ยาตัวนี้แล้วมีอาการแพ้จากผลข้างเคียงของยาคือ การเกิด hypersensitivity ได้ อาการนี้คือกลุ่มอาการ flu-like จะมีไข้ ผื่น มีอาการทางระบบการหายใจส่วนบน และอาการของระบบทางเดินอาหาร มักเกิดภายใน 42 วันแรก หลังเริ่มใช้ยานี้ และในคนที่มีอาการดังกล่าวเมื่อหยุดการให้ยาตัวนี้แล้ว คนไข้มักจะมีอาการดีขึ้น และที่สำคัญปัญหาที่พบ ถ้ามีการกลับมาใช้ยาตัวนี้ใหม่อีกครั้ง พบว่ามีการเสียชีวิตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นห้ามกลับมาใช้ยาตัวนี้อีกครั้ง แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน
  2. ยากลุ่มที่ 3 ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ควรใช้ร่วมกับยาริโทนาเวียร์ (Ritonavir) จะได้ผลดีกว่าการใช้แต่ยาซาควินาเวียร์ (Saquinavir) เพียงตัวเดียวกรณีผลการรักษาล้มเหลวให้พิจารณาเปลี่ยนยาใหม่โดยดูจากจากสิ่งต่อไปนี้ ถ้าจำนวน ไวรัสในเลือดเพิ่มขึ้นเกิน 10,000 copy/มล.

ข้อควรระวังในการใช้ยา

การใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น การใช้ยาที่ไม่สามารถลดปริมาณไวรัสได้ดีพอ เป็นสาเหตุทำให้ไวรัสดื้อยา (drug resistant variant) และไวรัสที่ดื้อยาเหล่านี้จะเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสในเวลาต่อมาล้มเหลว และจะล้มเหลวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการรักษาครั้งต่อๆ มา ด้วยเหตุผลนี้แพทย์ผู้ดูแลรักษาทุกคนควรเข้าใจ และตระหนักถึงปัญหานี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด เพราะปัญหานี้มีความสำคัญมากกว่าการรักษา เนื่องจากเมื่อไวรัสดื้อยาขึ้นมาแล้ว การรักษาต่อมาจะประสบความสำเร็จได้ยากมาก และที่น่าเป็นห่วงก็คือ การเกิด T-cell tropie syneytium-indueing variant HIV ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดื้อยาที่มีความรุนแรง และจะทำให้ระดับภูมิคุ้มกัน CD4 ลดลงอย่างรวดเร็ว การดำเนินของโรคเร็วขึ้น และเสียชีวิตเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น insufficient antiviral poteney

ความจริงของยารักษาโรคเอดส์

ปัจจุบันเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อ โดยการใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงอย่างเดียว เพราะยาต้านไวรัสมี ทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวของมัน
  1. ข้อดี โดยการใช้สูตรยา HAART เป็นการใช้ยา 3 ตัวขึ้นไป คนไข้ที่ได้รับยาสูตรนี้ภายในระยะเวลา 4-6 เดือนเชื้อไวรัสจะลดลงจนไม่สามารถตรวจพบได้ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกัน CD4 เกิดการเพิ่มขึ้น
  2. ข้อเสีย คือ อาจจะก็ให้เกิดภาวะผิดปกติ ร่วมทั้งกลุ่มอาการ ( Syndrom ) ที่สืบเนื่องจากการใช้ยาต้านไวรัส เช่น ตับอักเสบ ,ไขมันในเส้นเลือดสูง , เป็นเบาหวาน,โรคไต ปลายประสาทอักเสบ, มีอาการปวดเมื่อยตามข้อตามตัว, มีผื่นขึ้นตามตัว เกิดภาวะไขมันเคลื่อนย้าย , แก้มตอบ , แขนขาลีบ , พุงโต

ด้วยเหตุผลนี้แนวคิดในการรักษา โดยการใช้ยาต้านไวรัสแต่เพียงอย่างเดียวได้เปลี่ยนไป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้วิธีรักษาที่สมบูรณ์แบบ 2 ทางที่เรียกว่า Complementary treatment หมายถึงการรักษา ระหว่างแพทย์แผนปัจจุบัน ควบคู่ไปกับแพทย์ทางเลือก Alternative medicine โดยมีหลักการดังต่อไปนี้

  1. จะใช้ยาต้านไวรัสเพื่อลดจำนวนเชื้อไวรัส จนไม่สามารถ ตรวจพบได้ ( ปริมาณไวรัสต่ำกว่า 50 หรือ 20 ตัว ต่อ ลบ.มม.)
  2. จะใช้วิธีป้องกันข้อเสียของยาต้านไวรัส โดยการซ่อมสร้างร่างกายโดยใช้วิธีที่เรียกกันว่าแพทย์ทางเลือก (Alternative medicine) เช่นการใช้ยาสมุนไพรแบบสกัดที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เชื่อได้ว่า มีฤทธิ์ในการปกป้อง ซ่อมสร้างร่างกาย เช่น ปกป้องตับ โดยการใช้ สมุนไพรเห็ดหลินจือ,ชะเอมเทศ, ลูกใต้ใบ, ฟ้าทะลายโจร, มะระขี้นกก็ยังมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย การใช้วิตามิน C วิตามิน B6 วิตามินรวมเกลื่อแร่ การใช้น้ำมันปลาในกลุ่มโอเก้า 3 ป้องกันไขมันในเส้นเลือดสูง การออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การใช้ผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารบางชนิดช่วยด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น สามารถช่วยปกป้องผลข้างเคียง ที่เกิดจากยาต้านไวรัส และต้องคอยเฝ้าระวังเจาะเลือดตรวจตับ ตรวจไต ตรวจไขมันในเส้นเลือด ตรวจน้ำตาลใน เลือดทุก 3 เดือน หรือเจาะเลือดตรวจทันที ที่สงสัยว่าอาจจะมีผลข้างเคียงที่สืบเนื่องมาจากการใช้ยาต้านไวรัส

จากแนวคิดการรักษาโดย การใช้ยาต้านไวรัส ควบคู่กันไป กับการซ่อมสร้างร่างกาย Complementary treatment ดังกล่าว ซึ่งวิธีการนี้มันก็เหมือนกับการรักษาคนไข้ที่เป็นวัณโรค เช่นถ้าแพทย์ที่รักษาให้แต่ยารักษาวัณโรคอย่างเดียว โดยที่ไม่ฟื้นฟูสุขภาพร่างกายของคนไข้ควบคู่ร่วมไปด้วย เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า คนไข้มักจะโซมผอมแห้งมาก เพราะฉะนั้นการรักษาคนไข้ HIV จึงควรรักษา 2 ทางควบคู่กันไป จะได้ผลที่ดีกว่า การให้แต่ยาต้านไวรัสเพียงด้านเดียว แต่สมุนไพรและวิตามินบางอย่าง ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น สโตคริน (Stocrin) ไม่สามารถ รับประทานกับ กระเทียมสกัดได้ ครีซีแวน (Crixivan) ไม่สามารถ รับประทาน กับวิตามิน C ได้

ยังมีข้อที่ต้องควรระวังอีกมากมาย ไม่ว่าเรื่องสมุนไพร บางตัวที่ไม่สามารถ รับประทานติดต่อกันได้นาน เช่น ฟ้าทะลายโจร ถ้ารับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ควาดันในเลือดต่ำได้ เป็นต้น

ที่มา : http://pha.narak.com/topic.php?No=38542

ความรู้พื้นฐานที่คนทานยาต้านควรรรู้

ยาต้านไวรัสเอชไอวี

ยาต้าน ไวรัสเอชไอวี มีด้วยกันหลายชนิด ออกฤทธิ์แตกต่างกันไป การเลือกใช้ยาจะพิจารณาตามความเหมาะสม สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยแบบแผนการรักษาที่จะให้ผลดี และช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ จะต้องใช้ยา 3 ตัวรวมกันหรือมากกว่า ที่เรียกว่า Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) การรักษาด้วยวิธีนี้ จะทำให้อัตราป่วยจากโรคแทรกซ้อน และอัตราการตายของผู้ป่วยเอดส์ ลดลงได้อย่างมาก ถึงแม้จะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยควรให้ความสำคัญกับการรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ปัจจุบันยาต้านไวรัสเอชไอวี สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม

  • Nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs)
  • Non nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs)
  • Protease inhibitors (PIs)

ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานยา

  • รับประทานยาตามที่กำหนด ทุกมื้อ และทุกวัน
  • อย่า เปลี่ยนยาด้วยตนเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ถ้าพบว่าปฏิบัติตามแผนการรักษาได้ยาก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อค้นหาแนวทางการรักษาใหม่ที่เหมาะสม
  • หากจะใช้ยาอื่นนอกเหนือที่แพทย์สั่ง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
  • ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หากหยุดยาระยะหนึ่งแล้วมารับประทานต่อ ก็อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา การรักษาจะยิ่งยากมากขึ้น
ปฏิกิริยาระหว่างยากับยา
ผู้ ป่วยที่ติดเชื้อ HIV เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง จนถึงระดับหนึ่ง อาจติดเชื้อแทรกซ้อนได้ เช่น เชื้อรา เชื้อวัณโรค ฯลฯ ยาที่ใช้รักษาเชื้อแทรกซ้อนเหล่านี้ รวมทั้งยาอื่นๆ ที่ใช้ร่วม อาจมีผลต่อระดับยาต้านไวรัส HIV ในเลือดได้ ยกตัวอย่างเช่น
  • ยาต้านเชื้อรา ได้แก่ Ketoconazole, Itraconazole มีผลเพิ่มระดับยาต้านไวรัสในเลือด
  • ยาต้านเชื้อวัณโรค ได้แก่ Rifampin มีผลลดระดับยาต้านไวรัสในเลือด
  • ยารักษาไมเกรน ได้แก่ Ergotamine ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาต้านไวรัส HIV เพราะมีผลทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณปลายมือปลายเท้าลดลง
  • ยานอนหลับ ได้แก่ Midazolam, Triazolam มีผลทำให้ฤทธิ์ยานอนหลับยาวนานขึ้น
  • ยา หลายๆ ชนิด จะมีผลต่อระดับยาต้านไวรัส HIV ในเลือด อาจทำให้เกิดความเป็นพิษจากยาได้ หรืออาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล ดังนั้นหากจะใช้ยาตัวอื่นๆ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
การใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันยาต้านไวรัส HIV อาจมีเปลี่ยนแปลงระดับยาในเลือดได้

ยาที่ใช้ร่วมและผลที่เกิด

  • ยาต้านเชื้อรา ได้แก่ Ketoconazole เพิ่มระดับยาต้านไวรัส HIV
  • ยาต้านเชื้อวัณโรค ได้แก่ Rifampin ลดระดับยาต้านไวรัส HIV
  • ยาลดไขมันในเลือด ได้แก่ Simvastatin, Lovastatin เพิ่มระดับยาลดไขมันในเลือด
  • ยากันชัก ได้แก่ Phenobarbitol, Phenytoin, Carbamazepine ลดระดับยาต้านไวรัส HIV

ปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร
สมุนไพร บางชนิด ได้แก่ St.John’s wort, Grapefruit juice มีผลลดระดับยาต้านไวรัสในเลือด ทำให้การรักษาการติดเชื้อ HIV ไม่ได้ผล จึงควรหลีกเลี่ยงสมุนไพรดังกล่าว

สมุนไพรที่ใช้ร่วมและผลที่เกิด

St. John’s wort ลดระดับยาต้านไวรัส HIV


ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร
ยาต้านไวรัส ผลของอาหาร และคำแนะนำในการรับประทานยา

กลุ่ม NRTIs ได้แก่ Videx (ddI) อาหารลดระดับยาในเลือดลงร้อยละ 55 รับประทานก่อนอาหารหนึ่งชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง

กลุ่ม PIs ได้แก่ Crixivan (Indinavir) อาหารลดระดับยาในเลือดลงร้อยละ 77

Grapefruit juice ลดระดับยา indinavir ลงร้อยละ 26 รับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือ หลังอาหาร 2 ชั่วโมง

กลุ่ม NNRTIs ได้แก่ Stocrin (Efavirenz) อาหารที่มีไขมันสูงจะเพิ่มระดับยาในเลือด ร้อยละ 50 ซึ่งอาจทำให้เกิดพิษจากยาได้ ไม่ควรรับประทานพร้อมกับอาหารที่มีไขมันสูง


อาการไม่พึงประสงค์ของยาต้านไวรัส HIV

ยาต้านไวรัส อาการไม่พึงประสงค์
  • กลุ่ม NRTIs
Antivir, Retrovir (AZT) คลื่นไส้อาเจียน โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ

Videx (ddI) ตับอ่อนอักเสบ, ชาปลายมือปลายเท้า, กรดยูริกในเลือดสูง

Stavir, Zerit (d4T) ตับอ่อนอักเสบ, ชาปลายมือปลายเท้า

Ziagenavir (Abacavir) ปฏิกิริยาภูมิแพ้, อ่อนเพลีย, เปลี้ย, น้ำหนักลด

  • กลุ่ม NNRTIs

Stocrin (Efavirenz) ผื่น, อาการข้างเคียงของระบบประสาทส่วนกลาง (มึนงง, นอนไม่หลับ, ฝันร้าย), เอนไซม์ตับเพิ่ม

Viramune (Nevirapine) ผื่น, ตับอักเสบ, เอนไซม์ตับเพิ่ม

  • กลุ่ม PIs
Kaletra (Lopinavir/Ritonavir)
Viracept (Nelfinavir)
Norvir (Ritonavir)
Fortavase (Saquinavir)
Crixivan (Indinavir) ยากลุ่มนี้ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูง, ไขมันในเลือดสูง, การสะสมของเนื้อเยื่อไขมันในร่างกายผิดปกติ (แก้มตอบ, แขนขาลีบ, ท้องโต, มีหนอกที่หลัง)

หมายเหตุ: Crixivan ทำให้เกิดนิ่วในไต ดังนั้นควรดื่มน้ำมาก ๆ ตามไปอีก 1 ลิตร หลังรับประทานยา

พึง ระลึกไว้ว่า อาการเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางรายไม่ได้เกิดขึ้นในผู้ป่วยทุกราย ยานั้นคือสิ่งที่ผลิตมาเพื่อรักษาคน ดังนั้น อย่ากลัวในการที่จะต้องทานยาต้านไวรัสมากเกินไปนัก และถ้ามีปัญหาสงสัยใดๆหรือข้องใจก็สามารถถามเภสัชกรหรือแพทย์ได้ตลอดเวลา เพราะนั่นคือสิทธิของเราที่จะรับรู้ข้อมูลในการรักษาตนเอง

