02 กันยายน 2552

เฮ้อ.. ใครว่า เอดส์รักษาได้

ผลจากการตั้งสโลแกนบล็อกว่า "เอดส์รักษาได้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นเพียงผู้ป่วยเรื้อรัง ที่ยังไม่มียารักษาให้หาย" ผมก็เลยสงสัยว่าถ้าไปค้นหาข้อมูลในกูเกิ้ลแล้ว ใช้คีย์เวิร์ดว่า "เอดส์รักษาได้" จะได้ผลออกมาเป็นอย่างไร ยังดีนะครับที่อันดับ 1 และ 2 จากการค้นหาเป็นข้อมูลจากเวบบ้านฟ้าของเรา

http://pha.narak.com/topic.php?No=14441 เป็นกระทู้ของ KEN_โสดสำหรับ+ ซึ่งเป็นข้อมูลจากมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เหมือนกับเนื้อหาในบล็อกของผม

http://pha.narak.com/topic.php?No=19138 และอันนี้เป็นของพี่หนึ่ง เป็นข้อมูลจากเครือข่ายผู้ติดเชื้อแห่งประเทศไทย

ทั้ง 2 อันนี้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ค้นหา หลังจากนั้นก็เริ่มเละ ละครับ มีการโฆษณาขายยา ตัวเดียวกับที่เคยเข้ามาโฆษณาในเวบบ้านฟ้า

ใน yahoo! ประเทศไทย รู้รอบ

http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080827032643AArXz8t

แม้แต่คำตอบที่ดีที่สุด เมื่อ 1 ปี มีความเข้าใจระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถแยกคำว่า "เอดส์" ออกจาก "เอชไอวี" เลยตอบคำถามได้แค่เกือบถูก

ส่วนคำตอบสุดท้าย "Yod the GP" ผมว่าน่าจะเป็นคนที่อยู่ในวงการแพทย์ จึงกล้าฟันธงได้ขนาดนั้น

ขอยืนยันว่าทางการแพทย์แผนปัจจุบัน "ไม่สามารถรักษาได้"

แต่สามารถ "บรรเทาอาการแทรกซ้อน" และ "เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี" ได้ครับ

หากมีข้อมูลหรือเวปไซด์ที่อ้างว่าหมอท่านใดสามารถรักษาได้ "หายขาด" ขอความกรุณาแจ้งแพทยสภา เมื่อพบด้วยครับ

ส่วนถ้าเป็นการรักษาตาม "ความเชื่อ" หรือ "การรักษาแนวใหม่/ แนวผสมผสาน ฯลฯ" นั้น ไม่ขอออกความเห็นครับ เนื่องจากไม่มีความรู้ทางด้านนี้ และยังไม่มีการรักษาแนวใด ๆ เหล่านี้มาสร้างงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ ตามหลักเหตุและผลให้เห็นครับ

ตามความเห็นของผมคิดว่า...ควรระวังว่า การกล่าวอ้างถึงความสำเร็จของการรักษาคนก่อน ๆ หรือว่าคำพูดของนักวิชาการ ไม่ได้แปลว่ารักษาได้จริง เพราะมีทั้งความบังเอิญ และความลำเอียง ปะปนอยู่ในข้อมูลด้วยครับ

และความคิดว่าติดเชื้อแล้วไม่มีอะไรจะเสียนั้นก็ไม่ถูกครับ ขอให้เลือกใช้เวลาที่เหลืออย่างฉลาดครับ

ผมว่า ถ้าบุคลากรในวงการแพทย์ ยังคิดแบบนี้ โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลใหม่ ๆ อย่างเช่น ความแตกต่างระหว่างคำว่า "เป็นเอดส์" กับ "ติดเชื้อเอชไอวี" การที่จะรณรงค์ให้คนทั่วไปเชื่อว่า "เอดส์รักษาได้" คงจะทำได้ยาก

เปิดอ่านผลการค้นหาไปเรื่อย ๆ จนไปเจอคำตอบที่ผมชอบมากที่สุด (เปิดมาถึงหน้าที่ 7 ในการค้นหา) มาจาก url นี้ครับ http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=34876.0

กับคำตอบในกระทู้ดังนี้ครับ..