หากท่านเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ให้กลับมาพบแพทย์ทันทีเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษา

วิธีการเก็บรักษายา
  • เก็บยาให้พ้นแสง
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
  • ยาเม็ด Norvir (Ritonavir) ควรเก็บในตู้เย็น อุณหภูมิ 2-8°C
  • ยาน้ำ Norvir (Ritonavir) ไม่ควรเก็บในตู้เย็น
  • ยาเม็ดแคปซูลนิ่ม Fortovase (Saquinavir) สามารถเก็บในตู้เย็น อุณหภูมิ 2-8°C หรือที่อุณหภูมิห้อง (เก็บได้นานถึง 3 เดือน)
  • Kaletra (Lopinavir/Ritonavir) สามารถเก็บในตู้เย็น หรือที่อุณหภูมิห้อง (เก็บได้นาน 2 เดือน)
  • Crixivan, Viracept เก็บที่อุณหภูมิห้อง
ที่มา : ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี

27 สิงหาคม 2552

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ คือ กุญแจดอกสำคัญสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพ ระบบภูมิคุ้มกันปกป้องเราจากโรคทุกชนิดนับตั้งแต่หวัดไปจนถึงโรคมะเร็ง ช่วยต่อสู้กับพิษจากอาหาร ควบคุมอาการแพ้และชะลอความชรา แต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ การใช้ชีวิตโดยไม่ดูแลสุขภาพแวดล้อมที่เป็นพิษล้วนบั่นทอนระบบภูมิคุ้มกัน ให้อ่อนแอลง ส่งผลให้เรามีโอกาสที่จะเป็นโรคต่างๆ ตั้งแต่หวัดไปจนถึงการติดเชื้อต่าง ๆ ที่รุนแรง

ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร

ระบบ ภูมิคุ้มกันทำหน้าที่เสมือนกองทัพที่ปกป้องร่างกาย ส่วนใหญ่อยู่ในระบบทางเดินน้ำเหลืองและกระแสเลือด แม้ว่าผิวหนังและอวัยวะอื่น ๆ เช่น ระบบการย่อยก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ระบบทางเดินน้ำเหลืองประกอบด้วยโครงข่ายของท่อน้ำเหลืองซึ่งลำเลียงของเหลว จากช่องว่างระหว่างเซลล์กลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต นอกจากนี้ ยังมีต่อมน้ำเหลือง ม้าม และต่อมไทมัส ซึ่งต่างก็ผลิตลิมโฟไซต์อันเป็นเซลล์ที่คอยตรวจจับทำลายและกำจัดสารแปลกปลอม จุลินทรีย์ และเซลล์มะเร็งทั้งหลาย ลิมโฟไซต์มี 2 ชนิด ได้แก่ บีเซลล์และทีเซลล์ บีเซลล์ซึ่งถูกผลิตโดยม้ามจะขับสารต้านเชื้อแปลกปลอม ขณะที่ทีเซลล์ซึ่งถูกผลิตในต่อมไทมัสสามารถทำลายสิ่งแปลกปลอมได้โดยตรง ในร่างกายยังมีเซลล์พิฆาตตามธรรมชาติ (เอ็นเค) ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้และกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยเฉพาะเซลล์มะเร็งโดยทันที เซลล์เม็ดเลือดขาวที่พบในเลือด ประกอบด้วยฟาโกไซต์ และลิมโฟไซต์มีบทบาทสำคัญในการทำลายแบคมีเรียที่มารุกราน รวมทั้งกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายและถูกทำลายลง ระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต้องมีดุลยภาพสมบูรณ์ ดังนั้น แม้ว่าระบบภูมิคุ้มกันจะมีหน้าที่หลักในการทำลายสิ่งแปลกปลอมแต่ก็อาจจะยอม ให้สารที่ร่างกายเราต้องการ เช่น อาหารผ่านเข้ามาได้ ดังตัวอย่างระบบนิเวศของภูมิคุ้มกันในลำไส้มีทั้งแบคทีเรียที่ดี และที่อันตรายตราบเท่าที่แบคทีเรียทั้งสองชนิดอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ระบบการย่อยจะยังคงแข็งแรง แต่หากแบคทีเรียที่อันตรายเริ่มมีจำนวนมากขึ้น อาจเป็นเพราะการรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูง ร่างกายจะมีปัญหาเรื่องการย่อยและการติดเชื้อราได้

ศัตรูของระบบภูมิคุ้มกัน

อวัยวะ และเซลล์ทั้งหลายของระบบภูมิคุ้มกันต้องการสารอาหารบางประเภทเพื่อ ช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล ตัวอย่างเช่น อินเตอร์เฟียรอนอันเป็นสารต้านไวรัสและมะเร็งที่ถูกขับออกมาโดยเนื้อเยื่อ ทั่วร่างกายต้องการวิตามินซีสำหรับการผลิต ส่วนไลโซไซม์ซึ่งเป็นเอนไซม์ต้านแบคทีเรียที่พบในของเหลวในร่างกายเช่น น้ำตาลและเลือด ต้องการวิตามินเอ ดังนั้น อาหารที่ไม่มีคุณภาพจะบั่นทอนระบบภูมิคุ้มกันให้อ่อนแอโดยทันที ศัตรูอื่นๆ ของระบบภูมิคุ้มกันได้แก่ ความเครียด การสูบบุหรี่ การบริโภคแอลกอฮอล์และคาเฟอีนมากเกินไป ยา (ทั้งเพื่อการแพทย์และเพื่อการผ่อนคลาย) สารปรุงแต่งอาหาร ยาฆ่าแมลง และมลพิษ

สัญญาณของภูมิคุ้มกันต่ำ

ระบบ ภูมิคุ้มกันที่ด้อยปะสิทธิภาพจะส่งสัญญาณให้เห็นได้ในเวลาไม่นาน เป็นเรื่องปกติที่คนเราส่วนใหญ่จะเป็นหวัดกันปีละครั้งสองครั้ง แต่ภูมิคุ้มกันที่ถดถอยจะทำให้เราเปราะบางต่อเชื้อหวัดหรือเชื้อไข้ต่าง ๆ และอาจทำให้เราติดเชื้อได้บ่อยครั้ง สัญญาณอื่นๆ ของภูมิคุ้มกันที่ไร้ประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบการย่อยผิดปกติ ความอ่อนล้า อาการปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ อ่อนแรง และผิวพรรณที่หมองคล้ำ

ระบบภูมิ คุ้มกันที่ไม่สมดุลยังอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาหารเป็นพิษ เมื่อสารที่เป็นตัวกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าจู่โจมในทันที จากนั้นจะขับสารฮิสตามีนและสารอื่นๆ เพื่อขับไล่สิ่งที่มันมองว่าเป็นผู้รุกราน ส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงปรารถนาต่างๆ ได้

อาการต่อต้านเนื้อเยื่อของ ตัวเองเกิดขึ้นเมื่อร่างกายถูกใช้งานมากเกินไป และเริ่มผลิตแอนตีบอดีที่เข้าจู่โจมเนื้อเยื่อของตัวเอง โรคภูมิแพ้ตัวเองและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ต่างเป็นโรคที่เกิดจากการต่อต้าน เนื้อเยื่อของตัวเองทั้งคู่

อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน

ใน การรักษาเซลล์และอวัยวะสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงและอยู่ใน ภาวะสมดุล เราจำเป็นต้องรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง ระบบภูคุ้มกันทั้งหมดต้องอาศัยวิตามินซีในการทำงาน ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดนี้สูง ซึ่งผลไม้และผักส่วนใหญ่มีปริมาณวิตามินซีที่สูงอยู่แล้ว วิตามินเอเป็นสารต้านไวรัสที่ทรงพลังและช่วยบำรุงต่อมไทมัส วิตามินพบได้ในตับผลิตภัณฑ์จากนม ปลาที่มีไขมันสูง น้ำมันตับปลา รวมทั้งเบตาแคโรทีนในพืชผักที่ร่างกายเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ วิตามินบีสำคัญต่อการทำงานของฟาโกไซต์ (เซลล์เม็ดเลือดขาว) และมิตามินอี อีกหนึ่งสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอานุภาพ และช่วยกระตุ้นการผลิตแอนตีบอดี แร่ธาตุบางชนิดมีความสำคัญเช่นกัน แคลเซียมช่วยเซลล์ฟาโกไซต์ในการทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม ซีลีเนียมจำเป็นสำหรับการผลิตแอนตีบอดี ธาตุเหล็กเสริมภูมิต้านทานโดยรวม ขณะที่หลายๆ กระบวนการของระบบภูมิคุ้มกันรวมทั้งการเติบโตของทีเซลล์ต้องการสังกะสีเป็น อย่างมาก แร่ธาตุส่วนใหญ่พบได้ในเมล็ดพันธุ์พืช ถั่วเปลือกแข็ง และผักใบเขียว

โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นต่อภูมิต้านทานที่เข้มแข็ง เนื่องจากร่างกายต้องใช้โปรตีนในการผลิตเซลล์ต่างๆ รวมทั้งแอนตีบอดี และเอนไซต์ของระบบภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างเช่น กรดอะมิโนกรูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและสารล้างพิษที่สำคัญ ผู้คนส่วนใหญ่ขาดโปรตีน เราจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นปริมาณมากๆ เช่น ถั่ว เมล็ดพันธุ์ เนื้อ และปลา

สารอาหารที่สำคัญชนิดอื่นๆ ได้แก่ ใยอาหารที่พบได้ในเมล็ดข้าวพันธุ์ต่างๆ ผลไม้ และผักใยอาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อระบบการย่อย ช่วยทำให้ลำไส้สะอาดป้องกันการสะสมของสารพิษและช่วยป้องกันการแพร่พันธุ์ของ แบคทีเรียที่อันตราย ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนมีความสำคัญเนื่องจากมีปริมาณกรดไขมันโอเมกา 3และ 6 สูง ซึ่งช่วยลดอาการอักเสบและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยรวม จึงควรรับประทานถั่ว เมล็ดพันธุ์พืช และปลาที่มีไขมันมากๆ

นอกจาก บรรดาสารอาหารที่รู้จักกันโดยทั่วไปแล้ว อาหารบางชนิดก็มีคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ผักใบเขียว เช่น บรอกโคลี และกะหล่ำปลีมีสารคุณค่าพืชผักที่เรียกว่ากลูโคซิโนเลตซึ่งเป็นสารต้าน มะเร็งที่มีฤทธิ์สูง แตงโม เกรปฟรุตสีชมพู และมะเขือเทศมีปริมาณไลโคฟีนสูงซึ่งเป็นสุดยอดสารอาหารต้านมะเร็งอีกชนิด หนึ่ง ขณะที่ผลไม้จำพวกเบอร์รี่ เช่น สตรอเบอร์รี่ และราสเบอร์รี่ มีสารต้านการอักเสบแอนโทไซยานิน และกรดเอลลาจิกที่สามารถช่วยลดการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง
ขั้นตอนอื่นๆ ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

นอก จากการรับประทานอาหารที่ทำให้สุขภาพดีแล้วยังมีสิ่งอื่นๆ อีกมากมายที่คุณสามารถทำได้เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเอง ตัวอย่างเช่น การที่คุณออกกำลังกายมากขึ้นจะกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำเหลืองในเซลล์ภูมิ คุ้มกันทั้งร่างกาย การออกกำลังกายยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยนำออกซิเจนไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย คุณไม่จำเป็นต้องไปยิม เพียงแค่ทำตัวให้กระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ และเดินเร็ววันละครึ่งชั่วโมงก็พอแล้ว อันที่จริงนักกีฬาต่างหากที่มีแนวโน้มจะมีสุขภาพไม่ดี เนื่องจากการออกกำลังกายมากเกินไปอาจกดภูมิคุ้มกันได้ ความสำคัญของการมีทัศนคติที่ดีต่อชีวิตและการมีสังคมที่ดีก็ไม่อาจมองข้าม ได้ งานวิจัยจำนวนมากพบว่าการหัวเราะ การมองโลกในแง่ดี และการพูดคุยเรื่องขำขันกับเพื่อนสามารถเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้ การนอนหลับอย่างพอเพียงก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน การได้รับแสงแดดจากธรรมชาติเป็นเคล็ดลับในการกระตุ้นอารมณ์และภูมิคุ้มกัน โยคะและการนั่งสมาธิสามารถลดความเครียด และช่วยให้ผ่อนคลายได้

ช่วยจำ : สิ่งที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

* อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินบีรวม วิตามินซี และวิตามินอี
* อาหารที่แร่ธาตุสูงไม่ว่าจะเป็นสังกะสี ซีลีเนียม หรือแคลเซียม
* กรดไขมันในกลุ่มโอเมกา 3 และโอเมกา 6 ซึ่งพบได้ในถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช และปลาที่มีไขมันสูง
* โปรตีนซึ่งพบมากในเนื้อไม่ติดมันปลา และเมล็ดพืชจำพวกถั่ว
* ใยอาหาร พบในเมล็ดพืชจำพวกข้าว ถั่ว ผลไม้และผัก
* การเข้าสมาคมกับมิตรสหาย
* การมองชีวิตในแง่ดี
* การออกกำลังกายเป็นประจำ
* การพักผ่อนให้เพียงพอ
* แสงสว่างในตอนกลางวัน
* โยคะและการทำสมาธิ

ช่วยจำ : ศัตรูของภูมิคุ้มกัน

* การขาดมิตามินและแร่ธาตุ
* น้ำตาล
* ความเครียด
* การสูบบุหรี่
* การบริโภคแอลกอฮอล์เกินขนาด
* การขาดการออกกำลังกาย
* การนอนหลับไม่เพียงพอ

อาหารติดดาวสำหรับระบบภูมิคุ้มกัน

บีทรูท เห็ดหอม อโวคาโด คะน้าใบหยิก เกรปฟุต บลูเบอร์รี่ ถั่วบราซิล ถั่วเหลือง ชาเขียว กระเทียม

ข้อมูลจากหนังสือ The top 100 immunity booster

ไวรัสโหลด

ไวรัสโหลด(Viral load) คืออะไร
Viral load หมายถึงปริมาณไวรัสในเลือด ซึ่งในที่นี้คือปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือดนั่นเอง

การ มีเชื้อเอชไอวีในเลือดมากอาจมีผลให้จำนวน CD4 ลดลงอย่างรวดเร็ว และมีความเสี่ยงสูงที่อาการของโรคจะรุนแรงขึ้น หรืออาจทำให้เกิดกลุ่มอาการโรคเอดส์ขึ้น

ในผู้ป่วยที่รับยาต้าน ไวรัสมักจะพบว่าจำนวน CD4 เพิ่มขึ้น ร่วมกับการลดลงของปริมาณไวรัส การติดตามปริมาณไวรัสจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ผลดีมาก น้อยเพียงไร

การตรวจหาปริมาณไวรัสคืออะไร
การ ตรวจหาปริมาณไวรัส เป็นการประมาณจำนวนเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในของเหลว เช่นน้ำเหลือง เลือด ซึ่งทำได้โดยการหาสารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี ซึ่งเรียกว่า HIV RNA

ผลการตรวจหาปริมาณไวรัสจะแสดงเป็น จำนวน copies ของ HIV RNA ต่อมิลลิลิตร (หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีความใกล้เคียงกับจำนวนไวรัส) ตัวอย่างเช่น ปริมาณไวรัส 200 จะเขียนเป็น 200 copies/ml อย่างไรก็ตามแพทย์มักจะอธิบายผลปริมาณไวรัสโดยใช้เพียงตัวเลขเท่านั้น

การ ตรวจหาปริมาณไวรัสสามารถทำได้หลายวิธี การตรวจด้วยวิธีต่างๆจะใช้วิธีการที่ต่างกันในการหาจำนวนของเชื้อเอชไอวี อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้จะให้ผลที่เชื่อถือได้ใกล้เคียงกัน โดยแสดงผลเป็นปริมาณไวรัสต่ำ ปานกลาง หรือสูง วิธี PCR (polymerase chain reaction) เป็นหนึ่งในหลายๆวิธีที่นำมาใช้อย่างแพร่หลาย

ใน ปัจจุบันการตรวจแบบความไวสูง (ultra-sensitive) ได้ถูกนำมาใช้ วิธีดังกล่าวสามารถตรวจพบปริมาณไวรัสได้ถึงแม้จะมีอยู่ในปริมาณที่น้อยเพียง แค่ 50 copies/ml หากผู้ป่วยมีปริมาณไวรัสต่ำกว่า 50 copies/ml มักจะเรียกเพียงแค่ undetectable ซึ่งหมายถึงไม่สามารถตรวจพบได้ โดยทั่วไปการมีผลตรวจเป็น undetectable ถือเป็นจุดหมายหลักของการรักษาด้วยยาต้านไวรัส

ทำความรู้จักกับผลตรวจปริมาณไวรัส

ปริมาณไวรัสมากกว่า 100,000 copies/ml ถือว่ามีปริมาณไวรัสสูง ในขณะที่ผลที่ต่ำกว่า 10,000 copies/ml จะถือว่าต่ำ

อย่าง ไรก็ตามหากผู้ป่วยไม่ได้รับยาต้านไวรัส การตรวจหาปริมาณไวรัสจะได้ผลไม่ค่อยคงที่เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยมากผลดังกล่าวไม่มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยแต่อย่างใด

การ วิจัยโดยการตรวจหาปริมาณไวรัสในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาต้านไวรัสพบว่าการตรวจ หาปริมาณไวรัสสองครั้งจากต ัวอย่างเลือดอันเดียวกันจะให้ผลที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัสจึงไม่ต้องกังวลหากพบว่าปริมาณ ไวรัสเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ไปเป็น 15,000 copies/ml หรือแม้แต่การเพิ่มขึ้นจาก 50,000 ไปเป็น 100,000 copies/ml ก็ไม่ได้มีความสำคัญแต่อย่างใดหากผู้ป่วยไม่ได้รับยาต้านไวรัส ถึงแม้จะดูราวกับว่าปริมาณไวรัสเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัวก็ตาม ค่าดังกล่าวยังอยู่ในขอบเขตที่การตรวจวัดสามารถผิดพลาดได้

แทนที่ จะสนใจเพียงแค่ค่าปริมาณไวรัสจากการตรวจในแต่ละครั้ง ผู้ป่วยควรจะสังเกตแนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณไวรัส ในบางครั้งช่วงเวลาที่เจาะเลือดอาจมีผลต่อการตรวจหาปริมาณไวรัส และหากผู้ป่วยกำลังไม่สบายจากการติดเชื้อใดใดก็จะมีผลทำให้ปริมาณไวรัสสูง ขึ้นก่อนที่จะลดลงอีกครั้ง การฉีดวัคซีนก็อาจมีผลต่อปริมาณไวรัสเช่นกัน

ผู้ ป่วยควรตั้งข้อสังเกตเอาไว้หากพบว่าปริมาณไวรัสที่ตรวจมีแนวโน้มสูงขึ้น ติดต่อกันหลายเดือน หรือหากพบว่าค่าที่เพิ่มขึ้นนั้นมีการเพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่า ตัวอย่างเช่น การมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ไปเป็น 15,000 ไม่ถือว่ามีความผิดปกติแต่อย่างใด แต่หากพบว่ามีการเพิ่มขึ้นจาก 5,000ไปเป็น 25,000 แสดงว่าอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น

Undetectable viral load (ปริมาณไวรัสเป็น undetectable หรือตรวจไม่พบปริมาณไวรัส)

การ ตรวจหาปริมาณไวรัสจะมีค่าที่ถูกเรียกว่า cut-off point (หมายถึงจุดต่ำสุดที่การวัดนั้นสามารถวัดได้) ค่าที่ต่ำกว่า cut-off point ถือว่าไม่สามารถเชื่อถือค่านั้นได้ ซึ่งอาจเรียกได้อีกอย่างว่า limit of detection (หมายถึงข้อจำกัดของการวัด) วิธีตรวจแบบ PCR จะมี limit of detection อยู่ที่ 50 copies/ml หากปริมาณไวรัสต่ำกว่านี้จะถือว่าเป็น undetectable ซึ่งหมายถึงตรวจไม่พบปริมาณไวรัสนั่นเอง

อย่างไรก็ ตามแม้ว่าปริมาณไวรัสจะต่ำมากจนไม่สามารถตรวจพบได้ก็ไม่ได้หมายความว่าเชื้อ เอชไอวีหายไปจากกระแ สเลือด ยังมีความเป็นไปได้ที่เชื้อเอชไอวีจะยังคงมีอยู่ในเลือดในปริมาณที่ต่ำมากๆ จนไม่สามารถตรวจวัดได้ (เนื่องมาจากข้อจำกัดของวิธีการตรวจวัด) และเนื่องจากการตรวจหาปริมาณไวรัสเป็นเพียงการตรวจหาไวรัสที่อยู่ในเลือดจึง มีความเป็นไปได้ที่ปริมาณไวรั สในตำแหน่งอื่นของร่างกายเช่นที่ต่อมน้ำเหลืองหรือสารคัดหลั่งอื่นๆอาจมีมาก พอที่จะตรวจพบได้

การมีปริมาณไวรัสเป็น undetectable มีผลดีอย่างไร

มี เหตุผลสองประการหลักคือ หนึ่ง ค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำจากการเจ็บปวยอันเนื่องมา จากเชื้อเอชไอวี สอง เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดการดื้อยาต้านไวรัส

เชื้อ เอชไอวีจะเกิดการดื้อยาได้ก็ต่อเมื่อเชื้อยังสามารถเพิ่มจำนวนได้ตามปกติใน ขณะที่ผู้ป่วยทานยาต้านไว รัสอยู่ หากการเพิ่มจำนวนไวรัสถูกกดให้ต่ำลงมากๆ การที่จะเกิดการดื้อยาก็จะถูกชะลอออกไป หรือแม้แต่ไม่เกิดการดื้อยาขึ้นเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรับยาต้านชนิดดังกล่าวยังคงให้ผลดีอยู่

จาก เหตุผลดังกล่าว แพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยจากโรคติดเชื้อเอชไอวีจึงตั้งเป้าหมายของการรักษา ไว้ที่การทำให้ปริมาณไวรัสเป็ น undetectable ให้เร็วที่สุด เช่นภายใน 24 สัปดาห์ภายหลังเริ่มให้ยาต้านไวรัสกับผู้ป่วย

ผู้ป่วยบางคนอาจใช้ เวลาตั้งแต่ 3 ถึง 6 เดือนในการไปถึงจุดดังกล่าว ในขณะที่บางคนอาจใช้เวลาแค่ 4 ถึง 12 สัปดาห์ หรืออาจเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยบางคนไม่สามารถไปถึงจุดดังกล่าวเลย

Viral load blips (การมีปริมาณไวรัสกระโดดสูงขึ้น)

ถึง แม้ผู้ป่วยจะมีปริมาณไวรัสอยู่ในระดับ undetectable การตรวจในบางครั้งอาจพบว่ามีค่าสูงกว่า 50 copies/ml ไปเป็น 100 หรือ 200 copies/ml ก่อนที่จะหล่นกลับมาอยู่ที่ undetectable อีกครั้ง ปรากฎการณ์ดังกล่าวเรียกว่า Viral load blips ซึ่งไม่ได้บ่งว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสล้มเหลวแต่อย่างใด โดยมากการเกิด blips มักจะเป็นผลจากความผิดพลาดในการตรวจวัดโดยห้องปฏิบัติการ

ปริมาณไวรัสในผู้หญิง

ผู้หญิง มักจะมีปริมาณไวรัสต่ำกว่าผู้ชายที่มีค่า CD4 ใกล้เคียงกัน ซึ่งปรากฏการณืดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อการดำเนินโรคแต่อย่างใดและ เหตุผลของปรากฏการณ์ดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเป็นไปได้ว่าผู้หญิงมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่าหรือการเพิ่มจำนวน ของไวรัสในผู้หญิงต่ำกว่าโดยธรร มชาติเอง

Log viral load คืออะไร

ในบางครั้งปริมาณไวรัสอาจแสดงเป้นค่า log เนื่องมาจากค่าดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างได้ถึง 10 เท่า

โดย ปกติค่าจะแสดงเป็น log ฐาน 10 นั่นคือ 1.0 log มีค่าเท่ากับ 10, 2.0 log มีค่าเท่ากับ 10 ยกกำลัง 2 ซึ่งก็คือ 100, 3.0 log จะเท่ากับ 1000, 4.0 log จะเท่ากับ 10000 และ 5.0 log จะเท่ากับ 100000

หากผู้ป่วยมีค่า 3.5 log ก็หมายความว่ามีปริมาณไวรัสมากกว่า 3.0 log ถึง 5 เท่า

บางครั้งการใช้ค่า log จึงง่ายต่อการอ่านผลการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการดูเป็นจำนวน copies/ml

สรุป

ไวรัส โหลดคือจำนวนของไวรัสต่อเลือดโดยประมาณ1หยดครับ เช่นถ้าหมอบอกว่ามีไวรัส5000 ก็คือในเลือดเรามีไวรัสอยู่5000ตัวต่อเหลือด1หยดครับ ไวรัสต่ำกว่า30000เรียกว่าน้อย 100000ขึ้นไปเรียกว่าเยอะครับ

การตรวจหาไวรัสที่เขาตรวจกันก็เพื่อดูว่าซีดีเราจะตกลงเร็วแค่ไหน แบบว่าไวรัสเยอะก็ตกเร็วกว่าพวกไวรัสน้อย

การ ตรวจไวรัสโหลดจริงๆแล้วไม่จำเป็น แต่ถ้าไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน สำหรับผม รู้ไว้ก็ดีครับ โดยเฉพาะเวลาที่ซีดีอยู่ในช่วงคาบเกี่ยวแบบ350-200 เพราะถ้าซีดีอยู่ในช่วงนี้แต่ไวรัสไม่พุ่งกระชูดเป็นแสนๆ ก็ยังยืดเวลารับยาต้านได้บ้าง แต่ในทางกลับกัน ถ้าซีดีอยู่ในช่วงนี้ แต่ไวรัสเป็นแสนเป็นล้าน อย่างนั้นก็ควรเริ่มยาต้านได้เลยครับ

ที่มา : http://pha.narak.com/topic.php?No=15271

การตรวจ CD4 ในหลักสูตรเทคนิคการแพทย์

Absolute CD4 = (%CD4 * WBC * %Lymphocyte ) / 10000
ค่าปกติในหญิงช่วงค่าประมาณ 410-1264 ในคนธรรมดาไม่เป็นH
ค่าปกติในชายช่วงค่าประมาณ 470-1404 ในคนธรรมดาไม่เป็นH

ฉะนั้นค่าจะไม่เหมือนกัน เพราะยังขึ้นกับ เม็ดเลือดขาว มีกี่เม็ดในเลือด กับ % Lymp ก็ไม่เท่ากัน
บางคน มี เม็ดเลือดขาวเยอะ 10000 บางคนน้อยมาก 3000

ค่าปกติเม็ดเลือดขาว หรือ WBC คือ ประมาณ 5000-10000 cells/cu.mm.
ส่วนค่า % Lymp จะไม่เหมือนกัน บางคน สูง บางคนต่ำ
ค่าปกติ ของ % Lymp อยู่ในช่วงประมาณ 19-48 %
ฉะนั้น มันต้องดู ค่าทั้ง 3 อย่าง เเละนำไปใส่สมการสูตรคำนวณออกมา เพราะฉะนั้น ค่าที่เป็น Absolute CD4 นั่นเเหล่ะเป็นค่าที่นำไปเป็นเกณฑ์การรับยาต้านไวรัส ถ้าต่ำกว่า 200 ลงมา ก็ทานยาได้ไปหาหมอขอยาต้านได้เลย
ถ้ายังสูง มากกว่า 200 ก็อย่าเพิ่งกินยาต้าน ให้รักษาตามอาการเเทรกซ้อนด้วยยาเฉพาะโรคอื่นๆไปก่อน น่ะครับ

ทีนี้เรามาดู ค่าอื่นๆ ในการตรวจ CBC กันบ้าง
+ Neutrophils (NEUT) ค่าปกติ 40 - 74 % : จะพบสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อจำพวกแบคทีเรีย