คืออย่างนี้ครับ

ตั้งแต่ที่มีผู้ป่วยเอดส์

AIDS เป็นโรคหนึ่งที่มีการวิจัยเร็วที่สุดในโลกครับ ตั้งแต่ 26 ปีที่แล้วจนถึงตอนนี้

ผมอยากจะเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมดครับ ที่ว่าเอดส์รักษาไม่ได้ ซึ่งนั่นเป็นความคิดตั้งแต่ 10-20 ปีที่แล้ว

ถ้า คุณเป็นโรคหัวใจ คุณอาจรู้สึกเฉยๆ ถ้าคุณเป็นโรคไตวาย คุณก็อาจจะรู้สึกเฉยๆ แต่ถ้าคุณเป็นเอดส์ คุณจะรู้สึกสิ้นหวังทันที แต่ผมจะบอกให้ครับว่า

เอดส์เป็นโรคเรื้อรัง เช่นเดียวกันกับ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตวาย ซึ่งรักษาไม่หายเหมือนกัน แต่การรักษาช่วยเปลี่ยนคุณภาพชีวิต และลดภาวะแทรกซ้อนครับ

ผมจะบอกให้ครับว่า ถ้าเอาคนที่ติดเชื้อ HIV กับคนที่เป็นโรคหัวใจ มาเปรียบเทียบกัน คนเป็นโรคหัวใจตายเร็วกว่านะครับ

ถ้าเอาคนที่ติดเชื้อ HIV กับคนที่เป็นโรคไตวาย มาเปรียบเทียบกัน คนเป็นโรคไตวายตายเร็วกว่า

ทุก วันนี้เรารู้วิธีลดโอกาสติดต่อระหว่างแม่สู่ลูก ลงมาต่ำมากเหลือ ร้อยละ 0.5 เท่านั้น ปัจจุบัน มารดาที่ติดเชื้อก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจำเป็นต้องติดเชื้อนะครับ และร้อยละ 0.5 คือกลุ่มที่ขาดยา นั่นหมายความว่า โอกาสที่ลูกจะติดเชื้อจากมารดาแทบไม่มี

ทุกวันนี้มียาที่จะช่วยลดจำนวนเชื้อและกดจำนวนเชื้อไว้ในระดับต่ำมาก ได้ตราบนานเท่านานที่คุณยังคงกินยาอยู่

เช่นเดียวกับ
โรคหัวใจ ถ้าคุณขาดยา คุณก็ตาย
โรคความดันโลหิตสูง ถ้าคุณขาดยา คุณก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์
โรคเบาหวาน ถ้าคุณขาดยา คุณก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย

ปัจจุบัน ยาที่ใช้ต้านไวรัสไม่มีการวิจัยใดๆ ที่บอกว่ากดจำนวนเชื้อได้นานที่สุดกี่ปี เพราะยาบางตัวเพิ่งถูกคิดค้นมาไม่ถึง 10 ปีเลยครับ ดังนั้นจึงเป็นข่าวดีครับที่อย่างน้อยจากองค์ความรู้ที่มี คุณสามารถกดจำนวนเชื้อได้ตราบนานเท่านานครับ

ดังนั้นความคิดที่ว่า โรคเอดส์รักษาไม่หาย เป็นเอดส์แล้วต้องตาย จึงเป็นความคิดเมื่อ 20-25 ปีก่อน ปัจจุบัน การติดเชื้อ HIVเทียบเคียงกับโรคเรื้อรังอื่นๆครับ

เปรียบเทียบจนเห็นภาพได้ชัดเจนเลยว่า การติดเชื้อ HIV ไม่ได้น่ากลัวอย่างสมัยก่อน (.. แต่ถ้าไม่ติดได้ก็ดี หุ หุ)

อ่านจบแล้ว คุณ.. ว่า เอดส์รักษาได้หรือเปล่าละครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • การแพ้ยามีอาการอย่างไร - เรื่อง “การแพ้ยา” เป็นอีกคำถามหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะการแพ้ยาเป็นอันตราย อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา จึงได้รับความสนใจและเป็นคำถามประจำ ที่ผู้สั่งจ่ายยา...
    11 ปีที่ผ่านมา
  • slow slow...but sure? - ผลเลือดคราวนี้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจของตัวเองเท่าไหร่ ขนาดเช้าวันที่ตรวจกระดกแบรนด์ไป 1 ขวดตามคำแนะนำของเพื่อนร่วมโลก เขาบอกให้ลองดูสิตัวเลขจะออกมาสวยเชียวล...
    11 ปีที่ผ่านมา