+ Lymphocytes (LYMP) ค่าปกติ 19 - 48 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลัน หรือภาวะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรื้อรัง

+ Monocytes (MONO) ค่าปกติ 3 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในผู้ที่อยู่ในระยะฟื้นจากการติดเชื้อทั่วไป

+ Eosinophils (EOS) ค่าปกติ 0 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีภูมิแพ้ (Allergy), ภาวะที่มีพยาธิในร่างกาย

+ Basophils : ค่าปกติ 0 - 2 % จะค่าสูงในพวกเป็นภูมิแพ้ต่างๆครับ

+ ค่าPlatelet Count (PLT) คือการนับจำนวนของเกร็ดเลือดต่อ mL ในเลือด ค่าปกติ 130,000 - 400,000 cells /m
(เกร็ด เลือดมีความจำเป็นที่ทำให้เลือดแข็งตัว) ถ้าต่ำกว่า 100,000/mL ถือว่าน้อยไปอาจทำให้เลือดหยุดยาก ตรงกันข้ามถ้ามากไป คือสูงกว่า 400,000/mL จะทำให้เลือด แข็งตัวได้ง่ายขึ้น และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด

การ ตรวจสภาพการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen and Creatinine) ในกรณีทานยาต้านไวรัส ที่มี สูตรยา 3TC และ d4T จะต้องตรวจ ตับ ตรวจไตด้วยครับ
1. Blood Urea Nitrogen (BUN) คือการหาสาร Urea Nitrogen ในเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ทั้งนี้เนื่องจาก ยูเรียเป็นผลิตผลสุดท้ายของการเผาผลาญโปรตีน ซึ่งจะถูกขับออกทางไต ค่าปกติ 8-16 mg/dl

BUN เพิ่มขึ้น พบได้ในกรณีที่มีการสังเคราะห์ยูเรียมากไป โดยอาจมาจากสาเหตุจาก
* การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
* มีการทำลายของโปรตีนในร่างกายมาก เช่น ภาวะไข้, ติดเชื้อ,ได้รับการผ่าตัดใหญ่
* ระยะหลังของการตั้งครรภ์
* มีภาวะขาดน้ำ เช่น ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

2 Creatinine (Cr) คือการหาสาร Creatinine ในเลือดเพื่อประเมินสมรรถภาพของไต ค่าปกติ 0.6 – 1.3 mg/dl
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตน ในกรณีที่มีค่า BUN และ Creatinine สูงกว่าปกติ
* ควรลดอาหารที่มีรสเค็มจัด
* หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
* ควรปรึกษาแพทย์


การตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ (SGOT and SGPT)
1. Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase (SGOT) คือ enzyme ซึ่งอยู่ในเนื้อเยื่อของหัวใจ ตับ กล้ามเนื้อไต สมอง ตับอ่อน ม้าม และปอด หากเนื้อเยื่อเหล่านี้ได้รับอันตราย SGOT ในเลือดจะสูงขึ้น และจะเพิ่มทันทีใน 12 ชั่วโมง แล้วค่อยๆต่ำลงเนื่องจากถูกเผาผลาญไป ค่าปกติ 0 - 37 U/L

2. Serum Glutamic Pyruvic Transaminase (SGPT) คือ enzyme ที่พบในตับ หัวใจ กล้ามเนื้อ และไต ใช้ในการหาอาการของตับอักเสบ และบอกได้เฉพาะเจาะจงกว่า SGOT
ค่าปกติ 0 - 4 0 U/L

การ ตรวจหา enzyme SGOT, SGPT เป็นการตรวจเพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของตับ มักจะพบว่าสูง ในคนที่ดื่มสุรามาเป็นเวลานาน หรือแม้แต่การดื่มเป็นบางโอกาสแต่ปริมาณมาก ก็อาจสูงได้ ในกรณีไม่ดื่มสุรา อาจจะเกิดได้จาก
+ เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบ B
+ การรับประทานยาบางอย่างที่มีผลต่อตับ
+ ถูกผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมีบางอย่างโดยสม่ำเสมอ (เช่นการฉีดยาฆ่ายุงโดยที่ไม่มีการป้องกันตัวเอง)
+ ทานยาต้านไวรัสเอดส์ บางอย่าง ทำให้ค่าผิดปกติ เช่น D4T 3TC เป็นต้น

CD4 กับ CD4%

CD4 cells บางครั้งถูกเรียกว่า T-cells หรือ T-helper cells เป็น cell เม็ดเลือดขาวซึ่งจัดระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่อการติดเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา และ ไวรัส

การนับปริมาณ CD4 ในกลุ่มคนไม่ติดเชื้อ HIV

ระดับปกติของ CD4 ในคนที่ไม่ติดเชื้อ HIV จะอยู่ระหว่าง 400 – 1600 ต่อ เลือด 1 ลบ.มม.
CD 4 ของผู้หญิงที่ไม่ติดเชื้อ HIV นั้นจะมีแนวโน้นมที่สูงกว่าเล็กน้อย คือ 500 – 1600.
ถึงแม้ว่าถ้าคุณไม่มีเชื้อ HIV แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณ CD4 ตามตัวอย่างต่อไปนี้เ

• ผู้หญิงมี CD4 สูงกว่าผู้ชาย ประมาณ 100
• CD4 ของผู้หญิงจะขึ้นและลงในช่วงที่มีประจำเดือน
• ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดจะทำให้ CD4 ลดลงได้
• บุคคลที่สูบบุหรี่จะมีแนวโน้มที่มี CD4 สูงกว่าปกติ ประมาณ 140
• CD4 จะลดระดับลงในขณะที่ร่างกายพักผ่อน และลดลงได้มากถึง 40%
• การหลับสนิทจะหมายถึง คุณจะมี CD4 ที่ต่ำในช่วงเช้า แต่จะมี CD4 ที่สูงขึ้นในช่วงบ่าย

ปัจจัยที่กล่าวมาไม่ทำให้เกิดความแตกต่างในการต่อต่านเชื้อโรคของระบบภูมิต้านทาน เนื่องจาก
CD4 ส่วนน้อยที่อยู่ในกระแสเลือด ส่วนที่เหลืออยู่ใน lymph nodes และ เนื้อเยื่อ และ การขึ้นลงที่กล่าวมาข้างบนนั้นอาจจะเกิดจากการย้ายตัวของ CD4 ระหว่าง เลือด และ เนื้อเยื่อ

การนับปริมาณ CD4 ในกลุ่มคนที่มีเชื้อ HIV

ไม่ นานหลังจากที่ติดเชื้อ HIV ระดับ CD4 ของคุณมีความเป็นไปได้ที่จะลดลงอย่างมาก ก่อนที่เริ่มคงที่ ที่ระดับ 500-600 มีข้อสังเกตว่าคนที่ CD4 ลดลงอย่างมากในช่วงติดเชื้อใหม่และไม่สามารถรักษาระดับที่คงที่ได้ มีแนวโน้มที่จะมีอาการของโรคเร็วกว่าปกติ

ถึงแม้ว่าร่างกายคุณจะปกติ และไม่มีอาการของ HIV แต่ CD4 นับล้านๆ ได้ติดเชื้อ HIV และ ถูกทำลาย ลงทุกวัน และ มีอีกนับล้านๆ cells เช่นกันที่ถูกสร้างใหม่เพื่อทดแทน

อย่าง ไรก็ตาม เป็นที่คาดกันว่า คนที่เป็น HIV แต่ยังไม่ได้รับการรักษา ระดับ CD4 จะลดลงประมาณ 45 เซลล์ในทุกๆ 6 เดือน โดยเฉพาะคนที่ยัง CD4 ที่สูงอาจจะมีแนวโน้มที่ CD4 จะลดลงในระดับที่มากกว่า

ระดับ CD4 ระหว่าง 200-500 แสดงให้เห็นว่าระบบภูมิต้านทานของร่างกายได้ถูกทำลายแล้ว

การ ลดลงอย่างมากของ CD4 เป็นสัญญาณของอาการที่จะเกิดขึ้นก่อน 1 ปี ก่อน กลายเป็นป่วยโรคเอดส์ และ แนะนำให้ตรวจ CD4 อย่างสม่ำเสมอเมื่อ CD4 ต่ำกว่า 350

ระดับ CD4 เป็นแนวทางในการประกอบการตัดสินใจเพื่อป้องกันโรคบางอย่างที่เกี่ยวเนื่อง กับ HIV ตัวอย่างเช่น ระดับ CD4 น้อยกว่า 200 ควรจะป้องกันอาการโรคปอดอักเสบ พีซีพี

ระดับ CD4 อาจจะผันผวนได้ ดังนั้นไม่ควรให้ความสำคัญกับการตรวจเพียงครั้งใดครั้งหนึ่ง แต่ควรดูแนวโน้มของ CD4 ในการตรวจในช่วงที่เพิ่งผ่านมามากกว่า

ถ้าระดับ CD4 ของคุณยังสูงและยังไม่ได้รับยาต้าน คุณอาจจะเพียงแค่ตรวจซ้ำทุก 2-3 เดือน ก็เพียงพอ

อย่าง ไรก็ตาม ถ้าระดับ CD4 ลดลงอย่างรวดเร็ว และ คุณรู้สึกไม่สบาย และ คุณอยู่ในโครงการทดลองทางการแพทย์หรือรับยาต้านแล้ว คุณควรจะตรวจ CD4 ให้บ่อยขึ้น

CD4 ในแบบเปอร์เซ็นต์

บาง ครั้งแพทย์จะทำการนับ CD4 แบบเปอร์เซ็นต์ คือ มีจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์จากจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด โดยทั่วไปสำหรับคนที่มีภูมิต้านทานปกติ จะมี CD4 อยู่ที่ 40% แต่ถ้า อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 20% จะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการป่วยที่เกี่ยวข้องกับเอดส์ เทียบเท่ากับ CD4 ระดับ 200

ระดับ CD4 และการรักษา HIV

ระดับ CD4 จะช่วยกำหนดการเริ่มรับยาต้านไวรัส HIV และเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการรักษาได้ผลหรือไม่

เมื่อระดับ CD4 ของคุณต่ำกว่า 350 แพทย์จะเริ่มแนะนำให้คุณรับยาต้านไวรัส ซึ่งในระดับนี้ยังขึ้นอยู่กับคุณว่าต้องการรับยาต้านหรือไม่

แต่ ถ้า CD4 อยู่ที่ 200-250 คุณควรจะต้องรับยาต้านไวรัส เนื่องจากระดับ CD4 บ่งชี้ว่าคุณมีความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวกับ เอดส์

แต่ถ้าคุณรอจนกระทั้ง CD4 อยู่ในระดับต่ำกว่า 200 คุณมีแนวโน้มที่ตอบสนองต่อยาต้านไวรัสได้น้อย ในขณะที่คนที่มี CD4 มากว่า 350 จะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆเลยถ้าบุคคลนั้นรับยาต้านไวรัส

เมื่อคุณ เริ่มรับยาต้านแล้ว ระดับ CD4 จะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แต่ถ้าระดับ CD4 ยังคงลดลงในการตรวจหลายๆครั้ง คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผิดปกติในการรักษา

อันนี้เป็นค่ามาตรฐานของห้องแลป รพ. บำราศนราดูรนะครับ
ค่า CD4 ของคนปกติ = 529 - 1,351
ค่า CD4% ปกติ = 29 - 41%

เกล็ดเล็กเกล็ดน้อยที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์

รับเชื้อมาแล้ว เชื้อไปไหนบ้าง
เมื่อ เชื้อเข้าสู่ร่างกาย มันก็ถูกเม็ดเลือดขาวจับกิน ถ้าเป็นเชื้ออื่นก็โดนเขมือบเรียบร้อย แต่นี่เพราะมันคือเอดส์ วายร้ายไวรัสเอดส์ก็จัดการก็อปปี้ตัวเอง จนเป็นไวรัสตัวใหม่แล้วก็ก็อปปี้ๆๆๆ จนเม็ดเลือดขาวแตกตาย มันก็ออกมาเวียนว่ายอยู่ในกระแสเลือด (แล้วก็ไปโจมตีเม็ดเลือดขาวตัวอื่นต่อไป) ถึงตอนนี้ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทาน (Antibody) ขึ้นมา
ช่วงระยะเวลา จากรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จนเชื้อไวรัสออกสู่กระแสเลือด ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 - 6 สัปดาห์ ช่วงนี้ถ้าจะตรวจหาว่ามีเชื้อเอดส์หรือไม่ ก็สามารถตรวจได้ โดยตรวจ "แอนติเจน"
กว่าร่างกายจะสร้างแอนติบอดี ก็ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน ดังนั้น ถ้าจะตรวจแอนติบอดีได้ อย่างเร็วที่สุดก็ 3 สัปดาห์ (ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะมีแอนติบอดีขึ้นเร็วอย่างนี้เสมอไป)

เลือดบวก แปลว่าอะไร ?
ก่อน อื่น ขอทำความเข้าใจกับคำว่า "บวก" และ "ลบ" ก่อน คำนี้แปลมาจากภาษฝรั่ง ว่า "positive" และ "negative" ไม่รู้ใครเป็นคนแปลเป็นคนแรก แล้วก็ใช้กันมาโดยตลอด แหม..เล่นแปลกันตรงตัวเลย ความจริงมันไม่ใช่ บวก หรือ ลบ ในความหมายทางคณิตศาสตร์ แต่หมายถึงว่า "มี" หรือ "พบเชื้อ" หรือ "พบร่องรอย" เช่น เราเจาะเลือดมาจำนวนหนึ่ง อยากรู้ว่าเลือดนี้ มีเชื้อ A (สมมุติว่าเรียกเชื้อนี้ว่า เชื้อ A) เราก็เอาน้ำยาที่ตรวจหาเชื้อ A มาทำปฎิกริยากับเลือด ถ้า "มีเชื้อ" หรือ "มีร่องรอย" ฝรั่งก็เรียก "positive" เราก็เรียกว่า "เลือดบวกต่อเชื้อ A"
ถ้าอยากรู้ว่าติดเชื้อ ซิฟิลิสหรือเปล่า เราก็เอาน้ำยาตรวจหาซิฟิลิสมาทำ ปฎิกริยากับเลือด ถ้ามีเชื้อซิฟิลิส ก็เรียกว่า เลือดบวกต่อซิฟิลิส ถ้าตรวจการตั้งครรภ์ เอาเลือดมาหาฮอร์โมน ถ้ามีฮอร์โมนที่แสดงว่าตั้งครรภ์ ก็เรียกว่า เลือดบวกต่อการตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงอยู่ที่ว่า เอาเลือดไปตรวจหาอะไร ถ้าตรวจหาเอดส์ แล้วให้ผลบวก ก็บอกว่า เลือดบวกต่อเชื้อเอดส์ ดังนั้น "เลือดบวก" ต้องระบุให้ชัดว่าบวกจากอะไร จะพูดว่าเลือดบวกเฉยๆ ไม่ได้

"ติดเชื้อ" กับ "เป็นเอดส์" เหมือนกันไหม
" ติดเชื้อ" หมายถึงรับเชื้อมาแล้ว มีเชื้อในร่างกายของเรา ตรวจเลือดเอดส์ก็ให้ผลบวก แต่ก็ยังไม่มีอาการอะไร บางคนกินยายับยั้งเชื้อเอดส์ พร้อมกับรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ก็สามารถมีชีวิตเหมือนคนปกติ (ดูหน้าตาก็ไม่รู้) เพียงแต่มีเลือดเอดส์เป็นบวกเท่านั้น
"เป็นเอดส์" หมายถึงการมีอาการแทรกซ้อนต่างๆแสดงออกทางร่างกายแล้ว เป็นผลจากที่ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง จนไม่สามารถต่อต้านเชื้อโรคต่างๆได้

รับเชื้อมาแล้วกี่ปีจึงจะเป็นเอดส์
ส่วน ใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ เพียงแต่มีเลือดบวกเฉยๆ บางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย เป็นเวลา 10 ปี ก็มี แล้วนานแค่ไหนที่รับเชื้อแล้วจนมีอาการเป็นเอดส์
หลังรับเชื้อมาแล้ว…………….
    เวลาผ่านไป 1 - 2 ปี มีไม่ถึง 5 % ที่เป็นเอดส์ เวลาผ่านไป 3 ปี ที่กลายเป็นเอดส์ มี 20 % เวลาผ่านไป 6 ปี ที่กลายเป็นเอดส์ มี 50 % เวลาผ่านไป 16 ปี ที่กลายเป็นเอดส์ มี 65 - 100 % เฉลี่ย นับจากรับเชื้อจนเป็นเอดส์ ประมาณ 7 - 11 ปี

รับเชื้อมา แต่เลือดยังไม่บวก จะติดคนอื่นได้ไหม
หมาย ความว่ารับเชื้อมาแล้ว แต่เลือดยังไม่บวก ไปมีเพศสัมพันธ์ จะเอาเชื้อไปแพร่ให้คู่นอนได้ไหม ได้ซิครับ ก็อย่างที่บอก ตอนรับเชื้อมาใหม่ๆ 2 - 6 สัปดาห์ ตรวจหาแอนติบอดียังไม่เจอ แต่เชื้อในเลือดมีแล้วจึงมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ดังนั้นถ้าไม่แน่ใจว่าจะรับเชื้อมาหรือเปล่า ก็คงต้องงดมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักหรือภรรยา หรือถ้าจำเป็นก็ต้องใช้ถุงยางอนามัยป้องกันไว้ก่อน (Safety first…ความจริงถ้า first ตั้งแต่ไปเที่ยวมา ก็ไม่ต้องมาวุ่นวายอย่างนี้แล้ว ..เนาะ)

ต้องเตรียมตัวก่อนตรวจเลือดอย่างไร ต้องอดอาหารไหม
ไม่ ต้องเตรียมตัวใดๆทั้งสิ้น แต่ต้องเตรียมเงินกับเตรียมใจครับ เพราะผลการตรวจเลือดเอดส์ไม่เหมือนการตรวจเลือดอย่างอื่น ต้องลุ้นด้วยความระทึกใจ ถ้าผลเป็นบวก คนที่มีภาวะจิตใจไม่เข้มแข็งอาจหวั่นไหวจนเสียสติ หรือตัดสินใจผิดๆ ได้ บางคนเข่าทรุดตกอยู่ในภาวะหมดหวังท้อแท้ แล้วถ้ารู้ไปถึงเพื่อนฝูงก็อาจเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์ได้ อาจถึงกับถูกไล่ออกจากงาน หลายหน่วยงานปฏิเสธไม่ยอมรับให้ทำงาน
ดัง นั้นก่อนไปตรวจเลือดจึงต้องเตรียมจิตใจให้ดีว่า ถ้าผลเลือดเป็นบวก เราจะรับสภาพได้ไหม จะเกิดอะไรขึ้น เราจะวางแผนรับมืออย่างไร ถ้ามีแฟน มีภรรยา เราจะทำอย่างไร จะมีบุตรไหม ถ้าจิตใจยังไม่พร้อม ก็รอได้ รอจนกว่าจะพร้อมจึงค่อยไปตรวจ (นี่พูดถึงคนที่มีความเสี่ยงมากๆ นะ เช่นชอบสำส่อนทางเพศ ติดยาเสพติดชนิดฉีด ฯลฯ)

ผลตรวจเลือด จะเป็นความลับแค่ไหน
ปกติ แพทย์จะต้องรักษาความลับของคนไข้เสมอ ยิ่งเป็นเรื่องเอดส์ โรคที่สังคมรังเกียจ ก็ยิ่งต้องรักษาไว้อย่างยิ่งยวด ยกเว้นอยู่สองกรณีที่ เปิดเผยได้ คือ เจ้าตัวเจ้าของเลือดอนุญาต หรือกรณีมีคำสั่งศาล
แต่ก็ ใช่ว่าแพทย์รักษาความลับแล้ว ความลับจะไม่รั่วออกไป เพราะในกระบวนการตรวจเลือดนั้น มีหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ทังเจ้าหน้าที่ตรวจเลือด ห้องตรวจเลือด เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่อาจรับรู้ได้เช่นกัน

ตรวจเลือดต้องบอกชื่อ บอกที่อยู่หรือไม่
ปกติ ถ้าไปตรวจตามโรงพยาบาล เขาก็มักจะทำบัตร ก็ต้องกรอกชื่อ ที่อยู่ ถ้าคุณไม่อยากให้ใครรู้ ก็คงต้องไปหาโรงพยาบาลอื่นที่ไม่มีใครรู้จักคุณ แล้วทำบัตรใหม่ คุณจะกรอกชื่อปลอม ที่อยู่ปลอมก็ได้ เขาไม่ค่อยเข้มงวดเท่าไหร่ ถ้าคุณไม่เอาบิลไปเบิกที่ไหน หรือจะไปตรวจที่คลินิกนิรนามก็ได้ เขาไม่ถามชื่อคุณ ถ้าเป็นที่กรุงเทพ คลินิกนิรนามที่สภากาชาด ตรงถนนอังรีดูนังก็มี ถ้าเป็นที่ต่างจังหวัดที่มีศูนย์กามโรคตั้งอยู่ก็มี

เลือดเอดส์ "บวก" แล้ว จะเป็น "ลบ" ได้ไหม
ปกติ เมื่อเลือดเอดส์ให้ผลบวก แล้ว (ตรวจยืนยันแล้ว) ก็จะบวกไปตลอดชีวิต จะไม่กลับมาเป็นลบอีก ดังนั้นเมื่อท่านมีเลือดบวก ก็จะเป็นตราประทับติดตัวท่านไปตลอดชีวิต จะเที่ยวก็ระมัดระวังไว้บ้างครับ ควรใส่ถุงยางทุกครั้งนะครับ

ก่อนแต่งงาน ควรตรวจเลือดเอดส์หรือไม่
หลาย คนบอกว่า ตรวจไปทำไม รักกันจะแต่งอยู่แล้ว ถึงเลือดบวก ก็แต่งอยู่ดี มันก็ใช่…ก็เพราะ " แต่งอยู่ดี " นี่แหละที่ต้องตรวจ เพราะถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีเชื้อเอดส์ ก็จะได้ป้องกันอีกฝ่ายไม่ให้อีกฝ่ายรับเชื้อ ดีกว่าที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่แล้วติดไปด้วยกันทั้งคู่ มีชายหญิงคู่หนึ่งมาตรวจเลือดก่อนแต่ง ปรากฏว่าฝ่ายชายเลือดเอดส์บวก ฝ่ายหญิงไม่บวก ผมถามผู้หญิงว่า รู้อย่างนี้แล้วยังจะแต่งไหม เธอบอกว่า รักเขามาก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ก็ยังยืนยันจะแต่ง ยิ่งมารู้ว่าเขาป่วย จะทิ้งเขาได้อย่างไร จะอยู่กับเขา จะดูแลปรนนิบัติเขาจนกว่าเขาจะหาชีวิตไม่ หลังจากพูดคุยกันแล้วผมก็แนะนำให้ฝ่ายชาย ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เธอถามว่าแล้วอย่างนี้ก็ไม่มีโอกาสมีลูกซิ เธอต้องการมีลูกกับเขา เพื่อเป็นตัวแทนเขาเมื่อยามที่เขาไม่อยู่แล้ว จะให้ทำอย่างไร เพราะถ้าอยากมีลูกก็ต้องไม่ใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งก็เสี่ยงต่อการรับเชื้อ ผมก็แนะนำว่า ถ้าอย่างนั้นก็อาจใช้วิธีผสมเทียม ให้มีการปฏิสนธินอกร่างกายแล้ว ค่อยนำตัวอ่อนฉีดเข้ามดลูก ก็จะช่วยลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อต่อเธอ ได้

"เอดส์" แม้ยังไม่มียาอะไรจะรักษาได้ แต่เราก็สามารถรักษาเอดส์ได้ ด้วย "ความรัก" และ "กำลังใจ" ครับ

ที่มา : http://pha.narak.com/topic.php?No=15271

การรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ที่เหมาะสม

โรคติดเชื้อไวรัสเฮชไอวี Human Immunodeficiency Virus (HIV) และโรคเอดส์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและการตายของประชากรอายุ 20 ถึง 50 ปี ซึ่งเป็นประชากรที่อยู่ในวัยทำงานและเป็นกำลังสำคัญของประเทศ

ใน ปัจจุบันมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมจากการศึกษาวิจัยในหลายประเทศที่แสดงว่า การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ที่เหมาะสมในการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV มีความปลอดภัยและมีประโยชน์ ที่สำคัญคือ

(1) การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์จะยืดอายุขัยของผู้ป่วย
(2) สามารถลดอัตราตาย
(3) ลดอัตราป่วยจากการติดเชื้อฉวยโอกาส
(4) ลดการรักษาด้วยยาป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส
(5) ลดโอกาสที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
(6) เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
(7) ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากสามารถทำงานและดำรงชีวิตตามปรกติในสังคมไ

สรุปได้ว่าการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ที่เหมาะสมถือเป็นการรักษาที่คุ้มค่าในปัจจุบัน

รายงาน จากกลุ่มประเทศยุโรป อัตราอัตราเสียชีวิตจากโรคเอดส์ลดลงจาก 65.4 เหลือ 3.4 (หน่วยเป็นต่อ 100 person-years ของการติดตาม) (อ้างอิงถึง Palella FJ Jr, Delaney KM, Moorman AC, et al. Declining morbidity and mortality among patients with advanced human immunodeficiency virus infection. HIV Outpatient Study Investigators. N Engl J Med, 1998; 338: 853-860)

รายงาน การศึกษาจากประเทศบราซิลซึ่งรัฐบาลมีนโยบายให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ แก่ผู้ติดเชื้อทุกรายตั้งแต่ พ.ศ. 2538 โดยมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 150,000 รายได้รับการรักษานั้น พบว่าอัตราเสียชีวิตจากโรคเอดส์และอัตราการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ HIV และโรคที่เกี่ยวข้องลดลงอย่างชัดเจน (อ้างอิงถึง Mocroft A, Vella S, Benfield TL, et al. Changing patterns of mortality across Europe in patients infected with HIV-1. EuroSIDA Study Group. Lancet 1998; 352:1725-30)

ส่วนการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาพบว่าการรักษาผู้ป่วยติด เชื้อ HIV ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ทำให้ค่ารักษาในโรงพยาบาลลดลงร้อยละ 60 (อ้างอิงถึง Santoro-Lopes G, de Pinho AM, Harrison LH, Schechter M. Reduced Risk of Tuberculosis among Brazilian Patients with Advanced Human Immunodeficiency Virus Infection Treated with Highly Active Antiretroviral Therapy. Clin Infect Dis. 2002; 34:543-6)

นอกจาก นี้ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมีราคาลดลงมากเหลือประมาณวันละ 40-60 บาทต่อวัน และมีแนวโน้มว่าราคาของยายาต้านไวรัสเอดส์จะลดลงเรื่อย ๆ ทำให้การรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์มีความคุ้มค่ามากขึ้น

ดัง นั้น การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ที่เหมาะสมในการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV จึงมีลักษณะคล้าย คลึงกับการรักษาโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่รักษาไม่หายขาด (เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น)

อย่างไรก็ตามแม้ว่ายา ต้านไวรัสเอดส์จะมีราคาถูกลงมาก และผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้สมควรได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ แต่การใช้ยากลุ่มนี้อย่างไม่เหมาะสมจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการรักษาที่ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ง่าย ซึ่งผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ดื้อต่อยาจะต้องได้รับการรักษาด้วยยาที่แพง ขึ้นมากกว่า 10 เท่า และยาดังกล่าวมักมีผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นและรุนแรง

ที่มา :

คณะอนุกรรมการจัดทำแนวทางการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์สำหรับรักษาผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ HIV พ.ศ. 2546 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

1. นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค (ประธานคณะอนุกรรมการ)
2. แพทย์หญิงพรรณพิศ สุวรรณกูล
3. นายแพทย์สุรพล สุวรรณกูล
4. นายแพทย์อัษฏา วิภากุ
5. แพทย์หญิงเพลินจันทร์ เชษฐโชติศักดิ์
6. นายแพทย์ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ
7. นายแพทย์สมสิทธิ์ ตันศุภสวัสดิกุล
8. แพทย์หญิงนฤมล พงศ์ศรีเพียร
9. นายแพทย์วิษณุ ธรรมลิขิตกุล
10. นายแพทย์สถาพร ธิติวิเชียรเลิศ
11. นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม

รู้ได้อย่างไรว่ายารักษาได้ผล

สามารถพิจารณาจาก

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่เคยเป็นปกติ และคงที่
  • ซีดี4 เพิ่มขึ้น
  • ไม่ มีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสเกิดขึ้นใหม่ ยกเว้นผู้ป่วยที่เริ่มกินยาเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำมาก ซึ่งหลังจากกินยาต้านฯ แล้ว 1 ปีก็ไม่ควรมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสเกิดขึ้นใหม่
  • ปริมาณ ไวรัสเอชไอวีในร่างกาย(ไวรัลโหลด)ลดลงจนพบน้อยลงใน 6 เดือนหลังเริ่มยาต้านฯ หรือเมื่อเทียบกับการตรวจครั้งก่อน หรือตรวจไม่พบเลยเมื่อกินยาต้านฯไประยะหนึ่ง

การตรวจเลือดซีดี4 ผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องได้ตรวจทุก 6 เดือนแม้ไม่ได้กำลังกินยาต้านฯอยู่

ผู้ ติดเชื้อที่กำลังกินยาต้านฯ ไปแล้ว 6 เดือนต้องได้ตรวจไวรัลโหลด และตรวจสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง ถ้าไวรัสในกระแสเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 ก๊อปปี้/มล. จำเป็นต้องได้ตรวจหาเชื้อดื้อยา

การ ตรวจแลบที่จำเป็นเหล่านี้เป็นมาตรฐานการรักษา และอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิการรักษาพยาบาลทุกสิทธิ (สิทธิบัตรทอง, สิทธิประกันสังคม, สิทธิสวัสดิการข้าราชการ)

ที่มา : http://www.aidsaccess.com/09/index.php? ... 6&Itemid=1

โรคเอดส์รักษากันได้อย่างไร ?

การรักษาโรคเอดส์ แบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน

(1) การรักษาและป้องกันโรคแทรกซ้อน
ได้แก่ โรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสมะเร็ง และอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด โรคหรืออาการบางอย่างก็มียารักษา บางอย่างก็ไม่มียารักษาหรือรักษาไม่หายขาด ในปัจจุบันมีการให้ยาป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนหลายอย่างๆ เมื่อระดับภูมิคุ้มกันลดลงมาถึงระดับหนึ่ง และก่อนที่จะเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นมาจริง ๆ เช่น การให้ยาป้องกันปอดบวมจากเชื้อนิวโมซิสตีส ยาป้องกันเชื้อราขึ้นสมอง และยาป้องกันวัณโรค เป็นต้น พบว่าสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปในบางกรณีแม้จะรักษาภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนให้หาย แล้วก็ตาม ก็ยังจะต้องให้ป้องกันไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำใหม่ เช่นปอดบวมที่เกิดจากเชื้อนิวโมซีสตีส หรือเชื้อราในสมองเป็นต้น นอกจากนี้ มีการใช้ยาที่จะช่วยบรรเทาอาการแทรกซ้อนต่างๆของผู้ป่วยเอดส์ เช่นอาการคันตามตัวอาการท้องเสียเรื้อรัง และน้ำหนักลด เป็นต้น

(2) การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์
การ รักษาที่มุ่งกำจัดไวรัสเอดส์ ในปัจจุบัน ยังไม่มียาที่ได้ผลแน่นอนในการฆ่าทำลายไวรัสเอดส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสที่หลบอยู่ในเซลล์ เม็ดโลหิตขาว จะมีก็แต่ยาที่ไปหยุดยั้งการแบ่งตัวของไวรัสเอดส์ เช่น
  • ยาไซโด วูดีน(Zidovudine, หรือ เอ-แซด-ที AZT), ไดดีอ๊อกซีไอโนซีน(dideoxyinosineหรือ ดี-ดี-ไอ ddI), ไดดีอ๊อกซีซัยติดีน(dideoxycytidine หรือ ดี-ดี-ซี,ddc) สตาวูดีน (stavudine หรือ ดี-โฟ-ที d4T), ลามิวูดีน (lamivudine หรือ ทรี-ที-ซี 3TC), และ อะ บาคาเวีย(abacavir), เนวิราปีน (nevirapine), เอฟฟาไวเรนส์ (efavirenz)
  • และยาในกลุ่มที่เรียกว่าโปรตีเอส อินฮิบิเตอร(Protease inhibitors) เช่น อินดินาเวีย(indinavir) เนลฟินาเวีย(nelfinavir) และโลปินาเวีย(lopinavir) ยาเหล่านี้สามารถยืดชีวิตคนไข ้เอดส์ออกไปได้ เป็นโรคติดเชื้อแทรกซ้อนน้อยลงน้ำหนักเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับไปทำงานได้และแม้คนไข้ที่ยังไม่มีอาการแต่ระดับภูมิคุ้มกัน เริ่มต่ำลงแล้วหรือแม้ระดับภูมิคุ้มกัน (ซีดี-4) จะยังไม่ต่ำ แต่มีปริมาณไวรัสในเลือดมาก การให้ยาต้านไวรัสเอดส์จะทำให้ภูมิคุ้มกันของเขาอยู่ในระดับดีได้นานๆติด เชื้อแทรกซ้อนช้าลงหรือน้อยลง ดังนั้นช่วงที่ผ่านมาจึงนิยมที่จะให้ยาต้าน ไวรัสเอดส์แก่ผู้ติดเชื้อตั้งแต่ระยะต้นๆ และให้ยา 3 ตัวพร้อมกันเพื่อให้มีฤทธิ์ในการลดปริมาณไวรัสเอดส์สูงสุด ขณะเดียวกันก็เพื่อลด โอกาสที่เชื้อเอดส์จะดื้อยาด้วย
ปัญหาที่เกิดตามมาก็ คือ ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะต้องสูงขึ้น เพราะต้องใช้ยาหลายตัว และต้องใช้ยานานขึ้น กล่าวคือ ถ้าเริ่มใช้ก็ต้องใช้ไปตลอดชีวิตและมีคนที่ต้องใช้ยามากขึ้น เพราะเริ่มใช้ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีอาการ จึงเป็นการยากที่คนไข้หรือรัฐจะจัดซื้อยาให้ใช้ได้อย่างทั่วถึง ยิ่งในสภาวะเงินบาทลอยตัวอย่างในปัจจุบัน เพราะค่าใช้จ่ายในการให้ยา 3 ตัวพร้อมกันจะประมาณ 15,000-28,000ในคนที่ไม่มีเงินมากพอก็อาจกินยาร่วมกันเพียง 2 ตัว ซึ่งจะตกประมาณเดือนละ 4,000 -10,000 บาท แล้วแต่ตัวยาชนิดใด เป็นที่น่ายินดีว่าสภากา ชาดไทยได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของประเทศเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลียจัดตั้ง ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทย -ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ ในการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (เรียกชื่อย่อว่า "HIV-NAT") ขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2539 เพื่อทำการศึกษาวิจัยผลของ การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ 2-3 ตัว พร้อมกันในสูตรผสมต่างๆ กันในคนไทย ทำให้คนไทยเกือบหนึ่งพันคนได้รับยาดีๆ ฟรีเป็นเวลาหลายปีติดต่อกันจนถึงปัจจุบันมีผลงานเผยแพร่เป็นที่ยอมรับกัน ทั่วโลก

เป็นที่น่ายินดีว่า ยาต้านเอดส์บางตัวได้มีราคาลดลงค่อนข้างมาก ในปี 2543 ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันของกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อในประเทศ ทำให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาต้านเอดส์บางตัวออกมาซึ่งราคาถูกกว่ายาต้นตำรับ มาก ส่งผลให้บริษัทยาข้ามชาติต้องลดราคายาลงประมาณร้อยละ 40 เพื่อจะได้ขายแข่งกับยาขององค์การเภสัชกรรมทุกฝ่ายได้แต่คาดหวังกันว่า ยาทุกตัวจะมีราคาถูกลงในที่สุด กรมควบคุมโรคติดต่อเองก็ได้พยายามเจรจาขอลดราคายาต้านเอดส์กับบริษัทยาใน กรณีสั่งซื้อคราวละมาก ๆ อีกทั้งองค์การเอดส์สหประชาชาติก็ได้พยายามช่วยเจรจากับบริษัทยาต่างๆ ให้ลดราคายาลง จึงหวังว่ายาต้านเอดส์ 3 ตัว น่าจะมีราคาลดลงเหลือเพียงไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ถึง ตอนนั้นก็หวังว่ารัฐบาลจะจัดงบซื้อยาต้านไวรัสให้ผู้ติดเชื้อทานมากขึ้น ไม่ใช่ยาราคาถูกลง คนไข้ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ยาอยู่ดี เพราะการที่เขามียาดีๆกินโอกาสที่จะทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติและสังคมจะมี มากขึ้น เพราะจะไม่ป่วยและมีอายุยืนเหมือนคนทั่วไป สามารถทำงานรับใช้ชาติ ทำงานเสียภาษีให้รัฐ มีผลผลิตทำรายได้เข้าประเทศ รัฐเองก็ไม่ต้องเสียเงินในการรักษาโรคติดเชื้อแทรกซ้อนไม่ต้องสร้างโรง พยาบาล vหรือผลิตหมอมากขึ้นไม่ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูบุตร หรือพ่อแม่ที่แก่เฒ่าของผู้ติดเชื้อ พูดง่าย ๆ คือจะมีกำไรเข้ากระเป๋าของรัฐมากกว่า ถ้ารัฐจัดหายาต้านไวรัสเอดส์ดี ๆให้คนไข้รับประทานคล้ายกับที่ประเทศรวยๆ อื่นๆ เขาสรุปกันไว้ก่อนแล้ว

การป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่ไปสู่ลูก

เป็น ที่ทราบกันมา 6-7 ปี แล้วว่ายาต้านไวรัสเอดส์สามารถลดการถ่ายทอดเอดส์จากแม่สู่ลูกได้ เช่นถ้าให้ เอ-แซด-ที อย่างเดียวแก่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์ตั้งแต่ครรภ์ได้14 สัปดาห์ จนถึงเด็กคลอดออกมาและให้ยาแก่เด็กต่ออีก 6 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดการถ่ายทอดเอดส์จากแม่สู่ลูกลงได้ 2 ใน 3 กล่าวคือถ้าไม่ให้ยาอะไรเลย ลูกจะติดเอดส์จากแม่ประมาณร้อย 25 ถ้าแม่และลูกได้ยา เอ-แซด-ที ในกำหนดดังกล่าว พร้อมกับการงดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกจะติดเอดส์จากแม่เพียงร้อยละ 8 การให้ยาดังกล่าวไม่เป็นอันตราย และไม่เกิดผลเสียทั้งต่อแม่ และเด็ก จึงถือเป็นมาตรฐานทั่วโลกว่าถ้าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอดส์ และต้องการจะตั้งครรภ์ต่อไปควรให้โอกาสหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิ์ตัดสินใจในการ รับยาต้านเอดส์และในการงดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อลดโอกาสทีลูกจะติดเอดส์จากแม่ ในประเทศที่ร่ำรวย แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาต้านเอดส์ 2 หรือ 3 ตัวร่วมกัน เพื่อลดอัตราการถ่ายทอดเอดส์ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดเอาเด็กคลอดออกทางหน้าท้องด้วย ซึ่งจะยิ่งลดโอกาสการติดเชื้อเอดส์ลงไปอีกเพราะเด็กจะสัมผัสกับเลือดแม่น้อย ลง

ปัญหาหลักของการลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกโดยการใช้ยาต้านไวรัส เอดส์คือการที่จะรู้ได้ยังไงว่าใครติดเอดส์ ค่ายาที่จะใช้และค่านมผงที่จะใช้เลี้ยงทารก ส่วนประเด็นความคุ้มที่จะต้องมีเด็กกำพร้าพ่อแม่เพิ่มขึ้นไม่เป็นประเด็นอีก แล้วเพราะค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อจะแพงกว่าและไม่คุ้ม ค่าเท่ากับการเลี้ยงดูเด็กกำพร้า ซึ่งบางรายโตขึ้นอาจเป็นหมอ เป็นวิศวกร หรือเป็นนายกรัฐมนตรี การจะร ู้ว่าหญิงตั้งครรภ์คนใดติดเชื้อเอดส์ก็ต้องตรวจเลือดระหว่างไปฝากครรภ์ ซึ่งต้องเป็นการตรวจโดยสมัครใจ มีการให้คำปรึกษาแนะนำที่ถูก ต้องทั้งก่อนและหลังตรวจและต้องมีการรักษาความลับอย่างเคร่งครัด โรงพยาบาลบางแห่งแม้ในประเทศไทยเองก็อาจจะยังทำไม่ได้ครบเกณฑ์มาตรฐานดัง กล่าวจนต้องมีองค์กรเอกชนบางกลุ่มออกมาเรียกร้องให้แพทย์ และโรงพยาบาลเคารพสิทธิของหญิงในการตรวจเลือด ในการรับยา และในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งแน่นอน ต้องเป็นสิทธิของพ่อและแม่ของเด็กในครรภ์ที่จะตัดสินใจหลังได้รับข้อมูลที่ ถูกต้องทั้งด้านบวกและลบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมของพ่อ แม่ และทารกในครรภ์ แพทย์ไม่ควรไปบังคับหรือชักจูงการตัดสินใจของเขา

ใน ประเทศยากจนแถบอัฟริกา การใช้นมผงเลี้ยงทารกมีปัญหาทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย ความสะอาดของน้ำและอุปกรณ์ที่จะนำมาผสมนมผงให้ทารกดื่มและการเสี่ยงต่อการ ถูกผู้อื่นรู้ว่าติดเชื้อเพราะคนอื่นๆ ต่างก็เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งนั้น ดังนั้นองค์การอนามัยโลกจึงยังไม่กล้าแนะนำให้แม่ที่ติดเชื้อในอัฟริกาใช้นม ผงเลี้ยงลูก เพราะกลัวว่าจะมีเด็กทารกเสียชีวิตจากการขาดสารอาหารหรือจากโรคติดเชื้อของ ทาง เดินอาหารจากการรับประทานนมสกปรกมากกว่าจะเสียชีวิตจากโรคเอดส์ จะใช้นมผงก็ต่อเมื่อครอบครัวมีเศรษฐกิจฐานะดี ดังนั้นเมื่อยัง ต้องให้นมแม่อยู่ ก็ทำให้ผลการใช้ยาต้านเอดส์ในการลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกไม่สู้ดีนักเพราะ เด็กจะยังได้รับเชื้อเอดส์จากน้ำนมแม่ ภายหลังคลอด เรื่องค่ายาต้านเอดส์ที่ต้องให้แม่ และลูกกินก็เป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศที่ยากจนเฉพาะ เอ-แซด-ที เดียวๆ ตามสูตรที่พิสูจน์ว่าได้ผลและใช้กันอยู่ในต่างประเทศก็จะตกประมาณ 10,000 บาท ยิ่งถ้าต้องให้ยาหลายตัวร่วมกัน ค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นจึงมีผู้พยายามคิดหาสูตรยาอื่นๆ ที่ราคาอาจถูกลง หรือการให้ยาช่วงสั้นลงจะได้ประหยัด หลังจากใช้เวลาทดสอบอยู่หลายปีก็พอได้สูตรยาที่ประหยัดบ้าง แต่ก็ไม่ได้ผลดีเท่า เอ-แซด-ที ที่ใช้กันอยู่เดิม สูตรประหยัดเหล่านี้อาจพอนำมาใช้กับประเทศที่ยากจนซึ่งก็จะยังดีกว่าไม่ทำ อะไรเลย ในช่วงปลายปี 2538 ขณะที่หลายๆฝ่ายกำลังรอผลการทดสอบสูตรยา เอ-แซด-ที ที่ประหยัดซึ่งกำลังทดสอบอยู่ในประเทศ ไทยและกว่าจะรู้ผลก็คาดว่าจะเป็นปี พ.ศ. 2541-2542 สภากาชาดไทยเห็นว่าในระหว่างที่รออยู่นั้น องค์กรการกุศล เช่น สภากาชาดไทย น่าจะทำอะไรได้ไปพลางๆ ก่อนในการลดจำนวนเด็กที่จะติดเชื้อเอดส์จากแม่ลงได้โดยการรณรงค์หาผู้บริจาค เพื่อซื้อยา เอ-แซด-ที ให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่ยากจน จึงเป็นที่มาของโครงการบริจาคเพื่อช่วยลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูกของสภา กาชาดไทย ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงรับโครงการดังกล่าวไว้ในพระอุปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2539 โครงการดังกล่าวได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์และยากจนจำนวนเกือบ 4,000 ราย จากทั่วประเทศได้รับยา เอ-แซด-ที เต็มสูตรจากโครงการบริจาค ฯ จนถึงสิ้นปี 2543 ปรากฏว่าได้ผลดีเท่ากับที่ต่างประเทศรายงานไว้ คือลดอัตราการติดเชื้อเอดส์ลงมาได้เหลือประมาณ 5% ซึ่งเท่ากับว่าช่วยชีวิตเด็กไว้ได้ประมาณ 600 รายจากแม่ที่ได้รับยาทั้งสิ้น 4,000 ราย ผู้สนใจจะร่วมทำบุญเพื่อไถ่ชีวิตเด็ก สามารถบริจาคมาได้ที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยโทร 256-4107-9 หรือติดต่อบริจาคผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย" เลขที่บัญชี 045-2-00423-6 หรือบริจาคผ่านทางธนาณัติ สั่งจ่ายผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ณ ที่ทำการไปรษณีย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(3) การรักษาที่มุ่งเสริมหรือกระตุ้นภูมิต้านทานที่เสียไป

ใน ปัจจุบันมีการทดลองยาหลายตัวในกลุ่มนี้ เช่น อินเตอร์ลุยคินทู (IL-2) และวัคซีนโรคเอดส์ เป็นต้น เป็นที่คาดว่าถ้าให้ยาในกลุ่มนี้ร่วมไปกับยาต้านไวรัสเอดส์ น่าจะได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

(4) การรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วย

ได้แก่ การให้คำปรึกษาแนะนำ กำลังใจ การสงเคราะห์ด้านอาชีพ การรักษาเพื่อให้เลิกใช้ยาเสพติดตลอดจนถึงการให้การรักษาอาการทางจิตที่อาจ เกิดขึ้นจากแรงกดดันหลายๆ ด้าน

ที่มา : http://pha.narak.com/topic.php?No=00656

เอดส์รักษาได้ … แต่

การรณรงค์เรื่อง “ เอดส์รักษาได้ ” ( Aids can be treated ) ได้สร้างความไม่สบายใจให้กับผู้คนจำนวนมาก

คนจำนวนหนึ่งไม่สบายใจ เพราะคิดว่า เป็นเรื่องเท็จ เป็นไปได้ไง บอกกันว่าเอดส์เป็นแล้วตาย รักษาไม่หายแล้วจู่ ๆ ก็มาเปลี่ยนเป็นเอดส์รักษาได้

ข้อเท็จจริงเรื่องนี้อธิบายได้ไม่ยาก

เอดส์ คือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากภาวะภูมิคุ้มก้นบกพร่อง
อันเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี

ผู้ป่วยเอดส์ คือคนที่มีโรคฉวยโอกาสอันเนื่องจากภาวะภูมิตุ้มกันบกพร่องหรือไม่มีโรคฉวยโอกาส แต่ว่าภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องมาจาการติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HIV

เอดส์ คือ กลุ่มอาการโรคฉวยโอกาสและภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

HIV คือไวรัสชนิดหนึ่ง

ปัจจุบัน โรคฉวยโอกาสสามารถรักษาได้ ในขณะเดียวกัน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ก็ใช้ยาต้านไวรัสในการควบคุมปริมาณเชื้อเอชไอวี ทำให้ภูมิต้านทานถูกทำลายน้อยลง
เพื่อให้ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ จนพ้นสภาพภูมิต้านทานบกพร่อง

การติดเชื้อ HIV ยังอยู่ แต่เอดส์รักษาได้ ฟันธง


แต่ก็ยังมีคนจำนวนหนึ่ง ยังไม่สบายใจ กลัวว่า ถ้ารณรงค์ เอดส์รักษาได้ คนจะไม่กลัว และไม่ป้องกัน
ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยเอดส์จะแข็งแรงแล้วมีเพศสัมพันธ์ ก็จะแพร่เชื้อได้อีก

เรา รณรงค์เรื่องมะเร็งปอด มะเร็งตับ ถุงลมโป่งพอง ฯลฯ แล้วเกิดอะไรขึ้นกับการบริโภคบุหรี่และสุรา จะมาสรุปว่าคนสูบบุหรี่เพราะไม่กลัวมะเร็งก็ไม่น่าจะใช่ ที่หวังว่าการสร้างความกลัวแล้วจะทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมันไม่พอแล้ว โลกยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร การได้รับข้อมูลที่รอบด้านและการฝึกพัฒนาทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศ
จะเป็นทางที่ช่วยลดปัญหาที่ตามมาจากเรื่องเพศได้ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเอดส์

อีกเรื่องที่กลัวว่าผู้ติดเชื้อเมื่อได้รับการรักษาแล้วจะแข็งแรงแล้วไม่ป้องกัน จะทำให้มีการแพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่นก็ เข้าใจได้ แต่คำถามที่สำคัญก็คือ เมื่อกลัวแล้วทำยังไงกันต่อ กลัวผู้ติดเชื้อจะแข็งแรงแล้วแพร่เชื้อ ก็ไม่รักษาปล่อยให้เสียชีวิต ก็ไม่น่าจะใช่ แต่ถ้ากลัวแล้วมาสร้างความเข้าใจเรื่องการป้องกันและเพิ่มอำนาจในการป้องกัน ให้ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย วัยรุ่น ฯลฯ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่น่าจะทำ และควรจะทำตั้งนานแล้วด้วย

จริง ๆ แล้ว ผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับการรักษา จะได้รับข้อมูลที่รอบด้าน และได้รับคำปรึกษาเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ปริมาณเชื้อเอชไอวีจะถูกควบคุมจนมีปริมาณลดลง ซึ่งหมายถึงการส่งต่อเชื้อให้ผู้อื่นก็ลดลงด้วย เหมือนกรณีที่มี การให้ยาต้านไวรัสกับหญิงตั้งครรภ์เพื่อลดโอกาสส่งเชื้อต่อให้ลูก แต่ที่น่ากังวลกว่า ก็คือ ผู้ติดเชื้อที่ไม่รู้ผลเลือดซึ่งมีจำนวนมากกว่าคนที่รู้ผลเลือดเสียอีก โอกาสป้องกันกับคู่ของตนเองก็น้อยลงเพราะไม่รู้และไม่คิดว่าตนเองจะมีเชื้อ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าคิดและกังวลใจมากกว่าอีก

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งมายาคติต่อเรื่อง เอดส์รักษาได้
เจ้าของบทความ : สมวงศ์ อุไรวัฒนา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์

"เอดส์" รู้เร็ว รักษาได้

รูปภาพ

หลาย คนคงได้เห็นภาพยนตร์โฆษณาเรื่อง "ชัยชนะ" ของโครงการ "เอดส์ รู้เร็ว รักษาได้" กันบ้างแล้ว หรือถ้าใครยังไม่ผ่านตา ลองคลิ๊กเข้าไปที่ http://www.aidsaccess.com ของมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ก็จะได้ชมโฆษณาเรื่องนี้กันเต็มอิ่มทีเดียว

แต่ หากใครยังไม่ได้ชม ผู้เขียนจะขอเล่าเรื่องราวโดยย่อว่าเป็นเรื่องของผู้ติดเชื้อเอชไอวีคนหนึ่ง ที่วิ่งแข่งมาตลอด ย่อตั้งแต่เด็กจนโต และไม่เคนเข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่งเลยสักครั้ง ถึงแม้จะไม่ชนะในสนามแข่งวิ่ง แต่ในสนามชีวิตแล้ว เขาชนะมาโดยตลอด ที่ว่าชนะคือ การชนะเอชไอวีที่ติดตัวเขามาตั้งแต่เกิด

ซึ่งชนะได้ ด้วยการรักษา

หลายคนบอกว่า ติดเชื้อเอชไอวี เป็นเอดส์ เนี่ยนะหรือจะรักษาได้ เคยได้ยินแต่เอดส์เป็นแล้วตายมากกว่า

นี่แหละ...ใช่เลย วัตถุประสงค์ของโครงการฯ ที่ต้องการสื่อสารเรื่องเอดส์ในมุมใหม่ให้สังคมเข้าใจความแตกต่างระหว่าง เอชไอวีกับเอดส์

เอ ชไอวี คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้ว จะค่อยๆทำลายภูมิคุ้มกัน หรือเม็ดเลือดขาวชนิด CD 4 ซึ่งเราเรียกผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าไปในร่างกายแต่ยังไม่แสดงอาการ เจ็บป่วยว่า “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี”

ส่วนเอดส์ คือ ภาวะภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องอันเนื่องมาจากเอชไอวี จนร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วย (เพราะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เหลือน้อย จนกดเชื้อโรคติดเชื้อฉวยโอกาสไม่ได้) ซึ่งเราเรียกผู้ที่อยู่ในภาวะนี้ว่า “ผู้ป่วยเอดส์”

อย่างไรก็ตาม เอชไอวีสามารถควบคุมได้ด้วยยาต้านไวรัส ที่จะเข้าไปกดหรือทำลายวงจรการแบ่งตัวของเอชไอวี ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเอชไอวีในร่างกายลงได้ ส่วนภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหรือที่เราเรียกว่า “ป่วยเอดส์” เช่น วัณโรคปอด เชื้อราเยื้อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบพีซีพี ฯลฯ ก็สามารถรักษาให้หายได้ทุกโรค บางโรคกินยาป้องกันได้

นี่คือข้อเท็จจริงของ เอชไอวีควบคุมได้ เอดส์รักษาได้

เป็น ข้อเท็จจริงที่โครงการฯ ต้องการสื่อสารให้สังคมเข้าใจ และเห็นความแตกต่างของคำ ๒ คำนี้ เพราะถ้าเข้าใจก็จะส่งผลทั้งเรื่องป้องกันและเรื่องการเข้าถึงการรักษา

ถ้า เราเข้าใจว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็คือคนทั่วๆ ไป ที่ยังแข็งแรง สวยหล่อ สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของเรา และอาจเป็นคนที่เรามีเซ็กส์ด้วย เราก็จะประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของตัวเองออก และนึกถึงเรื่องป้องกันได้

สำหรับผู้ที่ประเมินแล้วคิดว่าตัวเองมี โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีก็จะเข้าใจว่า เอชไอวีที่อยู่ในร่างกายนั้นควบคุมได้ด้วยยาต้านไวรัส และหากวันหนึ่งร่างกายเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสขึ้นมาก็มีวิธีรักษา ทำให้ร่างกายหายป่วย และกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงได้

สำคัญที่ต้อง ประเมินความเสี่ยงของตัวเองให้ได้ จากนั้นหากตัดสินใจเข้าสู่ระบบบริการรักษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ ก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกหน่วยบริการทั้ง โรงพยาบาล สถานีอนามัย ศูนย์สาธารณสุข ไม่ว่าเราจะใช้สิทธิบัตรทอง บัตรประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ ก็ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือหากยังไม่พร้อมก็มีบริการโทรปรึกษาที่ 02-372 2222 ตั้งแต่ 10.00-20.00 น. ทุกวัน

ระบบบริการทุกอย่างพร้อมแล้ว...คุณล่ะ พร้อมหรือยังที่จะทำความเข้าใจเรื่องเอดส์ในมุมใหม่

รูปภาพ

เอดส์รักษาได้ เอชไอวีควบคุมได้

เมื่อเรารับเชื้อเอชไอวี เราจะมีสุขภาพไม่ต่างจากเดิมเลย เพราะเชื้อเอชไอวี จะไม่ทำให้เราป่วยทันที ที่เป็นเช่นนั้น เพราะเรายังมีภูมิคุ้มกันที่สามารถควบคุมหรือจัดการกับเชื้อโรคที่เข้าสู่ ร่างกายได้ อาการเจ็บป่วยจากโรคฉวยโอกาสจึงไม่ปรากฏ เรียกว่าเป็น “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี”

เมื่อภูมิคุ้มกันถูกทำลายไปเรื่อยๆ (ซึ่งโดยเฉลี่ยผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ใช้เวลา 7- 10 ปี จึงจะเริ่มป่วย) จนไม่สามารถควบคุมหรือจัดการกับเชื้อโรคบางอย่างได้ แต่จะทำลายภูมิคุ้มกันทำให้เราป่วย ด้วยเชื้อโรคนั้นๆ เรียกว่าเริ่มมี ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็น “ผู้ป่วยเอดส์”

โรคที่เราป่วยเนื่องจาก ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่สำคัญคือ โรคติดเชื้อฉวยโอกาสส่วนใหญ่รักษาได้ และมีหลายโรคที่ป้องกันได้แบบไหนเรียกว่าภูมิคุ้มกัน

ในทางการแพทย์ จะใช้การตรวจ ซีดี 4 ซึ่งเป็นการตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด ซีดี 4 (ภูมิคุ้มกัน) ถ้าซีดี 4 ต่ำกว่า 200 หรือเมื่อเริ่มมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เช่น เชื้อราในปาก เริมที่อวัยวะเพศ (เป็นบ่อยหรือเป็นรุนแรง) วัณโรค งูสวัดที่รุนแรงหรือเป็นซ้ำใน 1 ปี เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ ถือว่าอยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เมื่อประเมินว่าภูมิคุ้มกัน บกพร่อง สิ่งที่ต้องนึกถึงคือ การเริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีและการป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น ปอดอักเสบพีซีพี เชื้อราเยื่อหุ้มสมอง ฝีในสมอง เป็นต้น

การที่ ผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้ติดเชื้อคนนั้นป่วย ช้าหรือเร็ว และเมื่อป่วยแล้วได้รับการรักษาที่เหมาะสมทันท่วงทีหรือไม่

ปัจจัยที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ป่วยหรือป่วยช้า

1) ปริมาณและความรุนแรงของเชื้อเอชไอวี ถ้าร่างกายมีปริมาณเชื้อเอชไอวีมากก็จะป่วยเร็ว ดังนั้นหากไม่รับเชื้อเพิ่ม รวมทั้งได้รับยาต้านไวรัส เอชไอวี สุขภาพก็จะแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย

2) การป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างทันท่วงที การป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสแต่ละครั้ง จะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อเริ่มมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรกินยาป้องกันก่อนป่วยและถ้าป่วยต้องรีบรักษา

นอกจากนี้เชื้อเอชไอ วี ยังสามารถควบคุมได้โดยการใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งมีหน้าที่ไม่ให้เชื้อเอชไอวีทำลายภูมิคุ้มกันได้ ผู้ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัสอย่างเหมาะสม จะทำให้ภูมิคุ้มกันสูงพอที่จะป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้เกือบทุกโรค

เอดส์เป็นเพียงโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถดูแลรักษา รวมถึงป้องกันไม่ให้ป่วยได้

ปัจจัย 3 ประการเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี

“ทำ” แบบไหน ที่เสี่ยงเอดส์ และ “ทำ” แบบไหน ที่ไม่สี่ยง
การที่คนๆหนึ่งจะเสี่ยง หรือไม่เสี่ยง ต่อการับเชื้อเอชไอวีนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการคือ


1. ปริมาณของเชื้อต้องมากพอที่จะทำให้ติดต่อได้
ปริมาณ ของเชื้อเอชไอวีในสารคัดหลั่งของร่างกายแต่ละชนิดมีไม่เท่ากัน เชื้อเอชไอวีจะมีปริมาณมากที่สุดในเลือด รองลงมาในน้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด และน้ำนมแม่ตามลำดับ การที่คนๆหนึ่งจะรับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายจึงหมายถึงต้องได้รับสารคัด หลั่งตามที่กล่าวมาในปริมาณที่มากพอ เช่นการรับเลือด(กรณีถ่ายเลือด) การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย หรือเด็กทารกที่กินนมแม่เป็นเวลานานๆ เป็นต้น

2. ต้องได้รับเชื้อเอชไอวีที่มีคุณภาพดีพอ
เชื้อ เอชไอวีที่จะมีคุณภาพดีแข็งแรงและสามารถทำให้ติดต่อได้คือเชื้อเอชไอวีที่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ นั่นคือ เชื้อต้องอยู่ในร่างกายของมนุษย์เท่านั้น เชื้อเอชไอวีที่ออกมานอกร่างกาย เช่นโดนความร้อน อยู่บนพื้นที่มีสารเคมีเช่นพื้นห้องน้ำ หรือโดนความเย็น เป็นต้น ก็จะทำให้เชื้อด้อยคุณภาพจนไม่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้

3. ต้องมีช่องทางเข้าของเชื้อเอชไอวี
การ ที่เอชไอวีจะติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้นั้น ต้องมีช่องทางออกและเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง เช่นการมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่โดยไม่ป้องกัน หรือการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน

“ถ้าขาดปัจจัยข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่เสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี”

ดัง นั้น การกินข้าวด้วยกัน ใช้ชีวิตประจำวันร่วมกัน พูดคุยกัน พบปะสังสรรค์กันกับผู้ติดเชื้อ ก็ไม่มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวีเลย เพราะไม่มีช่องทางใดที่จะให้ติดต่อกันได้

อีกทั้งยุงกัดก็ไม่ทำให้ ติดเชื้อเอชไอวีได้ แม้ว่ายุงจะไปกัดผู้ติดเชื้อก็ตาม เนื่องจากเชื้อเอชไอวีจะติดต่อกันได้ ต้องผ่านจากคนไปยังคนเท่านั้น สัตว์ไม่สามารถเป็นพาหะของโรคได้

ติดเชื้อแล้วควรบอกให้ครอบครัวรู้หรือไม่

บอกหรือไม่บอก หรือจะบอกเมื่อไรดี คงไม่มีใครกำหนดหรือบังคับได้ แต่น่าจะขึ้นอยู่กับความพร้อมและการตัดสินใจของผู้ติดเชื้อแต่ละคนมากกว่า เพราะชีวิตของแต่ละคนย่อมมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป

การบอกว่าติดเชื้อเอดส์คงมีความหมายหลายอย่างมากเพราะ...
การ ที่รู้ว่าใครติดเชื้อเอชไอวีจะเป็นการตีความให้คุณค่าของคนๆ นั้น ในเรื่องพฤติกรรมว่าไปทำอะไรมา การติดเชื้อเอชไอวีในคนที่ยังเป็นโสด สังคมอาจจะตีความว่าแอบไปทำอะไรที่ไม่ดีมา มีเพศสัมพันธ์ได้อย่างไร ถ้าเป็นผู้หญิงยิ่งเป็นเรื่องที่เสียหายมาก และในกรณีของคนที่มีคู่อยู่แล้ว นั่นหมายถึงการนอกใจ การมีอะไรกับคนอื่น

เรื่อง เหล่านี้มีผลต่อความสัมพันธ์ต่อความรู้สึกที่มีต่อกัน เมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น คงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกันให้มาก เพราะไม่ได้เพียงเรื่อง "โรค" แต่เป็นเรื่องทัศนคติต่อพฤติกรรมในเรื่องเพศด้วย

นอกจากนี้ยังมี เรื่องความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์อีก ซึ่งทุกคนในสังคมได้รับข้อมูลข่าวสารที่ผิดมาจนเกิดความกลัว กลัวการติดต่อ กลัวติดเชื้อเอชไอวีแล้วต้องตายอย่างน่าเกลียด น่ากลัว เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก ซึ่งส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันอย่างมาก ๆ

ดัง นั้น...การที่จะบอกผลเลือดให้ใครรู้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ กังวลและต้องชั่งน้ำหนักในใจก่อนตกลงว่าจะบอกใครหรือไม่ เช่น

ถ้าบอก อาจจะทำให้คนในครอบครัวเป็นทุกข์ ไม่สบายใจไปด้วย แต่อีกแง่หนึ่งก็เท่ากับช่วยให้เขาเตรียมใจยอมรับความจริง ครั้งแรกที่บอกให้รู้เขาอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ดีพอ อาจทำให้รู้สึกแย่มากหรือถึงกับรังเกียจไม่ยอมรับ แต่ถ้าเราพร้อมที่จะค่อยๆชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอดส์ให้เขาเข้าใจ ชัดเจน เขาน่าจะรู้สึกดีขึ้นและอาจช่วยเป็นกำลังใจให้เราต่อไปได้ด้วย เพราะอย่างน้อยก็เป็นคนในครอบครัว ที่มีความรักความผูกพันต่อกันเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

ถ้าไม่บอก อาจจะดีตรงที่เขาไม่ต้องพลอยทุกข์ใจไปกับเรา โดยเฉพาะถ้าเขายังยอมรับเรื่องเอดส์ไม่ได้ แต่ตัวเราเองคงอึดอัด เพราะเอ่ยปากปรับทุกข์หรือปรึกษากับคนใกล้ชิดไม่ได้เลย ต้องคอยเก็บเป็นความลับตลอดเวลา ถ้าเกิดป่วยหนักขึ้นมากระทันหัน เขาก็ต้องทำใจอย่างปุปปับ ปรับความรู้สึกได้ยาก ในรายที่อยู่ในกระบวนการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ต้องกินยาตรงเวลาทุกวัน อาจจะกังวลกับการตอบคำถามว่ากินยาอะไร รวมทั้งเรื่องอื่นๆที่อาจจะเกี่ยวข้องด้วย

โดย เฉพาะกรณีที่เป็นคู่สามีภรรยา ถ้าไม่บอกให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ว่า ตัวเองติดเชื้อก็คงต้องหาทางออกให้ดีว่า จะป้องกันไม่ให้เขารับเชื้อจากเราได้อย่างไร รวมจนถึงเรื่องวางแผนว่าจะมีหรือไม่มีลูกต่อไปด้วย ที่ต้องยอมรับกับตัวเองก็คือ คงไม่สามารถที่จะเก็บความลับนี้ตลอดไปได้ถ้าหากตอนนี้ยังไม่พร้อมจะบอก ก็ต้องเตรียมที่จะบอกให้เขารู้ในวันข้างหน้าเมื่อเราพร้อม

ถ้าตัดสินใจได้แล้วว่าตัวเองพร้อมที่จะบอก ครอบครัวควรทำอย่างไรดี....

  • ลองเลือกบอกคนที่เราสนิทหรือไว้ใจมากที่สุดสักคนสองคนก่อน
  • ลอง คุยหยั่งความคิดความรู้สึกเขาดูก่อนว่า พอจะยอมรับเรื่องนี้ได้ไหม เช่นพูดถึงคนอื่นที่ติดเชื้อ ถ้าเห็นว่าเขายังไม่พร้อมก็ไม่ควรรีบบอก แต่ควรให้ข้อมูลเรื่องเอชไอวี/เอดส์แก่เขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเขาเริ่มเข้าใจ ดี
  • ตัวเราเองน่าจะเข้าใจและมีข้อมูลเรื่องเอชไอวี/เอดส์มากพอที่จะ อธิบายให้เขา เข้าใจชัดเจนขึ้นได้ ถ้าไม่มั่นใจอาจชวนเขาไปคุยกับเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาโดยตรงเลยก็ได้
ที่มา : http://www.aidsaccess.com/09/index.php? ... 1&Itemid=1

เรื่องของผม ตอนที่ 2

30 มีนาคม 2552
วันเดียวกันกับวันที่ผมรู้ว่าตัวเองติดเชื้อ HIV

กลับมาอยู่บ้าน แม้จะขายของไปด้วย แต่ใจหนึ่งก็รู้สึกรังเกียจตัวเองโดยไม่รู้สึกตัว ..กูเป็นเอดส์ กูเป็นเอดส์ มันฝังแน่นในจิตใจตลอดเวลา เวลาขายของให้ลูกค้ากลัวว่าลูกค้าจะสัมผัสกับตัว และติดเชื้อเอดส์จากตัวเองไป แล้วถ้าเค้ารู้ว่าเราเป็นเอดส์... ผมไม่กล้าคิด

ผมรอให้ถึงตอนกลางคืนที่ปิดร้าน เพื่อจะหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ต ในขณะเดียวกันภรรยาผมก็นอนป่วยด้วยโรคแทรกซ้อน ติดเชื้อโรคที่ปอด ซึ่งตอนนั้นเราทั้งคู่ยังไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ ระหว่างวัณโรคปอดกับโรคติดเชื้อที่ปอด แอบเข้าอินเตอร์เน็ตตอนบ่าย ค้นหาข้อมูล ก็ยังไม่เข้าใจว่า CD4 คืออะไร Virus Load คืออะไร ยาต้านไวรัส พยายามแอบเปิดศึกษาข้อมูล

ตอนเย็นแม่มาข่วยขายของ จากตอนแรกที่เรามีโครงการจะขยับขยายร้านใหม่ เป็นอันล้มเลิก ภรรยาของผมตอนนั้นก็ยังมีอาการแทรกซ้อนของโรคปอดไม่สามารถลุกขึ้นมาช่วยขายของได้ ผมก็ได้แต่ปรึกษากับแม่สองคน ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตต่อไป

ปิดร้านแล้ว.. ผมเข้าอินเตอร์เน็ตหาข้อมูลเพิ่มเติม เปิดดูเว็บไซต์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และติดต่อทางเพศสัมพันธ์, แก้วไดอารี่ จนที่สุดท้ายที่กลายเป็นที่พึ่งทางใจของผมในเวลาต่อมา http://pha.narak.com people living with hiv and aids in thailand. หรือที่สมาชิกในบอร์ดแห่งนั้น เรียกว่า บ้านฟ้า เป็นเวบบอร์ดที่ผมมักจะเข้าไปเยี่ยมเยียนเกือบทุกวันแม้จะไม่ได้ตั้งกระทู้หรือตอบคำถามเหมือนช่วงแรก ๆ ซึ่งคืนนั้นกว่าจะนอนผมก็เข้าไปอ่านกระทู้ต่าง ๆ จนเที่ยงคืนกว่า จึงเข้านอน

บล็อกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • การแพ้ยามีอาการอย่างไร - เรื่อง “การแพ้ยา” เป็นอีกคำถามหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะการแพ้ยาเป็นอันตราย อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา จึงได้รับความสนใจและเป็นคำถามประจำ ที่ผู้สั่งจ่ายยา...
    11 ปีที่ผ่านมา
  • slow slow...but sure? - ผลเลือดคราวนี้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจของตัวเองเท่าไหร่ ขนาดเช้าวันที่ตรวจกระดกแบรนด์ไป 1 ขวดตามคำแนะนำของเพื่อนร่วมโลก เขาบอกให้ลองดูสิตัวเลขจะออกมาสวยเชียวล...
    11 ปีที่ผ่านมา